ตำบลบางพลับ (อำเภอปากเกร็ด)
ตำบลบางพลับ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Bang Phlap |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นนทบุรี |
อำเภอ | ปากเกร็ด |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 8.31 ตร.กม. (3.21 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[2] | |
• ทั้งหมด | 10,899 คน |
• ความหนาแน่น | 1,311.55 คน/ตร.กม. (3,396.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 11120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 120610 |
เทศบาลตำบลบางพลับ | |
---|---|
พิกัด: 13°55′27.0″N 100°28′06.0″E / 13.924167°N 100.468333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นนทบุรี |
อำเภอ | ปากเกร็ด |
จัดตั้ง | • 23 กุมภาพันธ์ 2540 (อบต.บางพลับ) • 6 กันยายน 2556 (ทต.บางพลับ) |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | อดุลย์ บุญสม |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 8.31 ตร.กม. (3.21 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563) | |
• ทั้งหมด | 10,899 คน |
• ความหนาแน่น | 1,311.55 คน/ตร.กม. (3,396.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05120607 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 33 หมู่ที่ 3 ถนนชัยพฤกษ์ ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 |
เว็บไซต์ | www |
บางพลับ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในอดีตเป็นพื้นที่ปิด ไม่มีทางหลวงสายหลักหรือถนนสายใหญ่เข้าถึง มีเพียงลำคลองและถนนสายเล็ก ๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางสัญจรในท้องที่ และมีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง ส่วนมากประกอบอาชีพทำนาและทำสวนผลไม้[1] แต่หลังจากที่มีการก่อสร้างและเปิดใช้ถนนราชพฤกษ์และถนนชัยพฤกษ์เมื่อปี พ.ศ. 2548–2549 ทำให้การคมนาคมติดต่อระหว่างตำบลบางพลับกับท้องที่อื่น ๆ มีความสะดวกขึ้นมาก ความเจริญหลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่อย่างรวดเร็วพร้อมกับการย้ายถิ่นเข้ามาของผู้คนจากภายนอก บางส่วนจึงกลายเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ และบางส่วนก็เปลี่ยนแปลงเป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรร วิถีชีวิตของผู้คนในตำบลบางพลับจึงเปลี่ยนแปลงไปจากชุมชนเกษตรกรรมเป็นชุมชนเมืองตามไปด้วย โดยชุมชนดั้งเดิมคงเหลืออยู่ตามริมแม่น้ำเจ้าพระยาและตามลำคลองสายต่าง ๆ เช่น คลองบางพลับใหญ่ คลองบางพลับน้อย คลองบางภูมิ คลองบางวัด เป็นต้น[3]
ที่มาของชื่อตำบล
[แก้]ท้องที่ตำบลบางพลับนั้นเดิมมีสภาพเป็นป่าและมีต้นมะพลับขนาดใหญ่อยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามลำคลองที่ไหลผ่านกลางพื้นที่นั้นมีต้นมะพลับขึ้นอยู่ทั่วไป จึงเรียกคลองนั้นว่า "คลองบางพลับ" ซึ่งมีทั้งคลองบางพลับใหญ่และคลองบางพลับน้อย ส่วนชุมชนที่อยู่ในคลองก็เรียกว่า "บ้านบางพลับ" ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งเป็นตำบลจึงใช้ชื่อคลองและชื่อชุมชนบางพลับเป็นชื่อ ตำบลบางพลับ
ประวัติ
[แก้]เดิมตำบลบางพลับขึ้นอยู่กับอำเภอบางบัวทองเมื่อแรกตั้งอำเภอนี้ขึ้นในแขวงเมืองนนทบุรี โดยในช่วงแรก บางพลับยังคงเป็นท้องที่หนึ่งของตำบลบางบัวทอง (ตำบลอ้อมเกร็ดในปัจจุบัน) ตำบลคลองพระอุดม และตำบลคลองข่อย ดังปรากฏในหนังสือทำเนียบคณะสงฆ์ ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2448) ซึ่งกล่าวว่า วัดสาลีโขภิตารามขึ้นกับตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง
เมื่อปี พ.ศ. 2463 กระทรวงนครบาลได้โอนตำบลบางพลับ (รวมทั้งตำบลอ้อมเกร็ด) จากอำเภอบางบัวทองมาขึ้นกับอำเภอปากเกร็ด เพื่อความเหมาะสมด้านการปกครอง[4] ตำบลบางพลับจึงอยู่ในท้องที่การปกครองของอำเภอปากเกร็ดจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลตำบลบางพลับเต็มพื้นที่นั้นมีฐานะเป็น เทศบาลตำบลบางพลับ ได้รับการจัดตั้งจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลับในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556[5]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลบางพลับตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอปากเกร็ด ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[6]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลละหาร (อำเภอบางบัวทอง) และตำบลคลองข่อย มีแนวกึ่งกลางถนนในหมู่บ้านคาซ่าวิลล์ แนวกำแพงหมู่บ้านคาซ่าวิลล์ และคลองขุนมหาดไทย (ท่าลาย) และแนวระวางโฉนดที่ดินระหว่างตำบลบางพลับกับตำบลคลองข่อยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลคลองพระอุดมและตำบลเกาะเกร็ด มีแนวกึ่งกลางคลองบางภูมิและแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลอ้อมเกร็ด และตำบลพิมลราช (อำเภอบางบัวทอง) มีแนวกึ่งกลางคลองบางน้อย คลองหัวจิก (รางปลิง) แนวกำแพงหมู่บ้านพฤกษ์ภิรมย์ แนวขอบถนนราชพฤกษ์ แนวอาคารพาณิชย์จรัสล้อแม็ก แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์การ์เด้นแอนด์สปอร์ตคลับ ถนนในหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์การ์เด้นแอนด์สปอร์ตคลับ คลองขุนมหาดไทย (ท่าลาย) แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์การ์เด้นบางบัวทอง แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์พาร์ค 3 แนวกำแพงหมู่บ้านลภาวัน 10 และคลองชลประทานพระอุดม-บางบัวทอง (คลองแอน) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลพิมลราชและตำบลละหาร (อำเภอบางบัวทอง) มีแนวกึ่งกลางคลองชลประทานพระอุดม-บางบัวทอง (คลองแอน) เป็นเส้นแบ่งเขต
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ตำบลบางพลับมีเขตการปกครองทั้งหมด 5 หมู่บ้าน[1] ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านคุ้งน้ำวน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากคลองบางพลับใหญ่ไปจนถึงปากคลองบางน้อย ในอดีตกระแสน้ำที่ไหลแรงมากจะคอยกัดเซาะตลิ่งและก่อให้เกิดวังน้ำวนตรงคุ้งน้ำแห่งนี้[7]
- หมู่ที่ 2 บ้านบางพลับใหญ่ หรือ บ้านบางพลับ มีคลองบางพลับใหญ่ไหลผ่านกลางพื้นที่ เป็นหมู่บ้านที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในตำบลเนื่องจากเป็นที่ตั้งของบ้านจัดสรรหลายแห่ง[1]
- หมู่ที่ 3 บ้านระแหง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากคลองบางภูมิไปจนถึงปากคลองบางพลับใหญ่
- หมู่ที่ 4 บ้านบางวัด หรือ บ้านบางพลับ ตั้งอยู่ตอนกลางของตำบล ระหว่างคลองบางวัดกับคลองบางพลับน้อย
- หมู่ที่ 5 บ้านบางภูมิ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของตำบล ตั้งแต่คลองบางวัดขึ้นไปจนจรดเขตตำบลคลองข่อย มีคลองบางภูมิไหลผ่านในพื้นที่
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดสาลีโขภิตาราม
- โรงเรียนวัดสาลีโขภิตาราม (อุ่น-อนุสรณ์)
- เจดีย์สามองค์บริเวณท่าน้ำวัดสาลีโขภิตาราม
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบางพลับ
- สถานีตำรวจภูธรชัยพฤกษ์ (สถานีตำรวจภูธรคลองข่อยเดิม)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 เทศบาลตำบลบางพลับ. "ลักษณะที่ตั้ง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangplub.go.th/default.php?modules=fckeditor&fck_id=5&view_id=56&orderby=1 เก็บถาวร 2012-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2556. สืบค้น 14 กันยายน 2556.
- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลบางพลับ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พิศาล บุญผูก. ท้องถิ่นปากเกร็ด. นนทบุรี: โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาเพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551, หน้า 162.
- ↑ "ประกาศกระทรวงนครบาล เรื่องเปลี่ยนนามตำบลบางบัวทอง เปนตำบลอ้อมเกร็ด ตำบลพระภิมลเปนตำบลบางบัวทอง แลโอนท้องที่ตำบลบางพลับ ตำบลอ้อมเกร็ด ตำบลท่าอิฐ ไปรวมในท้องที่อำเภอปากเกร็ด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0 ก): 434. 13 มีนาคม 2463.
- ↑ กระทรวงมหาดไทย. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลตำบลบางพลับ. 2556.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (พิเศษ 122 ง): 16–21. 23 กันยายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-04.
- ↑ พิศาล บุญผูก. ท้องถิ่นปากเกร็ด. นนทบุรี: โครงการการจัดการสารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาเพื่อส่งเสริมบริการห้องสมุดสู่ชุมชน สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551, หน้า 160.