ผู้ใช้:Slentee/กระบะทราย/ญี่ปุ่น/การสวรรคตของจักรพรรดิโชวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

--แปลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Death_and_funeral_of_Emperor_Sh%C5%8Dwa

สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 แห่งจักรพรรดิญี่ปุ่นตามกฎมณเฑียรบาลการสืบราชบัลลังก์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 ด้วยโรคมะเร็งพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) พระบรมศพของพระองค์ถูกประดิษฐานไว้จนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ จากนั้นพระบรมศพของพระองค์ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานในหลุมพระบรมศพ ใกล้กับพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี ภายในสุสานหลวงมุซะชิ ในเขตฮะชิโอจิ โตเกียว

พระอาการประชวรและการสวรรคต[แก้]

เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2530 สมเด็จพระจักรพรรดิทรงได้รับการผ่าตัดพระยกนะอ่อน (ตับอ่อน) ภายหลังจากที่พระองค์ทรงประสบปัญหาในระบบทางเดินพระกระยาหารเป็นเวลาหลายเดือน คณะแพทย์ได้ตรวจพบว่าพระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรงมะเร็งพระอันตะ สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเข้ารับการรักษาและการฟื้นฟูพระอาการอย่างสุดความสามารถเป็นเวลาหลายเดือนหลังการการผ่าตัด ต่อมาประมาณอีกหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2531 พระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐานกลับไปประทับยังพระราชวัง และพระอาการของพระองค์ทรุดหนักลงในช่วงหลายเดือนต่อมา และทรงทุกข์ทรมานจากอาการพระโลหิตไหลในพระวรกายอย่างต่อเนื่อง

เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 โชอิชิ ฟุจิโมะริ จางวางใหญ่สำนักพระราชวังญี่ปุ่นได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จสวรรคต และยังได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับพระอาการประชวรด้วยพระโรคมะเร็งของพระจักรพรรดิเป็นครั้งแรก จักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ด้วยพระภรรยา มีพระราชบุตรที่ยังดำรงพระชนมชีพรวม 5 พระองค์ พระราชนัดดา 10 พระองค์ และพระราชปนัดดา 1 พระองค์[1]

"การสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิ"[แก้]

สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโตะฮิโระเสด็จสวรรคต เป็นการสิ้นสุดสมัยโชวะ ซึ่งราชบัลลังก์ได้รับการสืบต่อโดยพระราชโอรสของพระองค์ คือ มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ ด้วยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นการเริ่มต้นยุคใหม่คือ ยุคเฮเซ มีผลตั้งแต่กลางดึกคืนหลังวันที่จักรพรรดิฮิโระฮิโตะสวรรคต พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ตามประเพณี ถูกจัดขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ที่กรุงโตเกียว

ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2532 พระจักรพรรดิซึ่งสวรรคตได้ไม่นาน ได้รับการขานพระนามอย่างเป็นทางการว่า ไทโก เท็นโน (ญี่ปุ่น: 大行天皇โรมาจิสมเด็จพระจักรพรรดิที่สิ้นรัชสมัยไปแล้ว) ต่อมาทรงได้รับการขนานพระนามหลังสวรรคตอย่างเป็นทางการว่า โชวะ เท็นโน (ญี่ปุ่น: 昭和天皇) เมื่อวันที่ 13 มกราคม และถูกประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มกราคม โดยโทะชิกิ ไคฟุ นายกรัฐมนตรี

พระราชพิธีพระบรมศพ[แก้]

เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 พระราชพิธีพระบรมศพจักรพรรดิโชวะถูกจัดขึ้น และยังแตกต่างจากรัชสมัยก่อน โดยเป็นพระราชพิธีทางการแต่ไม่ได้ดำเนินการในลักษณะเคร่งครัดแบบชินโตอ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref> สำหรับป้ายระบุ <ref>

ต่างกับพระราชพิธีพระบรมศพจักรพรรดิไทโชเมื่อ 62 ปีก่อน ที่ไม่มีริ้วขบวนทางการของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบทหาร และยังห่างไกลจากพระราชพิธีแบบชินโต ที่ ณ เวลานั้นเชิดชูพระจักรพรรดิเป็นเสมือนเทพเจ้า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีความหมายถึงการเน้นที่งานพระบรมศพจักรพรรดิโชวะ ซึ่งทรงเป็นจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญภายหลังสงครามพระองค์แรก และเป็นพระราชพิธีพระบรมศพครั้งแรกที่ถูกจัดขึ้นตอนกลางวัน[2]

