คุยเรื่องวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตั้งชื่อ หัวข้อย่อยลงไป

ควรเป็นอย่างไรดี?

  • อย่างเช่น มังกรหยก, เนื้อหาควรจะเป็นการบอกว่า มันคืออะไร เป็นนิยายหรืออะไร ก็ว่ากันไป.
  • แต่ถ้าจะเป็นแบบบอกรายละเอียดของนิยายเรื่องนี้ เช่น, รายชื่อตัวละคร, ชื่อผู้แต่ง, แบบมีรูปแบบเป็นทางการ เช่น อย่างนี้,
ผู้แต่ง: กิมย้ง
รายชื่อตัวละคร
ถ้าเป็นทางการอย่างข้างบนนี้ ก็ควรไปอยู่ในหัวข้อ นิยาย:มังกรหยก? ดีไหม?
  • คือ มังกรหยก จะ ไว้ สำหรับ ให้ ข้อมูล กับ คน ที่ ไม่รู้เลย ว่า มัน คือ อะไร, แต่ นิยาย:มังกรหยก เนี่ย จะ ถือ ว่า ผู้อ่าน ทราบ ดี อยู่ แล้ว ว่า มัน เป็น นิยาย เรื่องหนึ่ง. วิธี การ นำเสนอ ข้อมูล ก็ จะ แตกต่าง กัน ไป.
กำลังลองร่างแนวทางคร่าว ๆ ที่ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อหัวข้อ ครับ ช่วยกันเสนอความคิดเห็นด้วยครับ --Phisite 06:40, 15 ส.ค. 2004 (UTC)
ใช้มังกรหยก แทนที่ นิยาย:มังกรหยก ครับ เพราะมังกรหยก เป็นชื่อในตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าจะแยกย่อยออกไป ใช้วงเล็บตามหลัง เช่น มังกรหยก (วรรณกรรม) มังกรหยก (ภาพยนตร์) แทนที่เครื่องหมาย : (โคลอน) ไม่งั้นจะเป็นการสร้างบทความย่อยไปในตัว --Manop 09:17, 8 ตุลาคม 2005 (UTC)



ชื่อเฉพาะภาษาอังกฤษ

ชื่อที่เป็นที่รู้จักมากกว่า

ตัวย่อภาษาอังกฤษอย่างเช่น ANSI จะให้เป็นภาษาไทยแอนซิหรือไม่? ผมว่าจะให้หัวข้อมาเป็นแอนซิมันไม่ถูกต้องนะ ในกรณีอย่างเช่นตัวย่อน่าจะให้ภาษาไทยย้ายไปหารึเปล่า? --BURLIGHT 10:57, 27 มี.ค. 2005 (UTC)

ถ้าคิดจากว่า คนรู้จักตัวย่อพวกนี้ ANSI, ASCII, HTML มากกว่า เห็นแล้วรู้ได้ทันทีมากกว่า ว่ามันคืออะไร คำว่า แอนซิ ก็ควรจะโอน (redirect) ไปหา ANSI ครับ --bact' 12:14, 27 มี.ค. 2005 (UTC)

คือชื่อหัวข้ออย่าง ANSI น่าจะใช้ชื่อทำนองเป็น "สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา" (ชื่อนี้ผมมั่วๆ เอา ใช้ยกตัวอย่างเฉยๆ) เช่นในฉบับอังกฤษ จะใช้หัวข้อว่า American National Standards Institute แล้วให้ ANSI redirect ไปหาหน้านั้นน่ะครับ อ้อ จะใช้ Template:Shortcut ด้วยก็ได้นะครับ -- Jittat 18:07, 27 มี.ค. 2005 (UTC)

คำนี้ราชบัณฑิตยสถานใช้ว่า "แอนซี (สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา)" เสนอว่าน่าจะตั้งหัวข้อหลักเป็น "สถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา" (ผมคิดว่าไม่น่าจะมีคำว่า "ของ") แล้วให้ ANSI และ แอนซี (อาจรวมถึงแอนซิ) redirect ไปหาครับ --Pi@k 02:40, 28 มี.ค. 2005 (UTC)
โดยส่วนตัวอยากให้ชื่อบทความใช้อักษรไทยเป็นหลัก แล้วให้คำย่อที่เป็นอักษรโรมันเปลี่ยนทางไปหาอีกที ส่วนการเลือกชื่อหลักของบทความว่าจะเป็นชื่อเต็มหรือชื่อย่อนั้น คงต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป โดยดูว่าชื่อแบบไหนเป็นที่รู้จักแพร่หลายกว่า จดจำได้ง่ายกว่า หรือกำกวมน้อยกว่า ก็ควรเลือกชื่อนั้นครับ ในกรณีของ ANSI ผมเสนอให้ตั้งชื่อหัวข้อหลักเป็น แอนซี แล้วให้ทั้ง สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา, สถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา และ ANSI ตลอดจนชื่อที่น่าจะเป็นอื่น ๆ เปลี่ยนทางไปหา โดยอาจเริ่มย่อหน้าแรกทำนองนี้
สถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute) หรือ แอนซี (ANSI) เป็นองค์กร...
เห็นว่าอย่างไรบ้างครับ --Phisite 02:01, 21 เม.ย. 2005 (UTC)

ชื่อเฉพาะของเกม หรือ ภาพยนตร์

อย่างเช่นชื่อเกมส์, วรรณกรรม, และภาพยนตร์น่ะครับ ถ้ายังไม่มีการกำหนดชื่อให้เป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ จะให้ทำอย่างไรครับ (อย่างเช่นเกม "Grand Theft Auto: San Andreas" --> แกรนด์ เธ็ฟท์ ออโต: ซาน แอนเดรียส์?) แล้วถ้าอย่างเช่นรายการโทรทัศน์ต่างประเทศที่กำหนดชื่อภาษาไทยออกมาแล้ว จะให้ใช้ชื่อดั้งเดิมทับศัพท์หรือชื่อใหม่ภาษาไทยดีครับ เช่น America's Next Top Model --> เฟ้นหายอดนางแบบอเมริกา (รายการโทรทัศน์)?
มีความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ตอบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ --Kelos omos1 17:45, 26 กรกฎาคม 2005 (UTC)

ค้างชื่อภาษาอังกฤษไว้คงไม่เหมาะนะครับ ถ้ามีชื่อทางการ (ทับศัพท์หรือไม่ก็ตาม - มีการสะกดภาษาไทยแล้ว) ก็ให้ใช้ไป แต่ถ้าไม่มีก็คงต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไปครับ -- Wap 16:16, 6 กันยายน 2005 (UTC)
เสนอใช้ตามชื่อนิยม อย่าง อินิเชียลD แทนที่ ถนนสายนี้ข้าจอง หรือ ดริฟติ้งซิ่งสายฟ้า ซึ่งเป็นชื่อไทยที่ทางจากสำนักพิมพ์ และผู้ผลิตภาพยนตร์กำหนดตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่าเป็นชื่่อที่คนเรียกและรู้จักมากกว่า--Manop 09:17, 8 ตุลาคม 2005 (UTC)

ชื่อภาพยนตร์

จะเขียนชื่อคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หรือว่าเขียนตามคำแปลชื่อไทย ? อย่างที่เห็นว่าชื่อไทยบางทีแปลแล้วความหมายคลาดเคลื่อน บางคนเรียกชื่อตามภาษาอังกฤษ แต่คนไทยหลายคน(ที่ไม่ค่อยได้ใช้ภาษาอังกฤษ) เรียกตามชื่อไทย --Manop 09:17, 8 ตุลาคม 2005 (UTC)

ผมว่าใช้ชื่อภาษาอังกฤษดีกว่านะครับ และวงเล็บชื่อภาษาไทยที่แปลมาด้วย Nop s

ผมว่ามีชื่อไทยก็ใช้ชื่อไทยสิครับ --Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 14:29, 20 มีนาคม 2007 (UTC)

ชื่อสถานที่

ชื่อเมือง

ชื่อสิ่งก่อสร้าง


ชื่อทางคอมพิวเตอร์

  • โปรแกรมค้นดูเว็บ จะเขียนใช้คำไทยว่า โปรแกรมค้นดูเว็บ หรือ ใช้ทับศัพท์เป็น เว็บเบราว์เซอร์ หรือ เบราว์เซอร์ หรือตามใจคนเขียน ?

ชื่อตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษ

  • JPG --> เขียนทับศัพท์ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ? เขียนคำไทย เช่น เจเพ็ก หรือ เจพีจี (งง ?)
  • PHP --> ?
  • Xing --> ?

ชื่อภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ เกม

  • Grand Theft Auto: San Andreas -->ที่ไม่มีกำหนด ใช้ทับศัพท์ ? แกรนด์ เธ็ฟท์ ออโต: ซาน แอนเดรียส์ ?
  • America's Next Top Model --> เฟ้นหายอดนางแบบอเมริกา (รายการโทรทัศน์)?
  • Initial D --> ดริ้ฟติ้ง ซิ่งสายฟ้า ? อินิเชียลD ? ถนนสายนี้ข้าจอง ?


