กลยุทธ์คบไกลตีใกล้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลยุทธ์คบไกลตีใกล้ หรือ เหวี่ยนเจียวจิ้นกง (อังกฤษ: Befriend a distant state while attacking a neighbour; จีนตัวย่อ: 远交近攻; จีนตัวเต็ม: 遠交近攻; พินอิน: Yuǎn jiāo jìn gōng) เป็นกลยุทธ์ที่มีความหมายถึงเมื่อถูกจำกัดโดยสภาพภูมิศาสตร์ ควรจักตีเอาศัตรูที่อยู่ในบริเวณใกล้ตัวจึงจะเป็นประโยชน์ การบุกโจมตีศัตรูที่อยู่ห่างไกลออกไป จักกลายเป็นผลร้ายแก่กองทัพ คัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก" หมายความถึงในการหยิบยื่นไมตรีเพื่อผูกมิตรสัมพันธ์นั้น แม้นความคิดเห็นแต่ละฝ่ายอาจไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะยุติความขัดแย้ง และสามารถที่จะจับมือร่วมกันทำศึกสงครามได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูแม้ใกล้ไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับแคว้นไกลเพื่อเอาชัยชนะต่อแคว้นใกล้อย่างหนึ่ง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์คบใกล้ตีไกลไปใช้ได้แก่ขงเบ้งแนะอุบายให้เล่าปี่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือกังตั๋งของซุนกวนให้รอดพ้นจากเงื้อมมือการบุกโจมตีของโจโฉ[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เหวี่ยนเจียวจิ้นกง กลยุทธ์คบไกลตีใกล้, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 235, ISBN 978-974-690-595-4