ความล่าช้า 48 วันระหว่างวันที่เสด็จสวรรคตและพระราชพิธีพระบรมศพซึ่งคล้ายกับพระจักรพรรดิพระองค์ก่อน และเวลาที่อนุญาตสำหรับพิธีกรรมจำนวนมาก นำไปสู่งานพระบรมศพ[2] โดยพระบรมศพของพระจักรพรรดิที่เพิ่งสวรรคตประดิษฐานอยู่ภายในโลงพระบรมศพสามโลง

สภาพอากาศในวันงานพระราชพิธีพระบรมศพนั้นมีอากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยสีเทา และเปียกโชกไปด้วยฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องภายในกรุงโตเกียว[3]

พระราชพิธีในพระราชวังหลวง[แก้]

พระราชพิธีเริ่มต้นขึ้นในเวลา 07.30 น. เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะเสด็จไปดำเนินพระราชพิธีถวายการอำลาส่วนพระองค์ แด่พระบรมราชชนกภายในพระราชวังหลวง[3]

ขบวนพระราชพิธีพระบรมศพในโตเกียว[แก้]

เมื่อเวลา 09.35 น. รถยนต์สีดำอัญเชิญพระบรมศพของจักรพรรดิโชวะออกจากพระราชวังหลวงเป็นระยะทาง 2 ไมล์ไปยังอุทยานหลวงชินจุกุ ซึ่งพระราชพิธีแบบชินโตและรัฐพิธีถูกจัดขึ้น[3] เสียงแหลมของสมุดกกทำลายความเงียบในขณะที่รถยนต์อัญเชิญโลงพระบรมศพขับข้ามสะพานหินและออกผ่านไปทางประตูของพระราชวังหลวง อากาศสั่นสะเทือนไปด้วยเสียงปืนใหญ่และเสียงบรรเลงแตรวงถวายด้วยเพลงถวายความอาลัยของพระราชพิธีพระศพพระปัยยิกาในจักรพรรดิโชวะ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19[2]

รถยนต์อัญเชิญพระบรมศพเคลื่อนไปพร้อมกับขบวนรถ 60 คัน เส้นทางที่ขบวนแห่ในโตเกียวเต็มไปด้วยผู้เข้าร่วมชมพระราชพิธีกว่า 800,000 คน และตำรวจพิเศษ 32,000 นาย ซึ่งมีการระดมกำลังเพื่อป้องกันการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้น[3]

เส้นทางของขบวนพระบรมศพผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นหลักของประชาธิปไตยในญี่ปุ่นสมัยใหม่ สนามกีฬาแห่งชาติ ที่ซึ่งพระจักรพรรดิเคยเสด็จพระราชดำเนินไปในการเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 และป่าวประกาศการเกิดใหม่ของญี่ปุ่นภายหลังสงคราม[3]

พระราชพิธีในอุทยานหลวงชินจุกุ[แก้]

ขบวนแห่งพระบรมศพ 40 นาที พร้อมด้วยดนตรีบรรเลงแตรวงสิ้นสุดลง เมื่อพระบรมศพมาถึงอุทยานหลวงชินจุกุ ซึ่งถูกสงวนไว้สำหรับใช้ในงานของพระราชวงศ์จนถึงปี พ.ศ. 2492 และเป็นหนึ่งในสวนที่เป็นที่นิยมที่สุดของโตเกียว[2]

ที่อุทยานหลวงชินจุกุ พระราชพิธีพระบรมศพของจักรพรรดิโชวะดำเนินการในโซะโจะเด็น ห้องโถงสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพที่ถูกสร้างขึ้นไว้เป็นพิเศษ ห้องโถงนี้ถูกสร้างขึ้นจากสิ่งทอบางละเอียดสำหรับไว้ทุกข์แบบญี่ปุ่นและต่อกันขึ้นร่วมกับตะปูไม้ไผ่เป็นการรักษาโบราณราชประเพณีสำหรับพระจักรพรรดิ[3]

แขกซึ่งได้รับเชิญอย่างเป็นทางการเข้าพำนักภายในเต็นท์สีขาวสองหลังด้านหน้าโถงพระราชพิธีพระบรมศพ เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำ แขกจำนวนมากจึงใช้ถุงมือเคมีให้ความอบอุ่นและห่มผ้าขนสัตว์เพื่อความอบอุ่นในขณะดำเนินพระราชพิธีแบบชินโตและรัฐพิธีกว่า 3 ชั่วโมง[3]