ชื่อภาษาญี่ปุ่น

เกี่ยวกับ ชื่อภาษาญี่ปุ่น (รวมทั้งชื่อผู้แต่ง ชื่อตัวละคร) (และอาจจะรวมถึง ชื่อบุคคลสำคัญต่างๆ ของญี่ปุ่น เช่น จุนอิชิโร โคอิซูมิ ไม่รู้ว่าจะเขียน จุนอิชิโร โคอิซูมิ หรือว่า โคอิซูมิ จุนอิชิโร ดี

ภาษาไทยนี่เราควรเขียนเป็นอย่างไรดีครับ กำหนดรูปแบบการใช้ สำหรับคนที่ไม่ได้อ่านการ์ตูนมาอ่าน จะได้รู้ว่าอันไหนคือชื่อ อันไหนคือนามสกุล จะได้กำหนดไว้ใน โครงการ และในหน้าวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบุคคลด้วยครับ

  • มิซุรุ อาดาจิ (あだち充 - อาดาจิ มิซุรุ) - เขียนเหมือนชื่อคนไทย แสดงชื่อนำตามด้วยนามสกุล และในวงเล็บเขียนภาษาญี่ปุ่น พร้อมคำอ่าน -- VOTE Manop
  • อาดาจิ มิซุรุ (あだち充) - เขียนตามชื่อภาษาญี่ปุ่น และวงเล็บด้วยคำญี่ปุ่น -- VOTE
  • วิธีอื่น (เขียนเพิ่มเติม)

ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เขียน ชื่อ (เว้นวรรค) นามสกุล (นามสกุลญี่ปุ่นเขียนติดกับชื่อญี่ปุ่น - คำอ่านตามภาษาญี่ปุ่น)

ตัวอย่าง Mitsuru Adachi (あだち充 - Adachi Mitsuru)


ความเห็นจากคนอื่น ๆ

             ยกตัวอย่างเรื่อง นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ (Naruto) ...
             ชื่อผู้แต่งในภาษาญี่ปุ่นคือ 岸本斉史 (นามสกุลขึ้นต้น ตามด้วยชื่อ)
             ภาษาไทยคือ "คิชิโมโต้ มาซาชิ" (นามสกุลขึ้นต้น ตามด้วยชื่อ)
             แต่ภาษาอังกฤษ Masashi Kishimoto (ชื่อขึ้นก่อนนามสกุล)
             แน่นอนว่าเวลาจะออกเสียงให้ออกเสียงนามสกุล แล้วตามด้วยชื่อ แม้นว่าจะเห็นภาษาอังกฤษนำชื่อเขียนนำหน้านามสกุลก็ตาม VigilantePlane 02.133.160.xxx

ผมคิดว่าการเรียงน่าจะเรียงให้เหมือนกับที่ปรากฏบนปกของหนังสือการ์ตูน เพื่อป้องกันความสับสน (อย่างน้อยสำหรับชื่อที่สะกดเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ส่วนชื่อที่เขียนด้วยตัวญี่ปุ่นนี่ไม่มีความเห็นครับ) Markpeak 00:52, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)

(ส่วนเรื่องคำทับศัพท์นี่ ยังไม่รู้ว่าจะแก้อย่างไรดี อย่างคำว่า あだち จะเขียนเป็น อะดะจิ อาดาจิ หรือ อะดะชิ และอื่นๆ)

อันนี้ก็เหมือนกัน คือ สะกดตามปกของหนังสือการ์ตูนเป็นหลักไว้ก่อน (ถ้ามีการสะกดภาษาไทยนะ ซึ่งคิดว่าน่าจะมีเยอะ ถึงไม่อยู่ในปกนอกก็อาจจะหน้าในๆ) ถ้าไม่มีแล้วค่อยมาคิดกันอีกทีครับ Markpeak 00:52, 4 สิงหาคม 2005 (UTC)
เกิดปัญหาขัดแย้งครับผม ปกหน้าเขียน ชื่อ ตามด้วยนามสกุล แต่ปกในเขียน ด้วยนามสกุลตามด้วยชื่อ (ของ วิบูลย์กิจ) ทำอย่างไรดี --Manop 15:09, 9 สิงหาคม 2005 (UTC)

เรื่องชื่อบุคคลญี่ปุ่น ผมเห็นว่าควรเรียงลำดับเป็น ชื่อสกุล ชื่อตัว ตามที่เจ้าของชื่อใช้ครับ เพื่อจะได้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด สำหรับการเรียงลำดับแบบ ชื่อตัว ชื่อสกุล นั้น เท่าที่ทราบ คนญี่ปุ่นจะใช้เมื่อติดต่อกับชาวตะวันตก หรือเมื่อเขียนชื่อเป็นอักษรโรมันเท่านั้นครับ อีกเหตุผลหนึ่งคือ การ์ตูนญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยแทบทั้งหมด จะเขียนชื่อตัวละครที่เป็นคนญี่ปุ่นโดยเรียงลำดับแบบที่คนญี่ปุ่นใช้ (ไม่นับชื่อผู้แต่งซึ่งมักเขียนบนหน้าปกเป็นอักษรโรมันและเรียงลำดับแบบตะวันตก) หากเกรงว่าจะสับสน ก็อาจทำเป็น infobox ของบุคคลญี่ปุ่น ในทำนองเดียวกันกับ infobox ของการ์ตูนญี่ปุ่นก็ได้ครับ

สำหรับเรื่องหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น ถ้ามีเวลาว่างพอ ผมจะพยายามนำหลักเกณฑ์ของสำนักนายกฯ/ราชบัณฑิตฯ ขึ้นไปไว้ที่วิกิซอร์ซก่อน เพื่อเป็นหลักในการอ้างอิง จากนั้นจะได้คุยกันเรื่องรายละเอียดต่อไปครับ --Phisite 09:18, 21 กันยายน 2005 (UTC)

ชื่อบทความ "หลักการตั้งชื่อ" เปลี่ยนเป็น "หลักการเขียนชื่อ"??

เพราะว่าถ้าใช้ชื่อวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อ มันจะสับสนกับ วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ ทั้งๆ ที่ในหน้า "หลักการตั้งชื่อ" นั้นจะเขียนถึงการเขียนชื่อมากกว่า ท่านอื่น ๆ คิดว่าอย่างไรครับ? --- Jittat 03:23, 4 ธันวาคม 2005 (UTC)

งงครับ ว่าทำไมถึงมี 2 หน้า ทั้ง ๆ ที่ลิงก์โยงไปหน้าภาษาอังกฤษอันเดียวกัน น่าจะรวมกัน? --Pi@k 05:10, 4 ธันวาคม 2005 (UTC)
นั่นสิครับ แต่อ่าน ๆ ดูแล้วในฉบับภาษาอังกฤษ en:Wikipedia:Naming conventions จะเน้นที่การตั้งชื่อหัวข้อ (ซึ่งจะเหมือนกับวิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ) แต่ฉบับของเรานี่ จะมีบางส่วนเกี่ยวกับการเขียนชื่อในบทความด้วย (เช่น ส่วนของชื่อบุคคลญี่ปุ่น หรือชื่อภาษาอังกฤษ) ส่วนนี้ผมว่าเราอาจจะมาแยกเขียนไว้ก็ได้กระมังครับ (เช่นใส่ไว้ในส่วนอื่นๆ ของการเขียนครับ) --- Jittat 10:20, 4 ธันวาคม 2005 (UTC)

ชื่อจีน

ในหน้าบทความบอกว่า ชื่อจีนให้เขียนแบบ โจว เหวินฟะ คือเว้นวรรคหนึ่งครั้งระหว่างนามสกุล แต่ในบทความหลายแห่ง ผมเห็นเขียนติดกันหมด เลยอยากถามว่าวิธีที่ถูกควรเป็นยังไง

Markpeak 09:52, 10 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)


วิสามานยนาม ที่มีสามานยนามกำกับ

คือสงสัยเรื่องการตั้งชื่อบทความ ที่เป็นชื่อวิสามานยนาม แบบมีสามานยนามกำกับ เช่น ชาวไทยเชื้อสายจีน หากใช้วิธีเดียวกับ พืช และ ปลา ก็ต้องเขียนเป็น ไทยเชื้อสายจีน ส่วนกรณีซ้ำ ชาวไทย เขียนเป็น ไทย แล้วกำกวม ก็จะเป็น ไทย (กลุ่มชาติพันธุ์) จึงอยากสอบถามว่าควรใช้แบบไหนดี โดยส่วนตัวผมว่า ไทย (กลุ่มชาติพันธุ์) ตามอย่างวิกิภาษาอังกฤษ ก็น่าจะดีกว่าไหมครับ --ผู้ใช้:ธัญกิจ 11:36, 22 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

