ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สมองขาดเลือดชั่วคราว)
โรคขาดเลือดไปเลี้ยงสมองชั่วคราว
(transient ischemic attack)
ชื่ออื่นMini-strokes
สาขาวิชาNeurology, Vascular surgery
พยากรณ์โรคSurvival rate ~ 91% (To hospital discharge) 67.2% (five years)[1]

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (อังกฤษ: transient ischemic attack, TIA) หรือ มินิสโตรก (อังกฤษ: mini-stroke) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีการสูญเสียการทำงานของระบบประสาทไปชั่วครู่ ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง ไขสันหลัง หรือจอตา ลดลง โดยไม่ทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อที่เป็นผลมาจากการขาดเลือด[2] กลไกการเกิดภาวะนี้เป็นกลไกเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน แต่ดั้งเดิมแล้วจะแยกกันโดยอาศัยระยะเวลาที่เกิดอาการเป็นหลัก อย่างไรก็ดีในปัจจุบันจะแยกออกจากกันโดยดูจากภาพถ่ายรังสีว่ามีการตายของเนื้อเยื่อสมองหรือไม่

อาการ

[แก้]

อาจมีอาการได้หลากหลายขึ้นอยู่กับบริเวณของสมองที่ได้รับผลกระทบ อาการที่พบบ่อยเช่นการสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว (amaurosis fugax), พูดลำบาก (aphasia), ชาครึ่งซีก (hemiparesis), เหน็บ (paresthesia) ซึ่งมักเป็นครึ่งซีก ภาวะการรับรู้บกพร่องนั้นพบไม่บ่อย เคยมีรายงานกรณีผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตในบางส่วนของใบหน้าหรือลิ้นด้วย

การวินิจฉัย

[แก้]

การวินิจฉัยแยกโรค

[แก้]
การวินิจฉัย[3] สิ่งตรวจพบ[3]
เนื้องอกของสมอง ปวดหัวรุนแรงข้างใดข้างหนึ่ง ร่วมกับคลื่นไส้และอาเจียน
การติดเชื้อในระบบประสาทกลาง (เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ) ไข้, ปวดหัว, สับสน, คอแข็งเกร็ง, คลื่นไส้, อาเจียน, ตากลัวแสง, ระดับการรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง
บาดเจ็บ ปวดศีรษะ, สับสน, มีรอยฟกช้ำ
น้ำตาลในเลือดต่ำ สับสน, อ่อนแรง, เหงื่อออกมาก
ไมเกรน ปวดศีรษะรุนแรง, อาจมีตากลัวแสงหรือไม่มีก็ได้, อายุน้อย
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เห็นภาพซ้อน, แขนขาอ่อนแรง, ชา, ปัสสาวะไม่ออก, เส้นประสาทตาอักเสบ
โรคชักต่างๆ มีอาการสับสนโดยอาจหมดสติหรือไม่หมดสติ, ปัสสาวะราด, กัดลิ้น, เคลื่อนไหวแบบเกร็งสลับกระตุก
เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ปวดศีรษะรุนแรง ตากลัวแสงเฉียบพลัน
อาการเวียนศีรษะหมุน (ทั้งแบบส่วนกลางและนอกส่วนกลาง) เวียนศีรษะ เหงื่อแตก อาจมีหูอื้อหรือไม่มีก็ได้

การป้องกัน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gattellari, Melina; Goumas, Chris; Biost, Frances Garden M.; Worthington, John M. (January 2012). "Relative Survival After Transient Ischaemic Attack: Results From the Program of Research Informing Stroke Management (PRISM) Study". Stroke. 43 (1): 79–85. doi:10.1161/STROKEAHA.111.636233. PMID 22076008. S2CID 16722015.
  2. Easton, J. Donald; Saver, Jeffrey L.; Albers, Gregory W.; Alberts, Mark J.; Chaturvedi, Seemant; Feldmann, Edward; Hatsukami, Thomas S.; Higashida, Randall T.; Johnston, S. Claiborne; Kidwell, Chelsea S.; Lutsep, Helmi L.; Miller, Elaine; Sacco, Ralph L.; American Heart Association; American Stroke Association Stroke Council; Council on Cardiovascular Surgery and Anesthesia; Council on Cardiovascular Radiology and Intervention; Council on Cardiovascular Nursing; Interdisciplinary Council on Peripheral Vascular Disease (June 2009). "Definition and Evaluation of Transient Ischemic Attack: A Scientific Statement for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association Stroke Council; Council on Cardiovascular Surgery and Anesthesia; Council on Cardiovascular Radiology and Intervention; Council on Cardiovascular Nursing; and the Interdisciplinary Council on Peripheral Vascular Disease: The American Academy of Neurology affirms the value of this statement as an educational tool for neurologists". Stroke. 40 (6): 2276–2293. doi:10.1161/STROKEAHA.108.192218. PMID 19423857.
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ pmid23062043

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก