ไฮม์แวร์
ควบรวมกับ | แนวร่วมปิตุภูมิ[1] |
---|---|
ก่อตั้ง | พฤษภาคม ค.ศ. 1920 |
ผู้ก่อตั้ง | ริชาร์ด ชไตด์เลอ |
ล่มสลาย | ตุลาคม ค.ศ. 1936 |
ประเภท | กองกำลังกึ่งทหาร |
ถิ่นดั้งเดิม | ผลที่ตามมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง |
พื้นที่ให้บริการ | สาธารณรัฐออสเตรียที่ 1 |
สมาชิก | 400,000 คนโดยประมาณ (ค.ศ. 1929)[3] |
บุคลากรหลัก | วัลเทอร์ ฟรีเมอร์ วัลเดมาร์ พับสท์ |
กลุ่มผู้พิทักษ์บ้านเกิด Heimatblock | |
---|---|
ก่อตั้ง | พฤษภาคม ค.ศ. 1930 |
ถูกยุบ | 27 กันยายน ค.ศ. 1933 |
อุดมการณ์ | ชาตินิยมออสเตรีย การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ รัฐบรรษัทนิยม[4][5] |
จุดยืน | ฝ่ายขวาถึงขวาจัด |
สภาแห่งชาติ (ค.ศ. 1930) | 8 / 165 (5%) |
การเมืองออสเตรีย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ไฮม์แวร์ (เยอรมัน: Heimwehr; แปลว่า ผู้พิทักษ์บ้านเกิด) หรือ ไฮมัทชุทซ์ (เยอรมัน: Heimatschutz; แปลว่า ผู้ปกป้องบ้านเกิดเมืองนอน)[6] เป็นองค์กรกึ่งทหารฝักใฝ่ชาตินิยมที่ดำเนินการอยู่ในประเทศออสเตรียในระหว่าง ค.ศ. 1918-1919 ถึง ค.ศ. 1936[7] ซึ่งการเคลื่อนไหว อุดมการณ์ และโครงสร้างขององค์กรมีลักษณะคล้ายคลึงกับไฟรคอร์ของเยอรมนี อีกทั้งองค์กรยังยกย่องระบอบเผด็จการของประเทศข้างเคียงอย่างอิตาลีและฮังการีด้วย[8] ด้วยอุดมการณ์ที่เป็นปฏิกิริยา เป้าหมายหลักขององค์กรจึงเป็นการจัดตั้งระบอบเผด็จการแทนที่ระบบการเมืองแบบสาธารณรัฐ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมได้[9] ขบวนการฟาสซิสต์ล้มเหลวในความพยายามที่จะยึดอํานาจในออสเตรีย และไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษาแรงสนับสนุนของประชาชนอย่างยั่งยืนในวงกว้าง อย่างไรก็ดี องค์กรยังคงได้รับการสนับสนุนจากอิตาลีและฮังการีสำหรับการขจัดอำนาจทางการเมืองของกลุ่มสังคมนิยมและยุติระบบรัฐสภาประชาธิปไตย[7]
เดิมทีแล้ว องค์กรเป็นเพียงกลุ่มติดอาวุธที่ต้องการปกป้องพรมแดนของสาธารณรัฐออสเตรียที่ 1 และดูแลทรัพย์สินของชาติภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป องค์กรได้รับการสนับสนุนนายธนาคารอุตสาหกรรมและได้รับเงินทุนกับอาวุธจากเยอรมนี ฮังการี และอิตาลี[10] แม้การโฆษณาชวนเชื่อของไฮม์แวร์จะมีลักษณะแบบปฏิกิริยา แต่ผู้นำหลักขององค์กรไม่ได้มาจากชนชั้นอภิสิทธิ์ของอดีตจักรวรรดิ โดยพวกเขาเป็นกลุ่มชนชั้นกลางและนายทหารบก[11] สำหรับอุดมการณ์เชิงรัฐบรรษัทนิยมแท้จริงเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อปกปิดเป้าหมายหลักขององค์กรเท่านั้น ซึ่งก็คือการยึดอำนาจทางการเมืองของประเทศ[12] จุดอ่อนสำคัญขององค์กรเกิดจากหลายปัจจัย อันประกอบด้วยการไร้แรงผลักดันในลัทธิชาตินิยมออสเตรีย การพึ่งพาต่างชาติมากเกินไป ความเป็นไปไม่ได้ในการฟื้นฟูความรุ่งโรจน์แบบสมัยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี การได้รับการสนับสนุนอย่างจำกัดจากคริสตจักรคาทอลิกที่มีอำนาจ และการขาดผู้นำที่เข็มแข็งเมื่อเปรียบเทียบกับขบวนการอื่น ๆ ในเวลาเดียวกันอย่างฮิตเลอร์และมุสโสลินี[13] ภายในองค์กรก็เกิดการแข่งขันกันระหว่างผู้นำระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค[13] นอกจากนี้ การดำเนินกิจการต่าง ๆ ขององค์กรนั้นขึ้นอยู่กับการสนับสนุนทางการเงินจากต่างประเทศอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นจำนวนมากกว่าที่ได้รับจากผู้สนับสนุนในออสเตรียอีกด้วย[14]