ต้องสร้างหน้าใหม่ของ ไทย สำหรับแก้ความกำกวมครับ มีอยู่แล้วนี่นา จะงงทำไม--Bond the Magic Dragon lived by the Sea 04:03, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

แงกี๊ ผมเขียนไม่รู้เรื่องสินะ... คือตอนนี้มันเป็น ชาวไทย ชาวจีน ชาวxxx อยู่ แต่ก็มีบทความหลายบทที่ไม่มี prefix ชาว- ซึ่ง ปะหล่อง ไทแดง แคะ ก็เป็นหนึ่งในนั้น การนั้น ในบทความเกี่ยวกับปลา ซึ่งเดิมมี prefix (อุปสรรค) ปลา- นำหน้านั้น ได้จัดระบบใหม่โดยใช้วิสามานยนามอย่างเดียว หมอนกแก้ว โดยไม่มี ปลา- นำหน้า ส่วนกรณีกำกวมก็เป็น ขาไก่ (ปลา) เช่นเดียวกัน ในกลุ่มบทความเรื่องชาติพันธุ์ การจะเติม prefix นั้น ถ้าเติม ก็ต้องกำหนดเป็นมาตรฐาน จะได้ไล่เติม prefixให้ครบ หรือถ้าไม่เติม ก็จะได้ไม่เติม และเปลี่ยนกลับ อนึ่ง กลุ่มชาติพันธุ์ (เชื้อชาติ) ไม่ใช่ สัญชาติ ดังนั้น ความเห็นส่วนตัว อยากใช้ชื่อชนเผ่า มาเป็นชื่อบทความ เช่น อินเดียนแดง แทน ชาวอินเดียนแดง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสมาชิกส่วนใหญ่เห็นอย่างไร ผมก็เห็นอย่างนั้นครับผม

ปล. คำว่า "กลุ่มชาติพันธุ์" นี้ผมใช้ตาม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ครับผม --ผู้ใช้:ธัญกิจ 04:41, 25 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)


ชื่อทับศัพท์ในภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ

พอดีผมเกิดสงสัยมานานเลยว่า ถ้าจะเขียนคำทับศัพท์ควรจะใช้ของเจ้าของภาษาเดิม หรือ ใช้ของภาษาอังกฤษครับ มันไม่ค่อยจะชัดเจนว่าควรใช้อะไรหน่ะครับ และผมเห็นว่าชาววิกิฯส่วนใหญ่ใช้ของภาษาอังกฤษเป็นหลักในการแปล

เช่น คำว่า Napoli ซึ่งเป็นเมืองในอิตาลี ถ้าใช้เป็นภาษาอังกฤษก็จะเป็น Naples ผมจึงงงว่าควรจะใช้คำว่า นาโปลี หรือ เนเปิลส์ เป็นหลักครับ

ถ้าในความคิดของผมควรจะใช้ของ เจ้าของภาษาเดิม ในที่นี้ก็คือ นาโปลี เช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ เช่น ภ.ญี่ปุ่นที่เขาก็ใช้นาโปลี ไม่ใช้เนเปิลส์ แต่ก็จะทำ redirect เนเปิลส์ไปที่นาโปลีด้วย ชื่อคนก็เหมือนกันเช่นคำว่า คุณ Francis ที่เป็นคนอังกฤษก็ควรใช้ภาษาอังกฤษ แต่ถ้าที่เป็นชาติอื่นแล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วใช้คำว่า Francis ผมก็ไท่ค่อยจะเห็นด้วย Francis นี้ ถ้าเป็นภาษาสเปนก็จะเป็น Francisco ส่วนถ้าเป็น ฝรั่งเศสเศสก็จะเป็น ฟรองซัว ดังนั้นผมจึงเห็นด้วยกับว่าควรจะยึดภาษาเดิมเป็นหลัก

แต่ถ้าเป็นชื่อที่คนไทยใช้เรียกกันมานานแล้ว ก็เสนอว่าใช้ดั่งเดิม เช่นโรม แทนที่จะใช้ โรมา ก็เป็นโรมแทน เวนิส ก็เป็น เวนิส มิทราบว่าคิดเห็นเป็นประการใดครับ ... Mda 17:15 6 มีนาคม 2550

เห็นด้วยว่า ควรจะยึดเอาภาษาเดิมเป็นหลัก ยกเว้นกรณีคำเป็นที่นิยมอยู่แล้ว อย่างที่ว่ามาครับ -- bact' คุย 10:16, 6 มีนาคม 2007 (UTC)
กรณีภาษาจีน ควรจะยึดจีนกลางเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นชื่อคน ก็อาจจะต้องยึดตามแหล่งกำเนิด/ภาษา ของคน ๆ นั้น ว่าเป็นจีนไหน -- bact' คุย 11:51, 6 มีนาคม 2007 (UTC)
ตอนนี้คงมี 4 ทางเลือกนะครับ (1) คำที่ได้บัญญัติไว้ในภาษาไทยอย่างเป็นทางการ (2) คำอ่านตามเจ้าของภาษา (3) คำอ่านตามภาษาอังกฤษ (4) คำที่ใช้เป็นคำนิยม (อันนี้จะยากหน่อยเพราะไม่รู้ความนิยมจะวัดที่ตรงไหน จะแบ่งว่าอันไหนนิยม อันไหนไม่นิยม) ตอนนี้มีหลายบทความที่พูดกันครับเช่น นูเรมเบิร์ก / เนิร์นแบร์ก (เยอรมัน) ฮอกไกโด / ฮกไกโด (ญี่ปุ่น) ฮาร์วาร์ด/ฮาร์เวิร์ด (อังกฤษ) และอีกหลายคำครับ คำส่วนใหญ่ที่ใช้ในวิกิพีเดียที่ผมเข้าใจคิดว่าถ้ามีเขียนในพจนานุกรมคงใช้ตามพจนานุกรมเป็นหลัก รวมถึงชื่อประเทศและชื่อเมืองหลวงที่มีประกาศในสำนักนายกที่อยู่ในหน้า รายชื่อประเทศ ส่วนคำที่ไม่มีบัญญัติส่วนตัวแล้วผมจะใช้ตามเสียงต้นภาษาเป็นหลักเว้นแต่คำที่คำที่นิยมกันมาก ลองดูเพิ่มได้ที่ วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์ --Manop | พูดคุย - 17:05, 6 มีนาคม 2007 (UTC)
แล้วก็อีกอย่างลืมกล่าวไป พวกชื่อเมืองในยุโรปส่วนใหญ่ที่การเขียนจะไม่เหมือนต้นฉบับ เพราะเป็นการเขียนตามภาษาฝรั่งเศส แต่อ่านตามภาษาอังกฤษนะครับ --Manop | พูดคุย - 03:57, 7 มีนาคม 2007 (UTC)

เราว่าเรียงลำดับความสำคัญในสี่ตัวเลือกนั้นดีกว่า ถ้าสำคัญมากสุดแต่ไม่ได้การยอมรับ ก็ให้พิจารณาตัวเลือกที่มีความสำคัญรองลงไป--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 03:50, 7 มีนาคม 2007 (UTC)


สำหรับผม: (1) ถ้าในภาษาอังกฤษกับภาษาเดิมสะกดไม่เหมือนกัน ผมจะใช้ชื่อตามทางการกำหนด ถ้าไม่มีกำหนดไว้ก็ใช้ตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นที่นิยมมากกว่าชื่อท้องถิ่นอยู่แล้ว (เช่น คนทั่วไปน่าจะรู้จัก "เนเปิลส์" มากกว่า "นาโปลี") ถ้าไม่อย่างนั้นวิกิฯ ภาษาอังกฤษเองก็เอาชื่อท้องถิ่นมาใช้ ซึ่งหากสะกดไม่ต่างกันผมก็จะทับศัพท์ตามภาษาท้องถิ่น เทียบเคียงเอาจากคำที่มีกำหนดไว้ในภาษาเดียวกัน (2) ชื่อท้องถิ่นบางทีเป็นภาษาย่อย/ภาษาถิ่น บางชื่อก็ยังยาว มีพยัญชนะ/สระติดกันหลายตัว อ่านหรือถอดเสียงออกได้ยาก ไม่มีกำหนดไว้ และก็ไม่รู้ว่าจะทับศัพท์ลึกตามไปถึงภาษานั้นดีหรือเอาแค่ภาษาหลักที่แพร่หลายกว่าก็พอ (นอกจากผู้รู้ภาษาย่อยนั้นจะสามารถทับศัพท์ได้ถูกต้อง/ใกล้เคียง) อย่างนี้ก็น่าจะใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า ดูเป็นสากลด้วย (3) ขอนอกเรื่องพูดถึงชื่อเมืองอีกเล็กน้อยเพราะอาจจะช่วยตัดสินใจได้ (ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม) และผมก็เป็นคนไปเปลี่ยนเอง คือที่เปลี่ยนจากเนิร์นแบร์ก (น่าจะเป็น เนือร์นแบร์ก?) เป็นนูเรมเบิร์ก ก็ตามความเห็นข้อ (1), (2) ข้างต้น ส่วนฮกไกโดนั้นตามราชบัณฑิตฯ ทับศัพท์ แค่นั้นครับ -- Potapt 16:52, 7 มีนาคม 2007 (UTC)


