พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง8 เมษายน พ.ศ. 2430 - 14 เมษายน 2433
ประสูติ25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2389
สิ้นพระชนม์13 กันยายน พ.ศ. 2455 (66 ปี)
หม่อมหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต)
พระบุตร24 คน
ราชสกุลสนิทวงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
พระมารดาหม่อมแย้ม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ณ บางช้าง)[1]
รับใช้กองทัพเรือสยาม
ชั้นยศ พลเรือโท

นายพลเรือโท[2] พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2389 - 13 กันยายน พ.ศ. 2455) [3] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าสาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เมื่อ พ.ศ. 2415 พระองค์เป็นพระปัยกา (ทวด) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

พระประวัติ[แก้]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ทรงกำกับกรมหมอหลวงแลกรมแสง และทรงเป็นแพทย์ประจำพระองค์ [4] บังคับการเรือกลไฟ แลบังคับการทหารปืนแคตตริงกัน และได้เป็นผู้จัดการทำป้อมปากน้ำและจัดการทหารปืนปากน้ำ รวมถึงจัดการทหารในหัวเมืองตะวันออก นอกจากนี้ยังทรงเป็นเจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ รักษาการแทนผู้บัญชาการทหารเรือคนแรก ระหว่าง พ.ศ. 2430-2433 [5] ทรงเป็นผู้ได้รับสัมปทานขุดคลองทางตอนเหนือของพระนคร ในเขตท้องทุ่งหลวงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จากตำบลบ้านใหม่ วัดเทียนถวาย ปทุมธานี ไปถึงนครนายก [6] ในนามบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม [7] ระหว่าง พ.ศ. 2433-2447 ได้รับพระราชทานชื่อว่า "คลองรังสิตประยูรศักดิ์" ตามพระนามของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระนัดดา (หลานตา) ของพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "คลองเจ้าสาย"

บุตร-ธิดา[แก้]

พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เสกสมรสกับหม่อมเขียน (ศศิสมิต) [8] มีบุตร-ธิดา 8 คน ได้แก่ [9]

พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ยังมีบุตร-ธิดา ที่เกิดจากภรรยาอื่น ได้แก่

หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2455 ทายาทได้บริจาคตำหนักส่วนพระองค์ และที่ดินข้างเคียง ก่อตั้งเป็นโรงเรียนสำหรับสตรี ชื่อว่า โรงเรียนสายปัญญา

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • หม่อมเจ้าสาย (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2388 – พ.ศ. 2415)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (พ.ศ. 2426 – 13 กันยายน พ.ศ. 2455)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

พงศาวลี[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. คนละท่านกับ หม่อมหลวงบัว สนิทวงศ์ ดู บัว สนิทวงศ์ (แก้ความกำกวม)

อ้างอิง[แก้]

  1. สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ น.อ.. "สาแหรกครอบครัว (Family Tree) ลำดับพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์เฉพาะสายที่สืบราชสมบัติ". พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:อมรินทร์การพิมพ์. 2528
  2. พระราชทานสัญญาบัตรฝ่ายทหาร
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  4. ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  5. ทำเนียบผู้บัญชาการกองทัพเรือ
  6. "ประวัติตำบลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  7. "คลองรังสิตประยุรศักดิ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  8. อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
  9. "ราชสกุลสนิทวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-24. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.
  10. หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์เป็นบิดาของ หม่อมหลวงสร้อยระย้า สนิทวงศ์ (ยุคล)
  11. เจ้าสาย เก็บถาวร 2010-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2472 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2545
  12. https://www.the101.world/saisawasdee-interview/
  13. ประวัติโรงเรียนสายปัญญา
  14. องค์ บรรจุน. หญิงมอญ, อำนาจ และราชสำนัก. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, มติชน, 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-02-0059-8
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวราชการ, เล่ม ๑, ตอน ๖, ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๔๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวราชการ, เล่ม ๑, ตอน ๗, ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๗, หน้า ๕๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๖, ตอน ๐ ง, ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๒, หน้า ๒๖๒๘
  18. 18.0 18.1 18.2 "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 6 (ตอน 45): หน้า 390. 9 กุมภาพันธ์ 2433. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 7 (ตอน 2): หน้า 21. 13 เมษายน 2433. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
ก่อนหน้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ถัดไป
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
(ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า)
เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
(ผู้บัญชาการทหารเรือวังหลวง)
เจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
(8 เมษายน พ.ศ. 2430 - 14 เมษายน พ.ศ. 2433)
นายพลเรือโท พระวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นปราบปรปักษ์