คาโงชิมะ (เมือง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คะโงะชิมะ (เมือง))
คาโงชิมะ

鹿児島
鹿児島市 · นครคาโงชิมะ
เมืองคาโงชิมะโดยมีภูเขาไฟซากูราจิมะอยู่เบื้องหลัง
เมืองคาโงชิมะโดยมีภูเขาไฟซากูราจิมะอยู่เบื้องหลัง
ธงของคาโงชิมะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของคาโงชิมะ
ตรา
ตำแหน่งของเมืองคาโงชิมะในจังหวัดคาโงชิมะ
ตำแหน่งของเมืองคาโงชิมะในจังหวัดคาโงชิมะ
คาโงชิมะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
คาโงชิมะ
คาโงชิมะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 31°36′N 130°33′E / 31.600°N 130.550°E / 31.600; 130.550พิกัดภูมิศาสตร์: 31°36′N 130°33′E / 31.600°N 130.550°E / 31.600; 130.550
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคีวชู
จังหวัดคาโงชิมะ
บันทึกทางการแรกค.ศ. 1053
ก่อตั้งเมือง1 เมษายน พ.ศ. 2432
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีชิโมสึรุ ทากาโอะ (下鶴 隆央)
พื้นที่
 • ทั้งหมด547.58 ตร.กม. (211.42 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
 • ทั้งหมด593,808 คน
 • ความหนาแน่น1,084 คน/ตร.กม. (2,810 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสพื้นที่99
- ต้นไม้การบูร (クスノキ, Kusunoki)
- ดอกไม้ยี่โถ (夾竹桃, Kyōchikutō)
โทรศัพท์099-224-1111
ที่ตั้ง
(ศาลาว่าการ)
11-1 เมืองยามาชิตะ, นครคาโงชิมะ, จังหวัดคาโงชิมะ
〒892-8677
เว็บไซต์ศาลาว่าการเมืองคาโงชิมะ
คาโงชิมะ
"คาโงชิมะ" ในอักษรคันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ鹿児島
ฮิรางานะかごしま
คาตากานะカゴシマ
การถอดเสียง
โรมาจิKagoshima

คาโงชิมะ (ญี่ปุ่น: 鹿児島市โรมาจิKagoshima-shi ออกเสียง: [kaŋoɕima], ภาษาถิ่น ซัตสึงู: かごっま, Kagomma ) เป็นนครศูนย์กลางและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดคาโงชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคีวชู คาโงชิมะได้รับการขนานนามว่าเป็น "เนเปิลส์แห่งตะวันออก" ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของอ่าวที่มีส่วนคล้ายกัน อากาศที่ร้อน และมีภูเขาไฟซากูราจิมะตั้งอยู่ใกล้เมือง เมืองนี้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 คาโงชิมะมีประชากรประมาณ 605,855 คน มีความหนาแน่น 1,107.49 คน ต่อตารางกิโลเมตร จากจำนวนพื้นที่ 546.71 ตารางกิโลเมตร

เมืองคาโงชิมะใช้เวลาเดินทางจากท่าอากาศยานคาโงชิมะ ประมาณ 40 นาที จุดเด่นของเมืองคือย่านการค้าขนาดใหญ่ การเดินทางโดยรถราง และภัตตาคารจำนวนมาก อาหารพื้นเมืองที่สำคัญเช่น คิบิ (ปลาขนาดเล็กชนิดหนึ่ง) ทงกัตสึ และปลาไหลรมควัน นอกจากนี้ยังมีสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ทันสมัย

ประวัติ[แก้]

จังหวัดคาโงชิมะ (หรือเคยรู้จักกันว่าแคว้นศักดินาซัตสึมะ) เป็นศูนย์กลางของดินแดนของตระกูลชิมาซุ มาหลายศตวรรษ เป็นเมืองท่าศูนย์กลางทางการเมืองและการค้าที่พลุกพล่านตลอดช่วงยุคกลางและในสมัยเอโดะ (1603–1868) เมื่อเมืองนี้กลายเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของระบบศักดินาของตระกูลชิมาซุซึ่งก็คือซัตสึมะ ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการคือการดัดแปลงตราประจำตระกูล (คามง, 家紋) ของชิมาซุที่ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับตัวอักษร (ชิ, 市) ซึ่งแปลว่าเมือง ซัตสึมะยังคงเป็นหนึ่งในแคว้นศักดินาที่ทรงพลังและมั่งคั่งที่สุดในประเทศตลอดช่วงยุค และแม้ว่าการค้าระหว่างประเทศจะถูกห้ามในช่วงเวลาดังกล่าว แต่เมืองก็ยังคงคึกคักและเจริญรุ่งเรือง ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการเมืองของซัตสึมะเท่านั้นแต่ยังรวมถึงรัฐบรรณาการกึ่งอิสระรีวกีวด้วย พ่อค้าและทูตชาวรีวกีวเดินทางเข้ามาในเมืองเป็นประจำและมีการจัดตั้งอาคารสถานทูตพิเศษของรีวกีว เพื่อจัดการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลทั้งสองและดูแลผู้มาเยือนและทูต คาโงชิมะยังเป็นศูนย์กลางสำคัญของกิจกรรมของชาวคริสต์ในญี่ปุ่นก่อนที่จะมีการห้ามและประกาศโทษในการนับถือศาสนาคริสต์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17