ผมนึกขึ้นได้ หลังจากคิดมานาน ว่าการทับศัพท์นี่ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดครับ และมีความยืดหยุ่นด้วย บางครั้งก็มีการใช้มากกว่า 1 แบบ (รออ้างอิง) คงยึดตายตัวไม่ได้จริงๆ อย่าง ปิระมิด ก็เปลี่ยนมาเป็น พีระมิด ภูฐาน ก็เป็น ภูฏาน คงเปลี่ยนตามความนิยมมั้ง (รออ้างอิง ;) ) ถ้าจะให้ง่าย ตามลำดับ (ความเห็นสอดคล้องกับที่อภิปรายมาข้างบน)
  1. ก็คงยึดราชบัณฑิตเป็นหลัก และไม่ต้องเถียงกันว่า ราชบัณฑิตออกเสียงถูกหรือเปล่า เพราะเราทับศัพท์เพื่อให้เขียนง่ายและเข้าใจ ไม่ได้ถอดเสียงมาเพื่อใช้ในการออกเสียงสื่อสารกัน (อ้างคนเขียน)
  2. ถ้าคำไหนราชบัณฑิตไม่ได้บัญญัติ ก็นึกถึงคำที่คุ้นกันก่อน
  3. ถ้าไม่มีคำที่คุ้น ก็ถอดเสียงจากภาษาเดิม "โดยอาศัยหลักเดิม"
  4. ถ้าไม่มีหลักออกเสียงเดิมๆ ก็ว่าไปตามเสียง โดยอาศัยอักขรวิธีของไทย (อ้างอีกแล้ว)
  5. ถ้าอ่านภาษาเดิมไม่ออก ก็กล้อมแกล้มอ่านจากภาษาอังกฤษ หรือภาษาไหนก็ได้ ที่คุณอ่านออก (อาจมีวงเล็บภาษาอื่นไว้)
  6. ถ้าอ่านไม่ออก ก็ใส่อักษรเดิมไว้ก่อน รอคนอ่านออกมาช่วย (อ้างว้างโดดเดี่ยว)
--ธวัชชัย 01:30, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
เห็นด้วยกับการเรียงลำดับของคุณธวัชชัย--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 15:31, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
เท่าที่คุณธวัชชัยเรียงนี่มีหลักเป็นสากลแบบนี้หรือป่าว ถ้าใช่ก็เห็นด้วย แต่รู้สึกว่าจะขาด เรื่องการอ้างถึงพจนานุกรม ที่มิใช่ ราชบัณฑิต ด้วย ต่อกรณี ฮอกไกโด ฮกไกโด นั้น ถ้า ฮกไกโดมีเขียนไว้ในราชบัณฑิต ของ link ผมหน่อย และก็ควรเปลี่ยนชื่อเมืองในญี่ปุ่นให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และก็อย่างที่บอก ฮอกไกโด พบ 900 links ฮกไกโด เจอ 7 links ตามความนิยม --Dr.Akarat 04:08, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ราชบัณฑิตที่ว่า หมายถึง พจนานกุรมฉบับราชบัณฑิตมาก่อน ตามด้วยการทับศัพท์ของราชบัณฑิต ครับ อ่านที่นี่ การเขียนคำทับศัพท์ตามระบบของราชบัณฑิตยสถาน#การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอื่น--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 15:55, 8 มีนาคม 2007 (UTC)
เมื่อกี้เขา web ราชบัญฑิต ไม่พบทั้งคำว่า ฮอกไกโด และ ฮกไกโด ก็แปลว่าไม่เข้าข้อ 1 ตามที่ คุณธวัชชัยเสนอมา ก็ต้องมาคิดต่อว่า จะเอาคำที่คุ้นเคย มาก่อนหลัง การทับศัพท์ตามหลักของราชบัญฑิต ตามที่คุณชื่อยาว เสนอ มา ส่วนตะวแล้ว ขอชื่อคุ้น มาก่อนการทับศัพท์ เพราะ ทับศัพท์กรณีที่ใกล้เคียงกับ Hokkaido ชัดๆ ไม่มี และทับซับแล้วอ่านตามก้เสียงเพี้ยนไปอยู่ดี (ภาษาญี่ปุ่นมันไม่มีตรงกับภาษาเราอยู่ มันจะได้แค่ เกือบๆ น่ะ) --Dr.Akarat 04:08, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
คือการทับศัพท์แบบถอดเสียงไม่จำเป็นว่า ต้องตรงเสียงที่สุด 100% แต่ให้ใกล้เคียงครับ --Jutiphan | พูดคุย - 21:19, 8 มีนาคม 2007 (UTC)

การทับศัพท์เป็นเรื่องที่จะมีปัญหาอยู่เรื่อยๆครับ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไหน ดังนั้นผมเองก็ขอเสนอดังนี้

  1. ทับศัพท์ตามราชหากมี
  2. ใช้หลักการทับศัพท์ตามภาษานั้นๆ (สำหรับผมอยากเน้นความถูกต้องการในการออกเสียงมากกว่าเพียงถ่ายรูปหรือนิยม)
  3. หากไม่แน่ใจ พูดคุย หากไม่เห็นด้วย เสนอเพื่อแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ผมมองว่าเราเป็นสารานุกรม และควรพยายามใช้การทับศัพท์ที่ตรงกับเสียงมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น รัฐอินดีแอนา (Indiana) ซึ่งแม้ว่าไม่ได้ตรง 100% แต่ก็ยังดีกว่าที่คนส่วนใหญ่นึกว่าเป็น อินดีแอนา แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ (หากค้นหาบนกูเกิลจะสังเกตว่าตัวเลขต่างกันอย่างมาก) ซึ่งอย่างกรณีนี้ผมเห็นว่าสำคัญ และในกรณีอื่น ยอมรับว่าบางคำที่ใช้ในวิกิพีเดียไทย ไม่เป็นที่นิยม ไม่ว่าจะเป็น วินโดวส์วิสตา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก อัปเดต และอื่นๆ

ผมมองว่าภาษาอื่นๆ นั้นก็รากปัญหาเหมือนภาษาอังกฤษ

นอกจากนั้น ผมเองไม่อยากให้ใช้ความเห็น ที่อยู่นาน อยู่บ่อยมาเป็นตัวประกอบการตัดสินใจ เพราะอาจมีคนอื่นที่อยู่เช่นกัน แต่อาจมีความคิดเห็นต่างจากคุณ นอกจากนั้นยังทำให้กลายเป็นว่า ผมอยู่ที่นี่ ผมต้องการชื่อที่ผมชอบ และคุ้นเคย แต่อยากให้มองภาพรวม และส่วนประกอบอื่นๆด้วยครับ --Jutiphan | พูดคุย - 21:30, 8 มีนาคม 2007 (UTC)

คุณ Jutiphan ให้ความเห็นรุนแรงมาก จงตำหนิกันมากเกินไป คุณไม่ให้ credit กับคนริเริ่ม คุณเขียนเหมือนผมแต่งชื่อนี้ขึ้นมาเอง และต้องการจะให้ใครๆเห็นดีไปกับผม ด้วยความที่ผมอยู่ที่นั่นมานาน ผมเพียงพยายามจะบอกว่า ชื่อนี้มันเขียนกันมานานแล้ว ทั้งใน พจนานุกรมก็มีเขียนไว้ ผลของการหา google ก็เป็นสิ่งยืนยันความนิยม ตอนนี้เราอยู่ที่ step การลงความเห็นในการเลือกหลักการ มันเลย step ของชอบความถูกใจมาแล้ว ส่วนก็กรณีที่คุณยกตัวอย่างนั้น Indiana เป็นชื่ออังกฤษ เรากำลังคุยเรื่องชื่อที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ และเหตุผลของคุณก็ยังแสดงถึงความเห็นส่วนตัว "แต่ก็ยังดีกว่าคนส่วนใหญ่" ในกรณีที่มีชื่อที่ราชบัณฑิตกำหมดไว้ อย่าง Indiana คงต้องอ้างตามนั้น แต่กรณี ฮอกไกโด ยังไม่มีอ้างไว้ ผมเสนอว่า หากใช้ทับศัพท์ตามราชบัญฑิตแล้ว มันเกิดต่างจากชื่อที่เคยใช้กันมา และยังนิยมอยู่ในปัจจุบัน จะอรุ่มอร่วยให้เป็นชื่อเดิม ไม่ดีกว่าเหรอครับ --Dr.Akarat 04:08, 9 มีนาคม 2007 (UTC)


ผมเห็นด้วยกับการให้เลือกว่าแต่ละคนจะใช้ตามแบบภาษาใด เพียงแต่น่าจะวงเล็บระบุไว้ว่าใช้ในภาษาใดเรียก เพราะว่าภาษาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เข้าใจกัน แม้จะเรียกชื่อคนละอย่างกันแต่ยังเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ผมว่าก็โอเคนะ nop_s