ขบวนพระเสลี่ยง[แก้]

โลงพระบรมศพจักรพรรดิโชวะถูกอัญเชิญไปประดิษฐานบนพระเสลี่ยง ซึ่งทำจากไม้ไซปรัสพ่นเคลือบด้วยสีดำ เจ้าพนักงานในชุดเสื้อคลุมยาวสีเทา สวมหมวกทรงแคบสูงสีดำและสวมรองเท้าไม้ขนาดใหญ่พิเศษสีดำ อัญเชิญป้ายสีขาวและเหลือง โล่และป้ายสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ นำขบวน 225 คน วงดนตรีบรรเลงเพลงงะกะกุ ต่อมาเป็นเจ้าพนักงานสวมเสท่อคลุมสีเทา ถือต้นซะกะกิอันศักดิ์สิทธิ์สองต้น คลุมด้วยริ้วผ้า และกล่องพระราชพิธีซึ่งมีพระกระยาหารและผ้าไหมถวายให้แด่ดวงพระวิญญาณของพระจักรพรรดิที่เพิ่งสวรรคตไป[2]

ในการดำเนินพระราชพิธี 9 นาที ข้าราชการ 51 คนของสำนักพระราชวังญี่ปุ่น แต่งกายดั้งเดิมแบบชินโตสีเทา อัญเชิญโซะกะเร็นหนัก 1.5 ตัน (พระเสลี่ยงหลวง; Imperial Palanquin) ที่ประดิษฐานโลงพระบรมศพ 3 ชั้นของจักรพรรดิโชวะเข้าไปภายในห้องโถงพระราชพิธีพระบรมศพ ซึ่งขณะอัญเชิญได้เดินขึ้นไปตามทางเดินระหว่างเต็นต์สีขาวที่พำนักของบุคคลสำคัญทั้งในและต่างประเทศ[3][2]

หลังจากขบวนโลงพระบรมศพ จางวางใหญ่สวมชุดขาว อัญเชิญจานขนาดใหญ่ซึ่งมีฉลองพระบาทสีขาว ตามประเพณีกล่าวว่าพระมหากษัตริย์ผู้สวรรคตจะทรงฉลองพระบาทสีขาวเสด็จไปบนสวรรค์ ซึ่งมีขลุ่ย ปี่ และเสียงกลองเป็นขบวนเข้ามาภายในพระราชพิธี[3] สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ คือสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ พร้อมด้วยสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะทรงถือพระกลดขนาดใหญ่ส่วนพระองค์ ตามพระเสลี่ยงพร้อมด้วยพระราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ[2]

ขบวนแห่พระบรมศพผ่านประตูไม้โทริอิขนาดเล็ก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชินโตหมายถึงทางเข้าพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เข้าไปภายในโซะโจะเด็น[2]

พระราชพิธีชินโต[แก้]

พระราชพิธีภายในโซะโจะเด็นถูกแบ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนา คือ พระราชพิธีโซะโจะเด็น โนะ งิ ตามด้วยรัฐพิธีไทโซะ โนะ เร[3]

เมื่อขบวนพระบรมศพเข้าไปภายในโถงพระราชพิธีพระบรมศพแล้ว พระราชพิธีพระบรมศพส่วนชินโตก็เริ่มขึ้นและม่านกั้นแบ่งสีดำได้ถูกดึงปิดลง เผยให้เห็นถึงพระราชพิธีที่มีอายุหลายศตวรรษ เพื่อประกอบพิธีสวดมนต์ เจ้าพนักงานเข้าใกล้แท่นบูชาของพระจักรพรรดิ ถือถาดไม้สวรรค์ของปลาบรีมทะเล, นกป่า, สาหร่ายเคลป์, สาหร่ายทะเล, มันฝรั่งภูเขา, เมลอน และพระกระยาหารราคาแพงอื่น ๆ ซึ่งพระกระยาหารนั้นเช่นเดียวกับผ้าไหม คือ นำมาถวายแด่ดวงพระวิญญาณของพระจักรพรรดิที่เพิ่งสวรรคตไป หัวหน้างานพิธี คือ เพื่อนร่วมชั้นเรียนของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ซึ่งนำส่งไปยังที่อยู่ ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ[2]

