การขนส่งในประเทศเวียดนาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การขนส่งทางน้ำในแม่น้ำไซ่ง่อนซึ่งไหลผ่านนครโฮจิมินห์

การขนส่งในประเทศเวียดนาม มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ

ระบบราง[แก้]

โครงข่ายรถไฟเวียดนาม

โครงข่ายระบบรางของประเทศเวียดนามมีระยะทางรวม 2,600 กิโลเมตร (1,600 ไมล์) ส่วนใหญ่เป็นทางรถไฟสายเหนือ–ใต้ ซึ่งเป็นทางรถไฟรางเดี่ยวระยะทาง 1,726 กิโลเมตร (1,072 ไมล์) มีเส้นทางระหว่างฮานอยและนครโฮจิมินห์ โดยส่วนใหญ่ในโครงข่ายระบบรางแห่งชาติใช้รางขนาด 1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ และมีรางขนาด 1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ และรถไฟรางผสมจำนวนมากในตอนเหนือของประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 โครงข่ายระบบรางของเวียดนามมีสถานีรถไฟจำนวน 278 แห่ง ซึ่งมีมากตามทางรถไฟสายเหนือ–ใต้ โครงข่ายระบบรางของเวียดนามดำเนินการและเป็นเจ้าของโดยองค์กรของรัฐชื่อว่าเวียดนามเรลเวย์ (VNR)[1][2][3]

ระบบถนน[แก้]

ทางหลวง[แก้]

รายชื่อทางหลวง
หมายเลข เส้นทาง
ทางหลวงหมายเลข 1A ประตูชายแดนหืวหงิ-กวาน (หลั่งเซิน) – จังหวัดก่าเมา
ทางหลวงหมายเลข 1B ท้ายเงวียนจังหวัดหลั่งเซิน
ทางหลวงหมายเลข 2 ฮานอยห่าซาง (จุดผ่านแดนทัญถวี)
ทางหลวงหมายเลข 2B หวิญฟุก
ทางหลวงหมายเลข 2C หวิญฟุกจังหวัดเตวียนกวาง
ทางหลวงหมายเลข 3 ฮานอยกาวบั่ง (จุดผ่านแดนต่าหลุ่ง)
ทางหลวงหมายเลข 4 4A (หลั่งเซินกาวบั่ง), 4B (กว๋างนิญหลั่งเซิน), 4C (ห่าซาง), 4D (หล่าวกายลายเจิว), 4E (หล่าวกาย), 4G (เซินลา)
ทางหลวงหมายเลข 5 ฮานอยไฮฟอง
ทางหลวงหมายเลข 6 ฮานอยเดี่ยนเบียน
ทางหลวงหมายเลข 7 เหงะอาน
ทางหลวงหมายเลข 8 ห่าติ๋ญ
ทางหลวงหมายเลข 9 กว๋างจิ
ทางหลวงหมายเลข 10 กว๋างนิญทัญฮว้า
ทางหลวงหมายเลข 12 เดี่ยนเบียนลายเจิว (จุดผ่านแดนมาหลู่ถั่ง)
ทางหลวงหมายเลข 12A กว๋างบิ่ญ
ทางหลวงหมายเลข 12B นิญบิ่ญฮหว่าบิ่ญ
ทางหลวงหมายเลข 13 นครโฮจิมินห์บิ่ญเฟื้อก (จุดผ่านแดนฮวาลือ)
ทางหลวงหมายเลข 14 กว๋างจิบิ่ญเฟื้อก
ทางหลวงหมายเลข 14B ดานังกว๋างนาม
ทางหลวงหมายเลข 14C ซาลายจังหวัดดั๊กนง
ทางหลวงหมายเลข 15 ฮหว่าบิ่ญกว๋างจิ
ทางหลวงหมายเลข 16 กว๋างบิ่ญ
ทางหลวงหมายเลข 18 ฮานอยกว๋างนิญ (จุดผ่านแดนม้องก๊าย)
ทางหลวงหมายเลข 19 บิ่ญดิ่ญซาลาย
ทางหลวงหมายเลข 20 นครโฮจิมินห์เลิมด่ง
ทางหลวงหมายเลข 21 ฮานอยนามดิ่ญ
ทางหลวงหมายเลข 22 นครโฮจิมินห์เต็ยนิญ (จุดผ่านแดนหมกบ่าย)
ทางหลวงหมายเลข 22B เต็ยนิญ
ทางหลวงหมายเลข 23 ฮานอยหวิญฟุก
ทางหลวงหมายเลข 24 กว๋างหงายกอนตูม
ทางหลวงหมายเลข 25 ฟู้เอียนซาลาย
ทางหลวงหมายเลข 26 คั้ญฮหว่าดั๊กลัก
ทางหลวงหมายเลข 27 นิญถ่วนดั๊กลัก
ทางหลวงหมายเลข 28 บิ่ญถ่วนจังหวัดดั๊กนง
ทางหลวงหมายเลข 28B บิ่ญถ่วนเลิมด่ง
ทางหลวงหมายเลข 29 จังหวัดฟู้เอียนจังหวัดดั๊กลัก
ทางหลวงหมายเลข 30 เตี่ยนซางด่งท้าป
ทางหลวงหมายเลข 31 บั๊กซางหลั่งเซิน
ทางหลวงหมายเลข 32 ฮานอยลายเจิว
ทางหลวงหมายเลข 37 ท้ายบิ่ญเซินลา
ทางหลวงหมายเลข 38 บั๊กนิญห่านาม
ทางหลวงหมายเลข 38B หายเซืองนิญบิ่ญ
ทางหลวงหมายเลข 39A จังหวัดฮึงเอียนจังหวัดท้ายบิ่ญ
ทางหลวงหมายเลข 39B ฮึงเอียนจังหวัดท้ายบิ่ญ
ทางหลวงหมายเลข 40 กอนตูม
ทางหลวงหมายเลข 45 นิญบิ่ญทัญฮว้า
ทางหลวงหมายเลข 46 เหงะอาน
ทางหลวงหมายเลข 47 ทัญฮว้า
ทางหลวงหมายเลข 49 เถื่อเทียนเว้
ทางหลวงหมายเลข 50 นครโฮจิมินห์เตี่ยนซาง
ทางหลวงหมายเลข 51 ด่งนายบ่าเสียะ-หวุงเต่า
ทางหลวงหมายเลข 52 นครโฮจิมินห์ด่งนาย
ทางหลวงหมายเลข 53 หวิญล็องจ่าวิญ
ทางหลวงหมายเลข 54 ด่งท้าปจ่าวิญ
ทางหลวงหมายเลข 55 บ่าเสียะ-หวุงเต่าเลิมด่ง
ทางหลวงหมายเลข 57 จังหวัดเบ๊นแจจังหวัดหวิญล็อง
ทางหลวงหมายเลข 60 เตี่ยนซางซ้อกจัง
ทางหลวงหมายเลข 61 อานซางเกียนซาง
ทางหลวงหมายเลข 63 เกียนซางก่าเมา
ทางหลวงหมายเลข 70 ฟู้เถาะหล่าวกาย
ทางหลวงหมายเลข 80 หวิญล็องเกียนซาง
ทางหลวงหมายเลข 91 เกิ่นเทออานซาง
ทางหลวงหมายเลข 91B เกิ่นเทอ
ทางหลวงหมายเลข 91C เกิ่นเทอจังหวัดบักเลียว
ทางหลวงหมายเลข 217 ทัญฮว้า
ทางหลวงหมายเลข 279 กว๋างนิญเดี่ยนเบียน (จุดผ่านแดนเต็ยจาง)
ทางหลวงหมายเลข N1 บิ่ญเฟื้อกเกียนซาง
ทางหลวงโฮจิมินห์ กาวบั่งจังหวัดก่าเมา