ผมเห็นไปในแนวเดียวกับคุณธวัชชัย ประเด็นเรื่องชื่อสถานที่อย่างในประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศอื่น ๆ ซึ่งเรายังไม่พบว่ามีการบัญญัติหรือทับศัพท์ไว้โดยราชบัณฑิตยสถาน ถ้าเป็นชื่อที่ใช้กันมานานผมว่าน่าจะใช้ตามความนิยมมากกว่าครับ --Pi@k 02:17, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมก็เห็นด้วยไปกับคุณธวัชชัยครับ ดั่งเช่นที่คุณPi@kได้กล่าวมา คือเอาราชบัณฑิตไว้ก่อน ความนิยมตามมา แล้วค่อยตามภาษาเดิม สรุปง่ายๆมี 3 ขั้นตอน Mda 10:50, 9 มีนาคม 2550

ผมขอเพิ่มเติมนะครับว่าทางราชนั้นได้มีออกหลักการทับศัพทืภาษาญี่ปุ่น และภาษาอื่นๆ ซึ่งน่าจะนำมาประกอบความคิดเห็นครับ สำหรับภาษาญี่ปุ่นดูที่ การเขียนคำทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น ----Jutiphan | พูดคุย - 04:04, 9 มีนาคม 2007 (UTC)

ตัวอย่างคำทับศัพท์สนับสนุน (ขัดแย้งนิดหน่อย) แนวคิด

ผมว่าหลักการณ์ที่คุณธวัชชัยเสนอด้านบนนี่ค่อนข้างครอบคลุมครับเป็นแนวทางได้ดี ผมเลยคิดว่าหาตัวอย่างมาดูว่าคำต่างๆ เป็นอย่างไร ถ้าคำไหนที่มีการยกเว้นจริงๆ ก็ค่อยว่ากันอีกทีเฉพาะเรื่อง ฝากทุกท่านช่วยสรุปคำข้างล่างด้วยก็ดีครับ ส่วนอันนี้ก็รวมคำภาษาอังกฤษไปด้วยเพราะคิดว่าหลักน่าจะคล้ายกันแค่ตัดข้อ เสียงอังกฤษ (5) ออกครับ ถ้าผมเขียนอันไหนผิดฝากแก้และฝากเติมด้วยครับ

หมายเหตุ : ช่องคำนิยมนี้เอาตามที่หาเจอจาก กูเกิล นะครับ โดยส่วนมากคำนิยมกับเสียงภาษาอังกฤษก็มักจะเป็นคำเดียวกัน และก็ข้อ (1) จะเป็นศัพท์ที่ราชฯบัญญัตินะครับ ส่วน (3) จะเป็นหลักทับศัพท์ตามราชฯ --Manop | พูดคุย - 06:05, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
ศัพท์ (ภาษา) ราชฯ (1) คำนิยม (2) เสียงเดิม (3,4) เสียงอังกฤษ (5) คำในวิกิตอนนี้
Roma (อิตาลี) / Rome (อังกฤษ) โรม โรม โรมา โรม โรม
Torino (อิตาลี) / Turin (อังกฤษ) - ตูริน โตรีโน ตูริน ?
Nürnberg (เยอรมัน) / Nuremberg (อังกฤษ) - นูเรมเบิร์ก เนือร์นแบร์ก นูเรมเบิร์ก นูเรมเบิร์ก
Michelangelo (อิตาลี) - ไมเคิล แองเจโล มีเกลันเจโล ? มีเกลันเจโล
Serie A (อิตาลี) - ซีรีส์ เอ (ไม้เอก) เซเรียอา ซีรีย์เอ เซเรียอา
弁当 (Bentō) (ญี่ปุ่น) - เบนโตะ เบ็นโต เบนโต เบนโต
ラーメン(rāmen) (ญี่ปุ่น) - ราเมน ราเม็ง ราเมน ราเม็ง
北海道 (Hokkaidō) (ญี่ปุ่น) - ฮอกไกโด ฮกไกโด ฮอกไกโด ฮกไกโด
Indiana (อังกฤษ) อินดีแอนา อินดีแอนา อินดีแอนา อินดีแอนา
Illinois (อังกฤษ/ฝรั่งเศส) อิลลินอยส์ อิลลินอยส์ อิลลินอย อิลลินอยส์
gasohol (อังกฤษ) แกโซฮอล[1] แก๊สโซฮอล์ แก๊สโซฮอล (gas.o.hol) แก๊สโซฮอล์
Chevrolet (อังกฤษ) - เชฟโลเรต เชฟโลเร เชฟโรเลต
Harley-Davidson (อังกฤษ) - ฮาร์เล่ย์-เดวิดสัน ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน
David Beckham (อังกฤษ) - เดวิด เบ็คแฮม ? เดวิด เบ็คแฮม
Rockefeller (อังกฤษ) - ร็อกกี้เฟลเลอร์ ร็อกเกอะเฟลเลอร์ ?
ส่วนตัวของผม ที่จริงผมชอบและอยากให้ใช้ตามเสียงที่ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาพูดมากกว่า เพราะเป็นการให้เกียรติต่อเจ้าของภาษา และทำให้เราได้ความรู้เกี่ยวกับการออกเสียงคำตามภาษาพื้นถิ่นจริง ๆ แต่ยังไงซะ ในความเป็นจริงคงทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะนี่เป็นสารานุกรมภาษาไทย เราอาจจะต้องอ้างอิงตามราชบัณฑิตฯ เอาไว้ด้วยอย่างที่คุณหลาย ๆ คนว่า เพิ่อให้เกิดความเป็นทางการ ความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับจนสามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงอื่น ๆ ได้ ส่วนคำไหนที่ไม่มีในราชบัณฑิตฯ ก็คงต้องใช้คำที่นิยมใช้กันอย่างที่หลายคนว่ามาอีกนั่นแหละ สรุปแล้วคือผมเห็นด้วยกับที่คุยกันมาทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ผมยังคิดว่า ในบทความต่าง ๆ ที่ควรจะให้เกียรติแก่เจ้าของภาษาจริง ๆ ด้วย อย่างเช่นการวงเล็บคำอ่านเอาไว้ที่ต้นบทความหลังชื่อที่นำมาขึ้นต้นในย่อหน้าแรก อะไรพวกนี้ (ซึ่งที่จริงผมก็เห็นทำกันอยู่แล้วแหละ แต่นี่เป็นความเห็นของผมทีนำมาเสนอ) - Glass mask 9 มีนาคม 2550 15.01 น.

แต่ว่าฟังกี่ทีก็ได้ยินว่าคำว่า ฮอก/ฮกไกโด เป็น หกไก๊โด่ ทุกทีเลย (ขำๆ) ถ้าอย่างนั้น ตามตารางและหลักการที่ลงความเห็นกัน ผมเห็นด้วยครับ จึงขอเสนอให้เปลี่ยน ชื่อบทความกลับเป็น ฮอกไกโด โดยจะมีเสียงอ่านที่ใกล้ภาษาญี่ปุ่น หรือการเขียนทับศัพท์ ด้วยก็ได้ครับ และหลักการหรือต่างรางนี้ ควรนำไปใช้กับคำญี่ปุ่นอื่นๆด้วย เช่น ฮอนชู --Dr.Akarat 08:17, 9 มีนาคม 2007 (UTC)


จริงๆ ส่วนตัวผมก็ชอบใช้ตามภาษาเดิมครับ เพราะเหมือนกับให้เกียรติเจ้าของภาษาดั่งที่คุณ Glass mask พูด แต่ก็ต้องเอาตามหลักไว้ก่อนอาจจะมีการเขียนการอ่านแบบเจ้าของภาษาไว้ด้วยก็จะดีครับ ส่วนเรื่องฮกไกโด ฮอกไกโด นั่นนะ ผมว่ามันก็ได้ทั้ง 2 นะครับ ก็เอาฮอกไปก่อนละกัน แต่ถ้าคำอื่นๆที่ไม่คุ้นหูคนไทย ผมว่าก็เอาแบบเจ้าของภาษาละกันครับ แล้วถ้าการเสนออะไรทั้งหลายเนี่ยเสร็จแล้วก็ ไปเขียนที่หน้าคู่มือได้เลยนะครับผมว่า จะได้เป็นแบบกฏหมายประจำเว็บ ฮะๆๆๆๆๆ Mda 20:38, 9 มีนาคม 2549 (UTC)
ขอถามว่าตกลงจะใช้คำที่ทับศัพท์ที่ทางการกำหนดเป็นอันดับแรกใช่หรือไม่ครับ ถ้าจะใช้ แล้ว "ตามราชบัณฑิต" ในที่นี้ หมายถึงเฉพาะชื่อที่มีประกาศสำนักนายก เรื่องชื่อประเทศ ฯลฯ ที่ออกมาหลายปีก่อนเท่านั้นหรือเปล่าครับ ทุกคนสามารถยอมรับการทับศัพท์ตามราชบัณฑิตที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ได้หรือไม่ http://www.royin.go.th/th/printing/detail.php?ID=206 (พิมพ์ครั้งแรกปี 49) ถ้ายอมรับ ผมจะบอกว่าในนั้นทับศัพท์ Hokkaido ว่า ฮกไกโด (อย่างเดียว) ครับ นอกจากนั้นยังทับศัพท์ Honshu ว่าฮนชู และ Kyushu; Kiushu ว่าคีวชู; คิอูชู ด้วย แต่มีหลายชื่อในหนังสือนี้ที่ทับศัพท์แล้วไม่ตรงกับหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตเอง บางชื่อไม่ตรงกับในประกาศสำนักนายกด้วยซ้ำ (ในคำชี้แจงบอกไว้อย่างนั้นเลย) และหนังสือนี้ก็ไม่ได้บรรจุชื่อภูมิศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นที่มีอยู่ทั่วโลกไว้ทั้งหมด ถ้ามีชื่อญี่ปุ่นอื่นผมก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรเพราะผมไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นครับ -- Potapt 14:40, 9 มีนาคม 2007 (UTC)

