ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ
ภาพธงของสาธารณรัฐจีน 3 ผืน ประกอบด้วยธงห้าสี (กลาง) ธงกองทัพ (ซ้าย) และ ธงของซุนยัดเซ็น (ขวา) อันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีนในปัจจุบัน ด้านล่างของภาพ มีข้อความว่า "สหภาพจงเจริญ" (共和萬歲)
ภาษาจีน五族共和
ความหมายตามตัวอักษรห้ากลุ่มชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง (กิจสาธารณะ)

ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ (อังกฤษ: Five Races Under One Union) เป็นหนึ่งในหลักใหญ่ของการสถาปนาสาธารณรัฐจีน ใน ค.ศ. 1911 ระหว่างการปฏิวัติซินไฮ่[1][2][3][4] เสาหลักของสิ่งนี้คือการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขภายใต้ชาติเดียวที่ประกอบด้วย 5 กลุ่มชาติพันธุ์หลักในจีน: ฮั่น, แมนจู, มองโกล, หุย (รวมชาวอุยกูร์) และทิเบต[5]


ธงชาติสาธารณรัฐจีน
ชื่ออื่น ธงห้าสี (จีน: 五色旗; พินอิน: Wǔsèqí)
การใช้ ธงพลเรือนและธงราชการ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 5:8
ประกาศใช้ 10 มกราคม ค.ศ. 1912
ลักษณะ แถบแนวนอน 5 สี เรียงเป็นสีแดง เหลือง น้ำเงิน ขาว และดำ

รายละเอียด[แก้]

หลักคิดความเสมอภาคของชนชาติต่างๆ 5 ชนชาติใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์จีน กล่าวคือ แถบธงห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ โดย สีแดง หมายถึง ชาวฮั่น สีเหลือง หมายถึง ชาวแมนจู สีน้ำเงิน หมายถึง ชาวมองโกล สีขาว หมายถึง ชาวฮุยหุย (จีนมุสลิม) และสีดำหมายถึงชาวทิเบต[6]

นิยาม "หุย" (, huí) ในบริบทนี้ส่วนใหญ่อ้างถึงชาวมุสลิมโดยรวม[7] และศัพท์นี้ยังสื่อถึงชาวอุยกูร์ในจีนตะวันตกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ก่อนการปฏิวัติซินไฮ่) เนื่องจากคำว่า "ดินแดนมุสลิม" (回疆; Huíjiāng, หุยเจียง) เป็นชื่อเดิมของซินเจียงในยุคราชวงศ์ชิง[8] ภายหลังความหมายของ "ชาวหุย" เริ่มเปลี่ยนไปเป็นความหมายในปัจจุบันคือ กลุ่มที่แยกจากชาวจีนฮั่นด้วยการเป็นมุสลิมและมีบรรพบุรุษจากต่างชาติ (ประมาณ ค.ศ. 1911–49 ในสาธารณรัฐจีน)


ลำดับสี
แดง เหลือง น้ำเงิน ขาว ดำ
แพนโทน 2347 C 7548 C 307 C White Color Black Color
CMYK 0-88-92-13 0-22-100-0 99-37-0-38 0-0-0-0 0-0-0-100
HEX #DF1B12 #FFC600 #02639D #FFFFFF #000000
RGB 223-27-18 255-198-0 2-99-157 255-255-255 0-0-0

ประวัติ[แก้]

ภายหลังจากเหตุการณ์การลุกฮือหวูชาง ราชวงศ์ชิงได้ล่มสลาย และถ่ายโอนอำนาจสู่รัฐบาลเป่ย์หยาง ระหว่างนั้นได้มีการประกวดออกแบบธงซึ่งจัดโดยสมาพันธ์ความร่วมมือเพื่อการปฏิวัติประชาธิปไตย กองทหารในหวูชางจึงเลือกธงดาว 9 แฉกกับ Taijitu[6] ซุน ยัตเซ็น จึงได้เลือกธง ตะวันฉาย ฟ้าใส ออกแบบโดย ลู่เฮาตุง.[6]

