กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ
ผู้วางกลศึกอ้องอุ้น
ผู้ต้องกลศึกตั๋งโต๊ะ
ประเภทกลยุทธ์เข้าตี
หลักการตีที่มั่นศัตรูให้แตก หลอกให้หลงกล
สถานที่วังหลวง
ผลลัพธ์ตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ลวงไปฆ่าในวังหลวง

กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ หรือ เตี้ยวหู่หลีซาน (อังกฤษ: Entice the tiger to leave its mountain lair; จีนตัวย่อ: 调虎离山; จีนตัวเต็ม: 調虎離山; พินอิน: Diào hǔ lí shān) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ใช้ภาพลวงที่จงใจสร้างขึ้นเพื่อหลอกล่อให้ศัตรูเกิดความประมาท[1]

การชะล่าใจในการทำศึกสงคราม ละทิ้งแนวฐานการป้องกันของกองทัพซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เป็นโอกาสของการฉกฉวยจังหวะที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอหลงเชื่อในภาพลวงที่สร้างขึ้น นำกำลังบุกเข้าโจมตีหรือทำลายเสียให้สิ้นซากช่วงชิงชัยชนะมาเป็นของตน ดั่งคำกล่าวว่า "อันธรรมดาเสือเมื่ออยู่ในถ้ำย่อมอันตราย จะจับเสือได้ก็ต่อเมื่อล่อให้มาตกในหลุมพรางที่ดักไว้" ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำไปใช้ได้แก่อ้องอุ้นที่ใช้กลยุทธ์สาวงามทำให้ตั๋งโต๊ะผิดใจกับลิโป้และลวงไปฆ่าในวังหลวง[2]

ตัวอย่างกลยุทธ์[แก้]

เมื่อคราวที่ตั๋งโต๊ะเข้ายึดอำนาจในราชสำนักจากพระเจ้าหองจูเปียนและสั่งประหารชีวิต ก่อนแต่งตั้งพระเจ้าหองจูเหียบขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน แต่งตั้งตนเองเป็นมหาอุปราชและมีฐานะเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าหองจูเหียบ ตั๋งโต๊ะถืออำนาจบาตรใหญ่เข่นฆ่าเหล่าขุนนางตงฉินและผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้ายึดอำนาจ สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่วทั้งแผ่นดิน เหล่าขุนนางพากันเคียดแค้นชิงชังตั๋งโต๊ะ โจโฉพยายามลอบสังหารตั๋งโต๊ะแต่ไม่สำเร็จจึงหลบหนีไปจากเมืองหลวงและปลอมแปลงราชโองการนำกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ หมายกำจัดตั๋งโต๊ะให้สิ้นซาก

แต่แผนการของโจโฉกลับล้มเหลว เมื่อกองทัพจากหัวเมืองต่าง ๆ เกิดแตกแยกกันเองทำให้ไม่สามารถกำจัดตั๋งโต๊ะได้สำเร็จ ตั๋งโต๊ะจึงสั่งย้ายเมืองหลวงจากลกเอี๋ยงไปยังเมืองเตียงฮันแทน อ้องอุ้นซึ่งเป็นขุนนางตงฉินทนพฤติกรรมตั๋งโต๊ะไม่ไหวจึงวางกลอุบายกลยุทธ์สาวงามโดยทำทีเป็นยกเตียวเสี้ยนบุตรสาวบุญธรรมให้แก่ตั๋งโต๊ะ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ล่อเสือลงภู, 36 กลยุทธ์ผู้นำ, หวางซวนหมิง ผู้แต่ง, อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงศ์ ผู้แปล, พ.ศ. 2537, ISBN 974-602-172-9
  2. เตี้ยวหู่หลีซาน ล่อเสือออกจากถ้ำ, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 227, ISBN 978-974-690-595-4