ทางเลือกเพิ่มเติม เราอาจเพิ่มชื่อบทความด้วยการสะกดแบบอื่น แล้ว redirect มีทุกแบบเลยก็ได้ (ส่วนที่ว่าออกเสียงไม่เหมือนเจ้าของภาษาแล้วขำๆ นั้น จะว่าไปก็ขำกันเยอะครับ ฝรั่งออกเสียงบางกอก ว่า Bangkok ก็ขำดีเหมือนกัน เจ้าพระยาก็เคยเรียก Menam River, แควน้อยว่า Fingnoi River เหมา เจ๋อ ตุง เราเคยเรียกว่า เมาเซตุง ขำจะตายไป ไหนจะปักกิ่ง (Beijing) นาตรัง (Nha Trang) ขำดี) --ธวัชชัย 10:40, 9 มีนาคม 2007 (UTC)

เห็นด้วยกับการใส่วงเว็บการออกเสียงตามภาษาเดิมเอาไว้ด้วย --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 222.123.112.177 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

เห็นด้วยคนครับสำหรับการใส่วงเล็บตามหลัง อย่างเช่นใน ฮอกไกโด รุ่นเก่าก็มีใส่วงเล็บสำหรับเสียงคำอ่านภาษาเดิม (นอกเรื่องครับ อันนี้ก็ขำครับ แต่ขำไม่ออก Phuket = ฟักเกต :) ถ้าสรุปตาม 6 ข้อที่กล่าวไว้ด้านบน ผมว่า Hokkaido ก็คงเป็น ฮกไกโด ตามหนังสือที่คุณ Potapt กล่าวไว้ครับ คือถือหลักของราชฯ เป็นหลัก และอาจเขียนกำกับในวงเล็บไว้ได้ว่า "ยังคงรู้จักกันในชื่อ ฮอกไกโด" เผื่อคนที่ค้นหาผ่านเสิร์ชเอนจินเข้ามาครับ ตอนนี้ผมว่าหลักค่อนข้างโอเค แต่เรื่อง "คำนิยม" นี่เราควรจะกำหนดใช้อย่างไรดีครับ เพราะอย่างที่ตัวอย่างในตาราง มีเกลันเจโล หรือ ราเม็ง ในวิกิพีเดียก็ใช้คำที่เสียงใกล้เคียงกับต้นภาษามากกว่าคำนิยมครับ ท่านอื่นมีความเห็นว่าอย่างไร ว่าควรจะกำหนดอย่างไรเกี่ยวกับคำนิยม (นิยมแค่ไหน) --Manop | พูดคุย - 22:57, 9 มีนาคม 2007 (UTC)
พอดีติดงานเลยมาช้าไปหน่อย คุยกันจบแล้วสินะคะเนี่ย เราเห็นด้วยกับที่คุณธวัชชัยว่าไว้ "ไม่ต้องเถียงกันว่า ราชบัณฑิตออกเสียงถูกหรือเปล่า เพราะเราทับศัพท์เพื่อให้เขียนง่ายและเข้าใจ ไม่ได้ถอดเสียงมาเพื่อใช้ในการออกเสียงสื่อสารกัน" แต่ในกรณีที่ทางราชบัณฑิตฯ ไม่ได้บัญญัติไว้ ส่วนตัวแล้วก็อยากให้ใช้คำที่เสียงใกล้เคียงกับการออกเสียงของต้นภาษามากกว่าคำนิยม เพราะนี่คือสารานุกรม (และจากที่คุยกันในหน้าพูดคุย:จังหวัดฮกไกโด ไม่ต้องห่วงว่าจะทำให้ค้นหาหน้าบทความในเสิร์ชเอ็นจินไม่เจอ เพราะยังไงมันก็ต้องเจอหน้าที่เป็น redirect อยู่แล้ว)
ที่พูดมาซะยืดยาวนั่นหมายถึงภาษาอื่นๆ นะคะ สำหรับภาษาญี่ปุ่นยังไม่ทราบค่ะ เพราะถ้าจะเลือกสะกดตามคำนิยม แต่เป็นคำนิยมที่ผิดๆ เช่น เบนโตะ เราก็ไม่เห็นด้วย --Piggy 05:29, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

เห็นด้วยกับความเห็นคุณธวัชชัยครับ น่าจะใช้ราชบัณฑิตเป็นหลักไว้ก่อน ถ้าไม่มีน่าจะใช้คำนิยมของคนส่วนใหญ่แทน Goodguy 05:39, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

เห็นด้วยกับคุณธวัชชัยครับ-- ~ ScorpianPK | คุยแค่ "คลิก" 05:42, 10 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมเห็นว่าความถูกต้องมาก่อนความนิยม (แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเอาตามต้นฉบับอย่างเดียว) ผมคิดว่าถ้าเป็นชื่อคน (ซึ่งปกติไม่น่ามีการบัญญัติไว้) น่าจะให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด โดยที่ไม่ซับซ้อนหรือออกเสียงยากเกินไป แม้ว่าจะมีแบบที่นิยม (แต่เพี้ยน) อย่างเช่น มีเกลันเจโร แต่อย่างชื่อเมืองต่างๆ แต่ละภาษาเรียกต่างกันได้ ถ้าเป็นชื่อที่มีความนิยมมานานมากแล้ว หรือ เช่น โรม (โรมา) เวนิส (เวเนเซีย) มิลาน (มีลาโน) (ไม่แน่ใจว่าชื่อเหล่านี้มีบัญญัติไว้หรือไม่) แต่ถ้าเป็นชื่อที่ยังไม่ได้มีรากฐานในภาษาไทยมานานมาก ผมคิดว่าเราน่าจะพยายามอิงตามภาษาดั้งเดิมได้ แต่ไม่ว่าจะใช้ชื่อไหน ผมคิดว่าในบทนำของบทความน่าจะระบุชื่อดั้งเดิมไว้ด้วย โดยสรุป ความเ็ห็นส่วนตัว ไปในทางเดียวกับคุณธวัชชัยครับ แต่เห็นว่าถ้าความนิยมไม่สูงมากจริงๆ น่าจะอิงตามภาษาเดิมได้ kinkkuananas 16:04, 10 มีนาคม 2007 (UTC)
ตอนนี้ความคิดเรื่องเปลี่ยนแล้วครับ คือ ผมเห็นว่าความถูกต้องตามหลักภาษาเดิมควรมาก่อนความนิยมครับ ยกเว้นคำที่นิยมหนักๆมากๆ ดั่งเช่นที่คุณ kinkku ได้พูดมาแล้ว ถ้าเป็นชื่อคนก็เอาตามภาษาเดิมมาก่อน ถ้าเป็นชื่อสถานที่ก็เอาชื่อตามความนิยมมาก่อน(เฉพาะเมืองที่นิยมกันแล้วเช่น โรม) แต่ถ้าเมืองที่ไม่คุ้นก็เอาตามภาษาเดิม ดีไหมครับท่าน Mda 17:40, 10 มีนาคม 2007


คุยไป คุยมา ผมเริ่มงงแล้ว ว่าจะเอายังไงกันดี ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด คุณ Manop และคุณธวัชชัยเป็นเจ้าหน้าที่ของ web นี้ใช่ไหมครับ งั้นรบกวนอ่านจะช่วยสรุปเรื่องหน่อย (ท่านอื่นจะช่วยด้วยก็ยิ่งดี)

1. ตกลงว่าหลักที่คุยกันและจะหาข้อสรุปกันนี้ จะเป็นหลักการตั้งชื่อกระทู้ ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษทุกๆกรณี หรือจะพิจารณาเป็นแต่ละภาษาไป เพราะโดยธรรมชาติของภาษาทางตะวันออกและตะวันตกอาจจะไม่เหมือนกัน

