โรคหลอดเลือดสมอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคหลอดเลือดสมอง
(Cerebrovascular disease)
Cerebral angiogram of a carotid-cavernous fistula
สาขาวิชาประสาทวิทยา
อาการอัมพฤกษ์ครึ่งซึก, ชัก[1]
ประเภทโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน, vascular dementia, TIA, subarachnoid haemorrhage[2]
วิธีวินิจฉัยNeurological exam, physical exam[3]
การรักษาBlood thinners, anti-hypertensives[4]

โรคหลอดเลือดสมอง (อังกฤษ: cerebrovascular disease) เป็นคำใช้เรียกกลุ่มของโรคและความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดกับหลอดเลือดในสมอง และระบบหลอดเลือดสมอง[2] อาการของโรคในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (stroke) ทั้งภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic stroke), สมองขาดเลือดชั่วคราว และเลือดออกในสมองเฉียบพลัน (hemorrhagic stroke)[2] ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันคือโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อโครงสร้างของหลอดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งขึ้นมาได้[5] ภาวะหลอดเลือดแข็งจะทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ลดลง ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เช่น การสูบบุหรี่ และโรคเบาหวาน[6] หลอดเลือดสมองที่ตีบแคบลงอาจทำให้เกิดสมองขาดเลือดเฉียบพลันตามมาได้ หากเป็นต่อเนื่องยาวนานร่วมกับการมีความดันเลือดที่สูงอาจทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือด เป็นเลือดออกในสมองเฉียบพลันได้[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ weak
  2. 2.0 2.1 2.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NHS2015
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ str
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Med2015
  5. "Who Is at Risk for a Stroke? – NHLBI, NIH". www.nhlbi.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-25.
  6. Prakash, Dibya (2014-04-10). Nuclear Medicine: A Guide for Healthcare Professionals and Patients. Springer Science & Business Media. p. 142. ISBN 9788132218265.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค