ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐจีน
รายละเอียด
ผู้ใช้ตรา สาธารณรัฐจีน
เริ่มใช้17 ธันวาคม 1928; 95 ปีก่อน (1928-12-17)
ตราพรรคก๊กมินตั๋ง
รายละเอียด
ผู้ใช้ตราก๊กหมินตั๋ง

ตะวันฉาย ฟ้าใส (จีน: 青天白日; พินอิน: Qīng tīan bái rì) หมายถึง แนวคิดการออกแบบธงประจำพรรค และ ตราประจำพรรคการเมืองของพรรคก๊กมินตั๋ง มาจากธงพื้นสีน้ำเงิน รูปดวงอาทิตย์สีขาวรัศมี 12 แฉกสีขาว เป็นสัญลักษณ์แทนความคิดเชิงก้าวหน้า หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนและระบบการแบ่งเวลาเป็น 12 ชั่วโมงแบบจีน (時辰, shíchén) ซึ่ง 1 ชั่วโมงจีนเท่ากับ 2 ชั่วโมงสากล ดังนั้น 12 ชั่วโมงจีนจึงเท่ากับ 24 ชั่วโมงสากล หรือเวลาใน 1 วัน เริ่มใช้เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2471

ประวัติการออกแบบธงตะวันฉาย ฟ้าใส[แก้]

ธง"ตะวันฉาย ฟ้าใส" เดิมถูกออกแบบโดยลู่ เฮาตง ผู้พลีชีพในการปฏิวัติสาธารณรัฐ เขานำเสนอรูปแบบธงให้กับกองกำลังปฏิวัติในพิธีเปิดของSociety for Regenerating China สมาคมที่ต่อต้านราชวงศ์ชิงในฮ่องกง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895[1]

ในช่วงการก่อการกำเริบอู่ชางใน ค.ศ. 1911 ที่ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐจีน กองทัพปฏิวัติต่าง ๆ มีธงที่แตกต่างกัน โดยธง"ตะวันฉาย ฟ้าใส"ของลู่ เฮาตงถูกใช้ในมณฑลทางใต้ของมณฑลกวางตุ้ง, เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง, มณฑลยูนนาน และมณฑลกุ้ยโจว ในขณะที่"ธง 18 แฉก", "ธงห้าสี" และธงรูปแบบอื่นถูกนำมาใช้ในที่อื่น ๆ

เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 มีการนำธง"ห้าสี"มาใช้เป็นธงชาติ แต่ซุน ยัตเซ็นไม่พิจารณาถึงการออกแบบที่เหมาะสม โดยให้เหตุผลว่าแถบแนวนอนบ่งบอกถึงลำดับชั้นหรือชนชั้นเหมือนที่มีในสมัยราชวงศ์ ดังนั้น เมื่อเขาก่อตั้งรัฐบาลคู่แข่งที่กว่างโจวใน ค.ศ. 1917 เขานำธง"ตะวันฉาย ฟ้าใส"มาใช้เป็นธงของพรรค และธง"ท้องฟ้าสีฟ้า ดวงอาทิตย์สีขาว และโลกสีแดงทั้งหมด" (青天白日滿地紅) ซึ่งในตอนนั้นเป็นธงนาวี มาใช้เป็นธงชาติ ธงนี้กลายเป็นธงชาติใน ค.ศ. 1928 ในขณะที่ธง"ท้องฟ้าสีฟ้ากับดวงอาทิตย์สีขาว"ถูกนำมาใช้เป็นธงนาวิกโยธิน

ธง "ท้องฟ้าสีฟ้า ดวงอาทิตย์สีขาว และโลกสีแดงทั้งหมด" ยังคงเป็นธงของสาธารณรัฐจีนมาจนถึงทุกวันนี้

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐจีนในอดีต[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "National flag". english.president.gov.tw (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.

ข้อมูล[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]