พระราชพิธียังคงดำเนินต่อไปด้านหลังม่านสีดำ จนมีการส่งสัญญาณการสิ้นสุดของส่วนพระราชพิธีชินโตของงานพระบรมศพ[2]

รัฐพิธี[แก้]

เมื่อม่านแยกออกอีกครั้ง หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เริ่มในส่วนงานรัฐพิธีของงานพระบรมศพ ในตอนเที่ยงวันที่เรียกว่านาทีแห่งความเงียบสงัดทั่วประเทศญี่ปุ่น[2] นายกรัฐมนตรีทะเกะชิตะกล่าวคำสรรเสริญพระเกียรติยศแบบสั้น โดยเขากล่าวว่า ในรัชสมัยของพระจักรพรรดิที่เพิ่งสวรรคตไปนั้น จะจดจำในเหตุการณ์สำคัญและยามวุ่นวายนั้น อันประกอบด้วยสงครามโลกครั้งที่สอง และการฟื้นฟูในท้ายที่สุดของญี่ปุ่น[3] จากนั้นแขกผู้มีเกียรติจากต่างประเทศได้ไปยังแท่นบูชา และแสดงความเคารพทีละคน โดยบางคนน้อมศีรษะลง บางคนโค้งคำนับเล็กน้อย[2]

พระราชพิธีในสุสานหลวง[แก้]

หลุมพระบรมศพของจักรพรรดิโชวะในสุสานหลวงมุซะชิ ในเขตฮะชิโอจิ โตเกียว

ถัดจากรัฐพิธีแล้ว โลงพระบรมศพพระจักรพรรดิโชวะถูกอัญเชิญไปยังสุสานหลวงมุซะชิ แถบชานเมืองของเขตฮะชิโอจิ เพื่อดำเนินพิธีฝังพระบรมศพ เมื่อครั้งพระราชพิธีพระบรมศพของพระจักรพรรดิไทโช ในปี 2470 การเดินทางไปยังสุสานหลวงมุซะชิต้องใช้เวลาดำเนินการ 3 ชั่วโมง แต่ในพระราชพิธีพระบรมศพของพระจักรพรรดิโชวะนั้นใช้การเดินทางโดยรถยนต์จึงย่นระยะเวลาลงเหลือ 40 นาที[3] การพระราชพิธีดำเนินการต่อไปอีกหลายชั่วโมง จนกระทั่งพระบรมศพได้รับการฝังภายในหลุมพระบรมศพ ในเวลาค่ำ ซึ่งเป็นเวลาตามธรรมเนียมดั้งเดิมในการฝังพระบรมศพของพระจักรพรรดิ[2]

อาคันตุกะและผู้เข้าร่วมงาน[แก้]

มีประชาชนประมาณ 200,000 คนอยู่เรียงรายไปตามด้านข้างของขบวน ซึ่งน้อยกว่าที่ทางการคาดไว้ที่ 860,000 ตน[2] งานพระราชพิธีพระบรมศพของจักรพรรดิโชวะมีแขกรับเชิญทางการประมาณ 10,000 คน ประกอบด้วยทูตจาก 163 ชาติ องค์กรระหว่างประเทศ 27 องค์กร และมีผู้นำจำนวนมากเข้าร่วมในงานพระบรมศพ อาทิ สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน, สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน, สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม, สมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูโปอูที่ 4 แห่งตองงา, สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน, สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์แห่งบรูไน, สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุกแห่งภูฏาน, แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี, เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรไทย, มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์, ฮาเวียร์ เปเรซ เด กวยยา เลขาธิการสหประชาชาติ, มิเชล คอมเดซซูส กรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ, ฌอนคลูด เปเย เลขาธิการขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา, จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา, ฟร็องซัว มีแตร็อง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส, คอราซอน อากีโน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์, โมบูตู เซเซ เซโก้ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐซาอีร์[4], ซูฮาร์โต ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และอื่น ๆ[5]

ในจำนวนนั้นมีผู้นำประเทศ 55 ท่าน, พระราชวงศ์ 14 พระองค์, นายกรัฐมนตรี 11 คน, รองผู้นำรัฐ 19 คน

  1. Hirohito's survivors
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Chira
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Yates
  4. Meredith, Martin. The Fate of Africa: A History of the Continent Since Independence (Revised and Updated), p. 308.
  5. "Paying Respects: A Global Roll-Call". New York Times. 24 February 1989. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016.