ในช่วงปลายทศวรรษ 1920 ไฮม์แวร์มีจำนวนสมาชิกอยู่ในจุดสูงสุด (400,000 คนโดยประมาณ) โดยในช่วงห้าปีสุดท้ายของการดำรงอยู่ องค์สามารถเข้าถึงอำนาจทางการเมืองสูงสุดของประเทศผ่านการเป็นพันธมิตรกับนายกรัฐมนตรีเอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส และความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้นำอิตาลีเบนิโต มุสโสลินี[15] ประวัติขององค์กรถูกแบ่งออกเป็นหลายช่วงเวลาด้วยกัน โดยในช่วงแรกเริ่มในระหว่าง ค.ศ. 1918–1921 องค์กรเป็นเพียงกองกำลังฝ่ายขวาที่ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกและมีการติดต่อกับองค์กรที่คล้ายคลึงกันในเยอรมนีและฮังการี ต่อมาระหว่าง ค.ศ. 1921–1927 เป็นสมัยแห่งความเสื่อมโทรม แต่สามารถกลับสู่สมัยฟื้นคืนประสิทธิภาพอีกครั้งในช่วง ค.ศ. 1927–1929 หลังจากนั้นองค์กรต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งใหม่ในช่วง ค.ศ. 1929–1930 เนื่องจากสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้สนับสนุนทั้งในและต่างประเทศ และในช่วงห้าปีสุดท้ายที่อยู่ในอำนาจรัฐบาลก่อนการยุบองค์กรใน ค.ศ. 1936[16]
องค์กรมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองออสเตรีย ซึ่งได้ยกเลิกทางการเมืองของฝ่ายค้านสังคมนิยมและปูทางสำหรับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเผด็จการฉบับใหม่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1934[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bundesgesetz über die „Vaterländische Front". In: BGBl 1936/160. Wien 20. Mai 1936 (Online auf ALEX).
- ↑ "Kako se je Rudolf Maister boril za severno mejo". Prvi interaktivni multimedijski portal, MMC RTV Slovenija. สืบค้นเมื่อ 21 April 2016.
- ↑ Edmondson 1978, p. 70.
- ↑
Badie, Bertrand; Berg-Schlosser, Dirk; Morlino, Leonardo, บ.ก. (7 September 2011). International Encyclopedia of Political Science. SAGE Publications (ตีพิมพ์ 2011). ISBN 9781483305394. สืบค้นเมื่อ 9 September 2020.
[...] fascist Italy [...] developed a state structure known as the corporate state with the ruling party acting as a mediator between 'corporations' making up the body of the nation. Similar designs were quite popular elsewhere in the 1930s. The most prominent examples were Estado Novo in Portugal (1932-1968) and Brazil (1937-1945), the Austrian Standestaat (1933-1938), and authoritarian experiments in Estonia, Romania, and some other countries of East and East-Central Europe.
