พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พิพิธภัณฑ์แห่งชาติจีน)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
中国国家博物馆
National Museum of China
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน มองจากจัตุรัสเทียนอันเหมิน
แผนที่
ก่อตั้งพ.ศ. 2546; 21 ปีก่อน
ที่ตั้งเลขที่ 16 ถนนฉางอานตะวันออก, เขตตงเฉิง, ปักกิ่ง, ประเทศจีน
ประเภทพิพิธภัณฑ์ศิลปะ, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
ผลงานศิลปะจีน
ขนาดผลงาน1.4 ล้านชิ้น
จำนวนผู้เยี่ยมชม2,377,600 คน (พ.ศ. 2564)[1]
ภัณฑารักษ์หวัง ชุนฟา (王春法)[2]
เจ้าของกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
ขนส่งมวลชนรถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 1
เว็บไซต์en.chnmuseum.cn (ภาษาอังกฤษ)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน (จีน: 中国国家博物馆; พินอิน: Zhōngguó Guójiā Bówùguǎn; อังกฤษ: National Museum of China) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 16 ถนนฉางอานตะวันออก เขตตงเฉิง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ทางฝั่งตะวันออกของจัตุรัสเทียนอันเหมิน ด้วยพื้นที่รวมเกือบ 200,000 ตร.ม. รวบรวมผลงานกว่า 1.4 ล้านชิ้น และห้องจัดแสดงถึง 48 ห้อง จึงเป็นพิพิธภัณฑ์อาคารเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมวัฒนธรรมจีนไว้มากที่สุด ภารกิจของพิพิธภัณฑ์คือการให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปะและประวัติศาสตร์ของจีน กำกับโดยกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

ป้ายชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนในตอนเย็น

ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนมีของสะสมมากกว่า 1.4 ล้านรายการ ครอบคลุมโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมโบราณ โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมสมัยใหม่ หนังสือและหนังสือหายาก งานศิลปะ และหมวดอื่น ๆ ในจำนวนนี้มีโบราณวัตถุทางวัฒนธรรม 815,000 ชิ้น (ชุด) โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมสมัยใหม่ 340,000 ชิ้น (ชุด) หนังสือหายากและหนังสือโบราณมากกว่า 240,000 ชิ้น (ชุด) มีโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมชั้นหนึ่งเกือบ 6,000 ชิ้น (ชุด)[3] นิทรรศการประกอบด้วยนิทรรศการพื้นฐาน นิทรรศการพิเศษ และนิทรรศการชั่วคราว 3 ชุด เป็นระบบนิทรรศการสามมิติที่ครอบคลุมนิทรรศการตามธีม นิทรรศการพื้นฐาน นิทรรศการพิเศษ และนิทรรศการชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2555 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนมีผู้เข้าชมประมาณ 5.37 ล้านคน[4] และประมาณ 7.55 ล้านคนในปี พ.ศ. 2559[5]

ประวัติศาตร์[แก้]

แบบจำลองอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน ก่อนการปรับปรุง
โมเดลจำลองอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน ภายหลังการปรับปรุง
แบบจำลองอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน หลังการปรับปรุง

พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546[6] โดยการรวมเอาพิพิธภัณฑ์ 2 แห่งที่แยกจากกันแต่อยู่ในอาคารเดียวกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 คือ พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติจีน ในปีกเหนือ และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติจีน ในปีกใต้

ตัวอาคารสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2501 โดยเป็นหนึ่งในอาคารของโครงการสิบสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่ (十大建筑) ที่สร้างขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีการก่อสร้างพร้อมกันกับอาคารมหาศาลาประชาชน (人民大会堂) ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม

โครงสร้างอาคารตั้งอยู่บนพื้นที่ 6.5 เฮกตาร์ (16 เอเคอร์) และมีความยาวด้านหน้า 313 เมตร (1,027 ฟุต) ความสูง 4 ชั้น รวม 40 เมตร (130 ฟุต) และความกว้าง 149 เมตร (489 ฟุต)[7]

A large whitish interior space with a very high ceiling lit by many windows on its left stretches off into the far background. There are people walking around within. At left in the foreground is a large dark wooden model of a round three-tiered pagoda
แบบจำลองหอสักการะฟ้าเทียนถาน ที่โถงด้านหน้า ในปี พ.ศ. 2557

หลังจาก 4 ปีของการปรับปรุง พิพิธภัณฑ์ได้เปิดใช้งานอีกครั้งในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีห้องโถงนิทรรศการใหม่ 28 ห้อง พื้นที่จัดแสดงมากกว่า 3 เท่าจากครั้งก่อน และสถานที่จัดแสดงนิทรรศการและห้องเก็บของที่ทันสมัย ​​มีพื้นที่ทั้งหมดเกือบ 200,000 ตารางเมตร ( 2.2 ล้านตารางฟุต) ที่จะแสดง การปรับปรุงใหม่ได้รับการออกแบบโดยบริษัท Gerkan, Marg and Partners จากประเทศเยอรมนี[8]

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พิพิธภัณฑ์จึงถูกปิดไปบางส่วนในปี พ.ศ. 2563 และจำนวนผู้เข้าชมลดลงถึง 78% เหลือเพียง 1,600,000 คน อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2564 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่สองในการจัดอันดับพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด รองจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ที่ประเทศฝรั่งเศส

นิทรรศการ[แก้]

