นิพัทธ์ ทองเล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิพัทธ์ ทองเล็ก
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 11​ พฤษภาคม​ พ.ศ. 2562
ปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 235 วัน)
ก่อนหน้าทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน
ถัดไปสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
คู่สมรสทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก เป็นอดีตนายทหารชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (เศรษฐา ทวีสิน) เป็นอดีตที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ชัชชาติ สิทธิพันธุ์)[1] และเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ประวัติ[แก้]

พล.อ. นิพัทธ์ เกิดเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของพ.อ. สนอง และนางไพเราะ ทองเล็ก สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 25, หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 65 และยังสำเร็จหลักสูตรทางการทหารจากออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสหรัฐ รวมถึงปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการ) จากมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์อีกด้วย

พล.อ. นิพันธ์ สมรสกับ ทพญ. รัตนาวดี ทองเล็ก มีบุตร 2 คน

การทำงาน[แก้]

พล.อ. นิพัทธ์ เริ่มชีวิตราชการทหารในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ต่อมาได้ปรับย้ายเป็น ผู้บังคับกองร้อยฝึก ร.21 พัน.3 รอ. ปฏิบัติการตามแผนป้องกันประเทศ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี โดยในช่วงที่เกิดเหตุกบฎเมษาฮาวาย ซึ่งพล.อ. นิพัทธ์ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าชุดปฏิบัติการ ได้รับคำสั่งให้นำกำลังชุดปฏิบัติการพิเศษ เข้าควบคุมตัว พ.อ. ประจักษ์ สว่างจิตร และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายก่อการยึดอำนาจ[2]

หลังจากนั้น พล.อ. นิพัทธ์ได้ศึกษาต่อยังต่างประเทศ และชีวิตราชการของเขาก็ก้าวหน้าเป็นลำดับ จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยผลงานสำคัญคือเป็นแกนนำเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในภาคใต้กับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ[3]ระหว่าง 21 มกราคม พ.ศ. 2557 - 31 มีนาคม 2557 จากนั้นหลังรัฐประหาร พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. มีคำสั่งให้ย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4], ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม[5] และแต่งตั้งเขาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามลำดับ[6]

ในปี พ.ศ. 2563 พล.อ. นิพัทธ์เคยได้เสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่กรรมการสรรหาฯ วินิจฉัยว่าเขามีลักษณะต้องห้ามเพราะเพิ่งพ้นจากการดำรงตำแหน่ง สนช.[7]

ได้เป็นแกนนำเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในภาคใต้กับขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี เมื่อปีพ.ศ. 2556[8]

ในปี พ.ศ. 2565 นิพัทธ์เป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[1] เขาเสนอให้ปรับปรุงโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพฯ จำนวน 437 แห่ง และแนะนำให้เพิ่มศักยภาพเทศกิจ ให้สามารถช่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สินในช่วงเวลากลางคืน[9] ต่อมาในปี 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  ลาว :
    • พ.ศ. 2553 - เหรียญชัยมิตรภาพ[18]
  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดาร์จาห์ เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 2

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ""ชัชชาติ" เปิดตัว "รองผู้ว่าฯ" เน้นนโยบายเรียบง่าย ไม่คอรัปชั่น". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-06-01.
  2. ""กบฏเมษาฮาวาย" รัฐประหารเรื่องคอขาดบาดตาย! กลับกลายเป็นครื้นเครงได้ในเดือนเมษายน!!". mgronline.com. 2020-04-17.
  3. ออกคำสั่งที่ พิเศษ 1/2557 เรื่องจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ
  4. "คสช.สั่งย้ายบิ๊กขรก.'อดุลย์-ธาริต-นิพัทธ์'". กรุงเทพธุรกิจ. 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
  5. "คสช.สั่งเด้งข้าราชการล็อตใหญ่ ทั้ง "นิพัทธ์ - ธาริต - ทวี"". mgronline.com. 2014-06-27.
  6. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  7. "มติกรรมการสรรหา กสม.'นิพัทธ์ ทองเล็ก'มีลักษณะต้องห้าม เหตุพ้น สนช.ไม่เกิน 10 ปี". สำนักข่าวอิศรา. 30 May 2020. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
  8. "จับตา"บิ๊กเนม"-คนดัง ส่อวืดที่นั่ง "ทีมชัชชาติ" ฝุ่นตลบศาลาว่าการกรุงเทพ". NationTV. 27 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
  9. "เปิดใจ "พล.อ.นิพัทธ์" ที่ปรึกษาชัชชาติ เชื่อกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงแน่". Thai PBS. 2022-06-01.
  10. มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕, ๔ ตุลาคม ๒๕๒๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๗, ๑๐ เมษายน ๒๕๓๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 122 ตอนที่ 2 ข หน้า 19, 4 มีนาคม 2548
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 124 ตอนที่ 11 ข หน้า 9, 16 กรกฎาคม 2550
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 127 ตอนที่ 13 ข หน้า 14, 5 พฤศจิกายน 2553