2. (ผมขอ focus เฉพาะปัญหาที่ ผมเริ่มไว้ เรื่อง ภาษาญี่ปุ่น) ตามความเข้าใจของผม คำอ้างอิงที่เราใช้คุยเรื่องนี้ ได้แก่ ราชบัณฑิตฯ การทับศัพท์ตามราชบัณฑิตฯ และหลักภาษาเดิม คำเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงสิ่งเดียวกันใช่หรือไม่ กรณี ฮอกไกโด ที่ถูกเปลี่ยนเป็น ฮกไกโด นั้น เท่าที่ผมไปเข้า web ราชบัณฑิตฯ และลอง search ไม่พบทั้งสองคำ อย่างนี้แปลว่า ราชบัณฑิตฯ ยังไม่ได้กำหนดไว้ใช่หรือไม่ ถ้าใช่จะใช้หลักอะไรมาพิจารณาตั้งชื่อ ก็เกิดความเห็นเป็น 2 แบบ ได้แก่ ......หนึ่งคือ ใช้การทับศัพท์ตามหลักของราชบัณฑิตฯ (ตามความเข้าใจของผม เสียงที่เกิดขึ้นจากการอ่านคำที่เกิดจากการทับศัพท์นั้น ไม่ได้ตรงกับเสียงของภาษาเดิมทุกกรณีไป ......สองคือ ใช้คำนิยม ที่คุ้นเคย และมักจะค้นเจอใน internet มากที่สุด โดยกรณีของคำว่า ฮอกไกโด ที่ผมเสนอให้คงคำนี้เป็นชื่อบทความที่ผมเขียนไว้นั้น ก็คงมาจากคำว่า Hokkaido ในภาษาอังกฤษ (จริงแล้วคำว่า ฮก หรือ ฮอก ที่คนไทยเราแยกความแตกต่างออกนั้น ฝรั่งและชาติอื่นอีกหลายชาติ แยกไม่ออก .... อันนี้ยืนยันได้ เพราะภรรยาผมบอกผมเอง แต่คนญี่ปุ่นน่าจะแยกสองคำนี้ได้ แต่คำไทยอื่นๆบางคำก็คงแยกไม่ได้เช่นเดียวกับฝรั่ง) สาเหตุที่เรามักอิงภาษาอังกฤษในการอ่านภาษาญี่ปุ่น ท่านที่เรียนเคยภาษาญี่ปุ่นคงจะรู้ว่า ในหลายๆกรณีเราเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยภาษาอังกฤษในราชบัณฑิตก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนตัวผมถ้าจะให้ร้องเพลงญี่ปุ่นในคาราโอเกะ (คะระโอเกะ) ก็คงเลือกที่มันแสดง lyric ด้วย Romanji (ภาษาอังกฤษ) คงจะร้องได้คล่องกว่าคำทับศัพท์ภาษาไทย (ในกรณีนี้ คงไม่เกี่ยวกัน)


สาเหตุที่ผมเสนอ ฮอกไกโด รูปนิยม ก็เพราะเห็นว่า wikipedia เป็นที่ใครๆอยากจะเขียนก็เขียนได้ ยังไม่ได้ไปถึงระดับที่ใช้อ้างอิงเป็นทางการ ที่จะต้องใช้หลักภาษาไทยตามราชบัณฑิตฯเคร็ดครัดถึงขนาดนี้ ในความเห็นส่วนตัวคิดว่า ที่นี่ เราเป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาความหมายของคำต่างๆ โดยในทางวิชาการนั้น ที่นี่ยังอาจจะไม่สามารถนำไปอ้างอิงได้ดีเท่าแหล่งอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็น หนังสือ หรือวารสาร ประเภท Peer Review ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็อยากให้ข้อมูลที่ค้นหาเจอที่ web นี้ มีความถูกต้องไม่ว่าจะแง่มุมใดๆก็ตาม มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และนำไปสู่แหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นทางการในที่สุด

ดังนั้นถ้า พวกเราเลือก ใช้การทับศัพท์ตามหลักของราชบัณฑิตฯ ในการตั้งชื่อบทความแล้ว (ในกรณีภาษาญี่ปุ่น) ประเด็ดเรื่องต่างๆ คำนิยมของคนไทย เสียงภาษาเดิม หรือเสียงจากภาษาอังกฤษ ก็คงตกไปหมด โดยอาจจะเพิ่ม คำนิยม เสียงภาษาเดิม ภายในบทความเพื่อให้ค้นเจออย่างที่แนะนำกันมานั้นก็คงจะดีครับ

ในทางกลับกัน ถ้าจะเอาคำนิยมเป็นชื่อบทความ (อาจจะต้องดูว่านิยมแค่ไหน จะหา google หรือจะแปลจากภาษาอังกฤษ แล้ว มีคำทับศัพท์ เสียงภาษาเดิม ด้วยก็คงไม่แปลก เพราะถ้านักเขียนบทความเจ้าใหม่ซักคนจะเขียนบทความชื่อญี่ปุ่น ก็คงต้องไปเริ่มที่ภาษาอังกฤษก่อน และกรณีอย่างแก้ชื่อฮอกไกโด ก็คงจะมีไปเรื่อยๆ แล้วก็คงต้องชวนมาหาทางออก หรือแนะนำกันอย่างนี้ไปเรื่อยๆเช่นกัน เห็นว่าพวกเราชอบเขียนเรื่องการ์ตูนญี่ปุ่นกันเยอะด้วยนิครับ (ผมงงว่าจะเขียนกันทำไมเยอะแยะ แต่ผมก็เคยเขียน อิอิ)เพราะฉะนั้น ตัวเลือกนี้อาจจะดีกว่าในประเด็นที่ไม่ต้องตามแก้ ตามอธิบายกันมากนั้น เพราะ web นี้ ไม่ได้เป็นอะไรที่ต้องถูกต้องแปะๆ หรือ ผิดไม่ได้อยู่แล้ว (พิจารณาในความเป็นจริง)


แต่ก็คงต้องว่ากันด้วยเสียงส่วนใหญ่ว่าจะเห็นกันอย่างไร ยังไงผู้เกี่ยวข้อง กรุณาสรุปอีกทีละกันครับ


ปล.มีความเห็นน่ารักๆบอกว่า ".......... เป็นการให้เกียรติเจ้าของภาษา......" ผมอ่านแล้วก็อมยิ้ม ผมว่าเราจะใช้หลักอะไรเขียน ก็คงไม่ได้ไปหลบหลู่ภาษาเขาหลอกครับ น้อยคนคงอ่านภาษาไทยออก และก็คงไม่ได้รู้ส฿กอะไรหรอกครับ (ล้อเล่น ...น้า) --Dr.Akarat

เรื่องหลักภาษาไทยนั้น เราไม่ได้เคร่งครัด หรือคิดว่า ทุกคนต้องรู้ หรือเขียนด้วยคำดังกล่าวทั้งหมดครับ ซึ่งผู้ใช้ใหม่หลายท่านนั้น อาจใช้หลักการเขียนที่ไม่เหมือนในวิกิพีเดีย แต่ในวิกิพีเดียมีบอต และสคริปต์จัดให้ ที่ทำการตรวจสอบและแก้ไขการสะกดโดยอัตโนมัติครับ เช่นคำว่า "อินเทอร์เน็ต" ที่อาจนิยมนั้น บอตจะคอยตรวจสอบทุกบทความในวิกิพีเดียเมื่อแก้เป็น "อินเทอร์เน็ต" ปัจจุบันได้มีมากกว่า 50 คำและเพิ่มให้ตรวจสอบได้เรื่อยๆ เช่นหาก ฮอกไกโด/ฮกไกโดสรุปได้นั้น ผมสามารถเพิ่มให้บอตทำการแก้ทั้งวิกิพีเดียได้ครับ การใช้คำเหมือนกันทั้งวิกิพีเดีย สำคัญต่อความน่าเชื่อถือ และทำได้ครับด้วยเครื่องมืือที่มีอยู่ในปัจจุบัน

แล้วเรื่องแก้เรื่อยๆ คงไม่ใช่ปัญหาครับ เพราะว่ามาตรการหลายอย่างให้ผู้อ่าน และผู้เขียนทราบ

นอกจากนั้น ผมจะเสริมว่า วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์ ได้มีหลักการทับศัพท์ทีี่น่าสนใจและอาจควรอ่านเพื่อพิจารณาเพิ่มเติม ส่วนเรื่องนิยมนั้น บางทีมันพูดยากครับ --Jutiphan | พูดคุย - 17:31, 11 มีนาคม 2007 (UTC)

ตอบคุณ Dr.Akarat นะครับ ผมกับคุณธวัชชัยไม่ใช่เจ้าหน้าที่นะครับ เป็นอาสาสมัครเหมือนกับทุกๆ คนที่เขียนครับ --Manop | พูดคุย - 06:23, 12 มีนาคม 2007 (UTC)