นิทรรศการความสำเร็จ 30 ปีของโครงการอวกาศจีน ถูกจัดขึ้นที่ห้องโถงตะวันตกของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน ในปี พ.ศ. 2566

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีนได้จัดนิทรรศการถาวรและชั่วคราวมากกว่า 10 รายการตลอดทั้งปี ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาของจีนในสมัยโบราณและสมัยใหม่เท่านั้น แต่ยังพยายามที่จะเป็นหน้าต่างแสดงอารยธรรมโลกอีกด้วย

  • นิทรรศการถาวร
    • จีนโบราณ
    • ถนนสู่การปฏิวัติ
    • ผลงานศิลปะคลาสสิกสมัยใหม่
  • นิทรรศการเฉพาะเรื่องถาวร
    • ศิลปะสำริดจีนโบราณ
    • พระพุทธรูปศิลปะจีนโบราณ
    • ศิลปะเครื่องลายครามจีนโบราณ
    • ศิลปะหยกจีนโบราณ
    • เหรียญจีนโบราณ
    • ศิลปะประติมากรรมแอฟริกัน
    • ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง
    • การออกแบบสถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
    • ประวัติโดยย่อและความสำเร็จของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
  • นิทรรศการพิเศษ (เปิดเป็นครั้งคราว)

คอลเลกชัน[แก้]

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ครอบคลุมประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคมนุษย์หยวนโมวเมื่อ 1.7 ล้านปีก่อนจนถึงปลายราชวงศ์ชิง (ราชวงศ์สุดท้ายในประวัติศาสตร์จีน) มีของสะสมถาวรกว่า 1,050,000 ชิ้น[9] ด้วยโบราณวัตถุล้ำค่าและหายากมากมายที่ไม่สามารถพบเจอได้ในพิพิธภัณฑ์แห่งใดในจีนหรือที่อื่น ๆ ในโลก

หนึ่งในสิ่งของที่สำคัญที่สุดในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน ได้แก่ "โฮ่วหมู่อู้ติ่ง" (后母戊鼎) สมัยราชวงศ์ชาง ซึ่งเป็นเครื่องสำริดโบราณที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก หนักประมาณ 832.84 กิโลกรัม,[10] ซุนบรอนซ์ทรงสี่เหลี่ยมประดับด้วยหัวแกะสี่ตัวสมัยราชวงศ์ชาง,[10] กระทะน้ำสำริดขนาดใหญ่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก,[10] เหรียญสำริดเลี่ยมทองเป็นรูปเสือสมัยราชวงศ์ฉิน,[10] ชุดหยกฝังศพเย็บด้วยด้ายสีทองสมัยราชวงศ์ฮั่น,[10] และคอลเลกชันซันฉ่ายเคลือบสามสีสมัยราชวงศ์ถังและเซรามิกสมัยราชวงศ์ซ่ง[10]

นอกจากนี้ยังมีของสะสมเกี่ยวกับเหรียญที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงเหรียญ 15,000 เหรียญที่บริจาคโดย หลัว ป๋อจ้าว (羅伯昭)[11]

พิพิธภัณฑ์มีนิทรรศการถาวรชื่อ ถนนสู่การปฏิวัติ (The Road to Rejuvenation) ซึ่งนำเสนอประวัติศาสตร์ล่าสุดของจีนตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง โดยเน้นที่ประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) และความสำเร็จทางการเมืองของพรรค[12]

แกลเลอรี[แก้]

นาฬิกานับถอยหลัง[แก้]

นาฬิกานับถอยหลังสำหรับการเริ่มต้นของ โอลิมปิกฤดูร้อน พ.ศ. 2551

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 มีการติดตั้งนาฬิกานับถอยหลังที่เกี่ยวข้องกับโอกาสสำคัญระดับชาติ เช่น การโอนอำนาจอธิปไตยของฮ่องกงในปี พ.ศ. 2540 การโอนอำนาจอธิปไตยของมาเก๊าในปี พ.ศ. 2542 การเริ่มต้นของโอลิมปิกฤดูร้อนที่ปักกิ่ง พ.ศ. 2551 และการเปิดงานเอ็กซ์โป 2010 ที่เซี่ยงไฮ้

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "National Museum Annual Report Information System". NCHA.
  2. "Wang Chunfa became the director of NMC". Wangyi News. 2018-01-04.
  3. "国博简介". 中国国家博物馆. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
  4. "参观文明,文明参观". 中国国家博物馆官方网站. 2013-07-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-16. สืบค้นเมื่อ 2013-08-02.
  5. "2016年博物馆调查报告" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-09.
  6. "Message from NCM Director (Wang Chunfa)". en.chnmuseum.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-03. สืบค้นเมื่อ November 30, 2018.
  7. China.org
  8. Hanno Rauterberg, Aufklärung in eigener Sache, Die Zeit, April 1, 2011 (in German)
  9. "National Museum gets major makeover". China Economic Review. 2011-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ 2012-06-03.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 "The National Museum of China". China Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-27.
  11. Luo Bozhao qianbixue wenji by Ma Feihai, Zhou Xiang, Luo Jiong, Luo Bozhao, review by Helen Wang The Numismatic Chronicle, Vol. 165 (2005), pp. 413-414
  12. Varutti, Marzia (20 February 2014). Museums in China : the politics of representation after Mao. Woodbridge. p. 115. ISBN 9781782042105. OCLC 869551750.