เป้าหมายหลักของการลุกฮือเพื่อต่อต้านการปกครองของชนกลุ่มน้อยแมนจู, ซุน ยัตเซ็น Song Jiaoren และ Huang Xing ซึ่งมีความคิดในเชิงต่อต้านการแบ่งเชื้อชาติ จึงเลือกธงที่ใช้สีซึ่งมีความแตกต่างกัน[9] ในความคิดดังกล่าวไม่รวมถึงชาวจีนฮั่นสืบเนื่องจากชาวจีนฮั่นซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ต่อชนกลุ่มน้อยแมนจูที่เป็นชนชั้นปกครอง.[10]

ธง"ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ" ใช้แค่ช่วงเวลาสั้นๆภายหลังจากการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ

ธงดังกล่าวได้มีการใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น จักรวรรดิจีน (หยวน ซื่อไข่) และ แมนจูกัว ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่น (ธงชาติแมนจูกัว). ในแมนจูกัว, ตามนัยความหมาย (五族協和) ได้สื่อออกมา, แต่นิยามในเรื่องชนชาติได้เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ชาวญี่ปุ่น (สีแดง), ชาวจีนฮั่น (สีน้ำเงิน), ชาวมองโกล (สีขาว), ชาวเกาหลี (สีดำ) และชาวแมนจู (สีเหลือง)

ภาพธง[แก้]

รัฐบาลเป่ย์หยาง:
ธงราชการ:
ธงทหาร:
รัฐบาลปฏิรูปสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1938–1940):
จักรวรรดิจีนของหยวน ซื่อไข่

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Murray A. Rubinstein (1994). Murray A. Rubinstein (บ.ก.). The Other Taiwan: 1945 to the present (illustrated ed.). M.E. Sharpe. p. 416. ISBN 1-56324-193-5. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  2. James A. Millward (2007). Eurasian crossroads: a history of Xinjiang (illustrated ed.). Columbia University Press. p. 208. ISBN 978-0-231-13924-3. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
  3. Paul Hibbert Clyde, Burton F. Beers (1971). The Far East: a history of the Western impact and the Eastern response (1830–1970) (5, illustrated ed.). Prentice-Hall. p. 409. ISBN 9780133029765. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Making of America Project (1949). Harper's magazine, Volume 198. Harper's Magazine Co. p. 104. สืบค้นเมื่อ 2011-06-13.
  5. Young, Louise (July 2017). "When fascism met empire in Japanese-occupied Manchuria". Journal of Global History. Cambridge University Press. 12 (2): 274–296. doi:10.1017/S1740022817000080. S2CID 164753522 – โดยทาง CambridgeCore.
  6. 6.0 6.1 6.2 Fitzgerald, John. [1998] (1998). Awakening China: Politics, Culture, and Class in the Nationalist Revolution. Stanford University Press publishing. ISBN 0-8047-3337-6, ISBN 978-0-8047-3337-3. pg 180.
  7. "China's Islamic Heritage". 5 March 2006. The Nationalist government had recognised all Muslims as one of "the five peoples"—alongside the Manchus, Mongols, Tibetans and Han Chinese—that constituted the Republic of China{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Suisheng Zhao (2004). A nation-state by construction: dynamics of modern Chinese nationalism (illustrated ed.). Stanford University Press. p. 171. ISBN 0-8047-5001-7. สืบค้นเมื่อ 2011-06-12.
  9. Hsiao-ting Lin. [2010] (2010). Modern China's ethnic frontiers: a journey to the west. Taylor & Francis publishing. ISBN 0-415-58264-4, ISBN 978-0-415-58264-3. pg 7.
  10. Chow, Peter C. Y. [2008] (2008). The "one China" dilemma. Macmillan publishing. ISBN 1-4039-8394-1, ISBN 978-1-4039-8394-7. pg 31.