- ↑ R.J.B. Bosworth, The Oxford Handbook of Fascism, Oxford University Press, 2009, p. 439
- ↑ Jelavich, Barbara (1987). Modern Austria : Empire & Republic 1815-1986. Cambridge: Cambridge University Press. p. 182. ISBN 0-521-31625-1.
- ↑ 7.0 7.1 Edmondson 1978, p. 2.
- ↑ Macartney 1929, p. 631.
- ↑ Macartney 1929, pp. 631–632.
- ↑ Biles 1979, p. 4.
- ↑ Edmondson 1978, p. 5.
- ↑ Edmondson 1978, p. 6.
- ↑ 13.0 13.1 Edmondson 1978, p. 7.
- ↑ Kondert 1972, p. iv.
- ↑ 15.0 15.1 Kondert 1972, p. ii.
- ↑ Kondert 1972, p. iii.
บรรณานุกรม
[แก้]- Biles, Gloria C. (1979). Johann Schober's solutions for Austria's domestic problems, (September 26, 1929-September 25, 1930) (pdf) (วิทยานิพนธ์) (ภาษาอังกฤษ). Rice University. OCLC 7881123.
- Carsten, F. L. (1977). Fascist movements in Austria : from Schönerer to Hitler (ภาษาอังกฤษ). Sage Publications. p. 356. ISBN 9780803999923.
- Brook-Shepherd, Gordon (1996). The Austrians: a thousand-year odyssey. HarperCollins. pp. 261. ISBN 0-00-638255-X.
- Gehl, Jurgen (1963). Austria, Germany, and the Anschluss, 1931-1938 (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press.
- Edmondson, Clifton Earl (1972). "Early Heimwehr Aims and Activities". Austrian History Yearbook. 8: 105-147.
- Edmondson, Clifton Earl (1978). The Heimwehr and Austrian politics, 1918-1936 (ภาษาอังกฤษ). University of Georgia Press. p. 5-70. ISBN 9780820304373.
- Gulick, Charles Adams (1948). Austria from Habsburg to Hitler, volume 1 (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. p. 771. OCLC 312153572.
- Jedlicka, Ludwig (1966). "The Austrian Heimwehr". Journal of Contemporary History. 1 (1): 127-144.
- Jelavich, Barbara (1989). Modern Austria: Empire & Republic 1815-1986 (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 182. ISBN 0521316251.
- Kitchen, Martin (1980). The coming of Austrian fascism (ภาษาอังกฤษ). Croom Helm. p. 299. ISBN 9780709901334.
- Kondert, Reinhart (1972). The rise and early history of the Austrian Heimwehr (pdf) (วิทยานิพนธ์) (ภาษาอังกฤษ). Rice University. OCLC 12060937.
- Macartney, C. A. (1929). "The Armed Formations in Austria". Journal of the Royal Institute of International Affairs. 8 (6): 617-632.
- Pauley, Bruce F. (1979). "Fascism and the Führerprinzip: The Austrian Example". Central European History. 12 (3): 272-296.
- Pauley, Bruce F. (1976). "A Case Study in Fascism: The Styrian Heimatschutz and Austrian National Socialism". Austrian History Yearbook. 12 (1): 251-273.
- Rath, R. John (1996). "The Deterioration of Democracy in Austria, 1927–1932". Austrian History Yearbook. 26: 213-259. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2023-10-14.
- Thorpe, Julie (2010). "Austrofascism: Revisiting the 'Authoritarian State' 40 Years On". Journal of Contemporary History. 45 (2): 315-343.
- Wiltschegg, Walter: Die Heimwehr. Eine unwiderstehliche Volksbewegung? (= Studien und Quellen zur österreichischen Zeitgeschichte, Band 7), Verlag für Geschichte und Politik, Wien 1985, ISBN 3-7028-0221-5.
- Zuber, Frederick R. (1975). The watch on the Brenner : a study of Italian involvement in Austrian foreign and domestic affairs : 1928-1938 (pdf) (วิทยานิพนธ์) (ภาษาอังกฤษ). Rice University. OCLC 18458416.