คาโงชิมะถูกกองทัพราชนาวีอังกฤษโจมตี ในปี พ.ศ. 2406 เพื่อลงโทษไดเมียวแห่งซัตสึมะจากเหตุการณ์ฆาตกรรมชาลส์ เลนน็อกซ์ ริชาร์ดสัน (Charles Lennox Richardson) บนเส้นทางถนนโตไกโด (東海道, Tōkaidō ) เมื่อปีก่อนหน้านั้นและปฏิเสธที่จะจ่ายค่าชดเชย

คาโงชิมะยังเป็นสถานที่เกิดและที่มั่นแหล่งสุดท้ายของไซโง ทากาโมริ (西郷 隆盛, Saigō Takamori ) หนึ่งในแกนนำสำคัญที่ทำการโค่นล้มระบอบการปกครองของรัฐบาลโชกุนตระกูลโทกูงาวะ ซึ่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2420 ในช่วงท้ายของเหตุการณ์กบฏซัตสึมะ

มีการกล่าวกันว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นเริ่มต้นที่เมืองนี้ โดยได้รับการกระตุ้นจากเหตุการณ์ที่เรียกว่า สถานีรถไฟของนักเรียนวัยรุ่น ชายหนุ่มสิบเจ็ดคนจากซัตสึมะทำลายคำสั่งห้ามของโชกุนโทกูงาวะในการเดินทางไปต่างประเทศ โดยเริ่มเดินทางไปยังอังกฤษและไปยังสหรัฐ ก่อนที่จะกลับมาแบ่งปันความรู้ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ดีกว่าของตะวันตก[1] รูปปั้นได้ถูกสร้างขึ้นนอกสถานีรถไฟเพื่อเป็นการระลึกถึงพวกเขา

คาโงชิมะยังเป็นสถานที่เกิดของ โทโง เฮฮาจิโร (東郷 平八郎, Tōgō Heihachirō ) หลังจากเข้าศึกษาในราชนาวีอังกฤษระหว่างปี พ.ศ. 2414 ถึง พ.ศ. 2421 บทบาทของโทโงในฐานะพลเรือเอกผู้บัญชาการของกองเรือใหญ่แห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ทำให้เขากลายเป็นตำนานในประวัติศาสตร์การทหารของญี่ปุ่นและเขาได้รับสมญานามในสหราชอาณาจักรว่า 'เนลสันแห่งตะวันออก' เขานำกองเรือใหญ่ไปสู่ชัยชนะที่น่าประหลาดใจสองครั้งในปี พ.ศ. 2447 และ 2448 ทำลายกองเรือรัสเซียซึ่งมีสถานะเป็นมหาอำนาจทางเรือทางตะวันออกลงอย่างสิ้นเชิง และด้วยเหตุนี้จึงมีส่วนทำให้การปฏิวัติในรัสเซียในปี พ.ศ. 2448 ล้มเหลว

นักการทูต ซาโดมิตซุ ซาโงกุจิ (迫口 貞光, Sadomitsu Sakoguchi ) ได้ปฏิวัติแผนทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมของคาโงชิมะ ด้วยงานค้นคว้าของเขาเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำและการเก็บผลผลิตส้ม

การปะทุของภูเขาไฟซากูราจิมะในปี พ.ศ. 2457 ทำให้เถ้าถ่านกระจายข้ามอ่าวตกลงไปทั่วเขตเมือง[2]

ชื่อ "คาโงชิมะ" (鹿児島) แปลว่า "เกาะกวางเด็ก" ชื่อในภาษาถิ่นคาโงชิมะของเมือง ได้แก่ “ かごっま (Kagomma),“ かごんま (Kagonma)”,“ かごいま (Kagoima)” และ“ かごひま (Kagohima)”[3]

สงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

ในคืนวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2488 กองบินโจมตีที่ 314 ของกองทัพอากาศสหรัฐ (เครื่องรุ่น บี-29 120 ลำ) ได้ทิ้งระเบิดเพลิง และระเบิดลูกปราย 809.6 ตัน ทำลายพื้นที่ 2.11 ตารางไมล์ (5.46 ตร.กม.) (44.1% ของพื้นที่เมือง) คาโงชิมะตกเป็นเป้าหมายเนื่องจากการขยายท่าเรือขนาดใหญ่ของกองทัพและตำแหน่งของเมืองที่เป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟ มีเครื่องบิน B-29 เพียงลำเดียวที่สูญหายโดยไม่ทราบสาเหตุ การทิ้งระเบิดปูพรมถูกเลือกมากกว่าการทิ้งระเบิดที่กำหนดเป้าหมายแม่นยำเนื่องจากสภาพอากาศที่มีเมฆมากในญี่ปุ่นในช่วงกลางเดือนมิถุนายน เครื่องบินถูกบังคับให้ทำการบินและทิ้งระเบิดโดยเรดาร์[4]

หน่วยข่าวกรองของญี่ปุ่นคาดการณ์ว่ากองกำลังพันธมิตรจะโจมตีคาโงชิมะและบริเวณอ่าวอาริอาเกะทางตอนใต้ของเกาะคีวชูเพื่อทำลายฐานทัพเรือและสนามบินเพื่อเป้าหมายในการเข้าโจมตีมหานครโตเกียว

ภูมิอากาศ[แก้]

คาโงชิมะมีสภาพอากาศชื้นกึ่งเขตร้อน (ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น, Cfa ตามระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน) มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีและอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวสูงที่สุดในเกาะหลักของญี่ปุ่น ได้รับการบันทึกถึงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวที่ไม่รุนแรงและค่อนข้างแห้ง ฤดูใบไม้ผลิที่อบอุ่นชื้น ฤดูร้อนที่ร้อนชื้น มีฝนตกชุกในช่วงเดือน มกราคม–กรกฎาคม

ข้อมูลภูมิอากาศของคาโงชิมะ (ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 23.9
(75)
24.1
(75.4)
27.6
(81.7)
30.2
(86.4)
31.6
(88.9)
34.5
(94.1)
36.6
(97.9)
37.0
(98.6)
35.7
(96.3)
32.4
(90.3)
29.5
(85.1)
24.7
(76.5)
37.0
(98.6)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 12.8
(55)
14.3
(57.7)
17.0
(62.6)
21.6
(70.9)
25.2
(77.4)
27.6
(81.7)
31.9
(89.4)
32.5
(90.5)
30.1
(86.2)
25.4
(77.7)
20.3
(68.5)
15.3
(59.5)
22.8
(73)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 8.5
(47.3)
9.8
(49.6)
12.5
(54.5)
16.9
(62.4)
20.8
(69.4)
24.0
(75.2)
28.1
(82.6)
28.5
(83.3)
26.1
(79)
21.2
(70.2)
15.9
(60.6)
10.6
(51.1)
18.6
(65.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 4.6
(40.3)
5.7
(42.3)
8.4
(47.1)
12.7
(54.9)
17.1
(62.8)
21.0
(69.8)
25.3
(77.5)
25.6
(78.1)
22.8
(73)
17.5
(63.5)
11.9
(53.4)
6.7
(44.1)
14.9
(58.8)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -5.7
(21.7)
-6.7
(19.9)
-3.9
(25)
-1.0
(30.2)
3.9
(39)
9.0
(48.2)
15.9
(60.6)
16.5
(61.7)
9.3
(48.7)
2.6
(36.7)
-1.5
(29.3)
-5.5
(22.1)
−6.7
(19.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 77.5
(3.051)
112.1
(4.413)
179.7
(7.075)
204.6
(8.055)
221.2
(8.709)
452.3
(17.807)
318.9
(12.555)
223.0
(8.78)
210.8
(8.299)
101.9
(4.012)
92.4
(3.638)
71.3
(2.807)
2,265.7
(89.201)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 3
(1.2)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
1
(0.4)
4
(1.6)
ความชื้นร้อยละ 65 66 69 71 71 78 76 76 73 70 69 69 71
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 8.9 8.8 12.9 10.4 10.0 14.6 11.2 10.5 10.2 7.2 7.3 7.7 119.8
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 2.3 1.8 0.5 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.8 5.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 136.9 129.1 145.7 160.5 171.0 122.4 191.1 206.7 168.8 183.4 152.0 151.3 1,918.9
แหล่งที่มา: [5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Blacker, Carmen; Cortazzi, Hugh (1 September 1999). Collected Writings of Modern Western Scholars on Japan: Carmen Blacker, Hugh Cortazzi and Ben-Ami Shillony. Psychology Press. ISBN 9781873410967 – โดยทาง Google Books.
  2. "Kagoshima", Illustrated London News. 24 January 1914.
  3. "JLect - かごっま・かごんま・かごいま・かごひま【鹿児島】 : kagomma · kagonma · kagoima · kagohima | define meaning". www.jlect.com. สืบค้นเมื่อ 2020-10-14.
  4. Headquarters, XXI Bomber Command APO 234, "Tactical Mission Report Mission No. 206-209." June 18, 1945.
  5. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]