ขอบคุณ คุณธวัชชัยครับ ว่า แต่ อย่างคำว่า โดราเอมอน ต้องเปลี่ยนชื่อกระทู้เป็น โดะระเอะมง ไหมครับ ช่วยพิจารณาด้วย ---Dr.Akarat


ไม่จำเป็นครับเพราะว่า "เป็นชื่อไทยที่เหมาะสมและใช้กันมานานแล้ว" แล้วอีกอย่างก็คือในเนื้อหาก็มีคำอ่านภาษาญี่ปุ่นกำกับอยู่แล้วด้วย--Bond the magic dragon lived by the sea and frolicked in the autumn mist in a land called Honah Lee => คุยคุ้ยเขี่ย 15:05, 12 มีนาคม 2007 (UTC)


ชื่อการ์ตูนญี่ปุ่น ให้อ้างอิงตามการ์ตูนฉบับลิขสิทธิ์ภาษาไทยค่ะ ไม่เหมือนกับพวกชื่อจังหวัดหรืออื่นๆ ถ้าไม่มีลิขสิทธิ์ถึงจะค่อยว่ากันอีกที --Piggy 15:43, 12 มีนาคม 2007 (UTC)
ผมก็ไม่อยากให้เปลี่ยนเช่นเดียวกันกับ ฮอกไกโด คำคำนี้ผมได้ยินครั้งแรกก็จากเรื่องโดราเอมอน จริงๆแล้วคนไทยเรียนว่า โดเรมอน เฉยๆด้วยซ้ำไป ตอนที่ ไจแอนท์ ไปเยี่ยมบ้านที่ต่างจังหวัด ก็ ฮอกไกโด (แล้วน้าต๋อยใช้สำเนียงสุพรรณพากย์ ทั้งๆที่ชาวฮอกไกโด พูดสำเนียงเดียวกับชาวโตเกียว) จะเห็นได้ว่า พอเป็นลักษณะจะมีข้อยกเว้นขึ้นมาทันที เราคงไม่สามารถเอาชื่อจังหวัดไปจดลิขสิทธิ์ได้ หรือจะกลายเป็น Double Standard Dr.Akarat
ตอบคุึณ Dr. Akarat ครับ ไม่ใช่ Double Standard ครับ ซึ่งชื่อที่มีลิขสิทธิ์นั้น จะตามชื่อไทยที่ได้กำหนดครับ รวมถึงชื่อหนังเป็นต้น แม้ว่าไม่ตรงหลักการทับศัพท์ แต่เพราะว่า ผู้ที่มีลิขสิทธิ์ในไทยได้กำหนดชื่อดังกล่าว ก็จะใช้เป็นชื่อบทความครับ รวมถึงชื่อตัวละครด้วยครับ เพราะว่าต้องตามหนังสือ เช่น Harry Potter หากตัวละครที่เขาทับศัพท์มาอย่างไร ก็ต้องตามเขาครับ แต่สำหรับชื่อประเทศ หรือชื่อที่ไม่ได้มีลิขสิทธิ์นั้น ไม่เหมือนกันครับ --Jutiphan | พูดคุย - 20:07, 12 มีนาคม 2007 (UTC)
ตอนนี้ผมลองสรุปตามหลักที่กล่าวกันมาแล้วนะครับ เขียนไว้ในหน้าหลักของส่วนนี้ ฝากท่านอื่นช่วยตรวจสอบและเขียนเพิ่มเติมหรือาจจะยกตัวอย่างด้วยก็ได้ครับ อีกเรื่องนึง ออกตัวก่อนนะครับไม่ได้อะไรนะครับ แต่คำว่า karaoke (カラオケ) ผมว่า คำนิยม = คาราโอเกะ, เสียงอ่านก็ = คาราโอเกะ เว้นแต่ว่าจะอ่านทีละพยางค์ ทำให้ถอดศัพท์ได้เป็น คะระโอเคะ (ถ้าอ่านทีละพยางค์ คำสุดท้ายคงเป็น เคะ/เขะ แทนที่ เกะ) --Manop | พูดคุย - 23:49, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

ถ้าเป็นทับศัพท์ภาษาอาหรับเอาภาษาอาหรับมาตรฐานมาใช้ดีที่สุด

ถ้าเป็นทับศัพท์ภาษาอาหรับเอาภาษาอาหรับมาตรฐานมาใช้ดีที่สุด อย่าเอาภาษาอังกฤษเป็นฐานในการเขียนคำทับศัพท์ แต่ปัญหาก็คือสื่อไทยก็ยืม-ซื้อ ข่าวสารจากภาษาอังกฤษ อังกฤษสะกดผิด(นิดหน่อย) แล้วอ่านแบบอังกฤษ(ผิดมากขึ้น) แล้วไทยไปเดาอ่าน(ผิดกันใหญ่)

ยกตัวอย่างเช่น คำดัง ๆ ในปัจจุบัน الجماعة الاسلامية อ่านว่า อัลญะมาอะหฺ อัลอิสลามียะหฺ ฝรั่งเรียกว่า al-jemaah al-Islamiya ย่อเป็น JI (เจไอ) พอไทยอ่านกลายไป เจมาห์ อิสลาเมีย ไปโน่นเลย

บทความที่ผมเขียนตอนนี้จะยึดเอาภาษาอาหรับมาตรฐานเป็นหลัก นอกจากคำที่เป็นรู้จักกันแล้ว เช่น ฮุเซน ไม่ต้องถึงกับทับศัพท์ว่า อัลฮุสัยนฺ เพราะแม้ในภาษาอาหรับเดิม ก็ยังนิยมออกเสียงเป็น ฮุเซน

งานเขียนฝรั่งตอนนี้ ก็ใช้กฏการทับศัพท์ที่เกือบจะเหมือน ๆ กัน คือเอาจาก จะยึดเอาภาษาอาหรับมาตรฐานเป็นหลัก --Danieliness 07:37, 10 มีนาคม 2007 (UTC)


เห็นด้วยครับ และควรทับศัพท์หลายๆ คำให้ได้รู้จักแพร่หลาย : ธวัชชัย 15:02, 10 มีนาคม 2007 (UTC)

วาระเพิ่มเติม: เกี่ยวกับการตั้งชื่อหลักของบทความภาพยนตร์ต่างประเทศ

พอพูดถึงเรื่องคำทับศัพท์แล้ว ผมยังติดใจอยู่เรื่องหนึ่งครับ คือ เรื่องของชื่อบทความที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ต่างประเทศ ผมมีคำถามว่า การจะตั้งชื่อหลักให้กับบทความประเภทนี้ เราควรจะตั้งตามเกณฑ์ใดดี ระหว่างทับศัพท์ชื่อเรื่องตามภาษาจริง ๆ หรือว่าจะตั้งตามชื่อที่ถูกนำมาตั้งใหม่ให้เป็นภาษาไทยแล้ว ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park (ภาคแรก) ในวิกิพีเดียตอนนี้ ผู้สร้างบทความใช้ชื่อบทความนี้ว่า จูราสสิค พาร์ค อยู่ ซึ่งตรงกับเกณฑ์แรกคือทับศัพท์ตามภาษาจริง แต่ถ้าเป็นอีกแบบหนึ่งคือยึดตามชื่อที่ตั้งเป็นภาษาไทยแล้วก็จะเป็น กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ แทน

เหตุที่ทำให้ผมสงสัยในเรื่องนี้อยู่เป็นเพราะว่า ในขณะนี้มีบทความที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ต่างประเทศหลายบทความ และแต่ละบทความก็ใช้เกณฑ์ในการตั้งชื่อหลักแตกต่างกันออกไป บางบทความใช้ทับศัพท์ บางบทความใช้ชื่อตั้งภาษาไทย และยังมีอีกหลายบทความที่ใช้อักษรภาษาอังกฤษมาตั้งชื่อตามชื่อจริงของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เลย จึงอยากจะถามความเห็นจากทุกท่านว่า เราควรจะใช้เกณฑ์ใดมาใช้เป็นหลักการในการตั้งชื่อหลักของบทความภาพยนตร์ต่างประเทศมากกว่ากัน -- Glass mask (พูดคุย) 11:39, 12 มีนาคม 2007 (UTC)

ความเห็นส่วนตัวผมแล้ว ถ้าชื่อทางการที่มีนำมาทำใหม่เป็นภาษาไทยใช้ชื่อไทยครับ แล้วก็เขียนวงเล็บในบทความในชื่อภาษาเดิม จะได้ครอบคลุมถึงหนังจีน หนังญี่ปุ่น หนังเกาหลี ส่วนที่ยังไม่ได้นำมาทำเป็นภาษาไทยก็ใช้ไม่ทับศัพท์ก็ใช้ภาษาเดิมเป็นภาษาอังกฤษครับ (ถ้าภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ใช้ตัวสะกดเดิมคงยากนิดนึง) --Manop | พูดคุย - 06:18, 12 มีนาคม 2007 (UTC)