ทางด่วน[แก้]

ป้ายเตือนในทางด่วนของประเทศเวียดนาม

ทางด่วนค่อนข้างเป็นแนวคิดใหม่ของประเทศเวียดนาม เพราะการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถนนสายหลักยังมีความอันตรายอันเนื่องมาจากการออกแบบที่ไม่เหมาะสม ทางด่วนจึงเป็นการแก้ปัญหาตามเส้นทางที่สำคัญ โดยการแยกการจราจรทางไกลและใช้ความเร็วสูงออกจากการจราจรในท้องถิ่นและใช้ความเร็วต่ำ

ประเทศเวียดนามมีทางด่วนด้วยกัน 2 ประเภท ทั้งคู่มีจำนวนช่องจราจรอย่างน้อย 2 ช่องในแต่ละทิศทาง แต่ประเภทเอจะมีทางแยกต่างระดับ ขณะที่ของประเภทบีเป็นทางแยกระดับเดียวกัน สามารถใช้ความเร็วได้ตั้งแต่ 60, 80, 100 จนถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยทั่วไปแล้ว รถยนต์ รถโดยสารประจำทาง และรถบรรทุกทุกคัน อนุญาตให้ใช้ทางด่วนได้ ยกเว้นรถจักรยานยนต์ และรถอื่น ๆ ที่มีกำลังเครื่องยนต์น้อยกว่า 70 ซีซี

รายชื่อทางด่วน


ทางอากาศ[แก้]

ท่าอากาศยานที่เปิดให้บริการทั้งหมดจำนวน 37 แห่ง แบ่งเป็น

  • ทางวิ่งยาวมากกว่า 3,047 เมตร: 9 แห่ง
  • ทางวิ่งยาวระหว่าง 2,438 ถึง 3,047 เมตร: 6 แห่ง
  • ทางวิ่งยาวระหว่าง 1,524 ถึง 2,437 เมตร: 13 แห่ง
  • ทางวิ่งยาวระหว่าง 914 ถึง 1,523 เมตร: 9 แห่ง

ท่าเฮลิคอปเตอร์จำนวน 1 แห่ง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Proposed Loan and Administration of Loan from Agence Française de Développement: Yen Vien–Lao Cai Railway Upgrading Project" (PDF). November 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 2010-06-27.
  2. "Infrastructure Maintenance and Construction". Vietnam Railways. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-14. สืบค้นเมื่อ 2010-06-24.
  3. "Hanoi-Ho Chi Minh City Railway Bridge Rehabilitation Project" (PDF). Japan International Cooperation Agency. 2007. สืบค้นเมื่อ 2010-06-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แผนที่[แก้]