โทกูงาวะ อิเอฮารุ
โทกูงาวะ อิเอฮารุ 徳川家治 | |
---|---|
โชกุนลำดับที่ 10 แห่ง รัฐบาลเอโดะ | |
1760 - 1786 | |
ก่อนหน้า | โทะกุงะวะ อิเอะชิเงะ |
ถัดไป | โทกูงาวะ อิเอนาริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1737 |
อสัญกรรม | 17 กันยายน ค.ศ. 1786 | (49 ปี)
บิดา | โทกูงาวะ อิเอชิเงะ |
มารดา | 至心院 |
โทะกุงะวะ อิเอะฮะรุ (ญี่ปุ่น: 徳川 家治; โรมาจิ: Tokugawa Ieharu; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1737 - 17 กันยายน ค.ศ. 1786) เป็นโชกุนลำดับที่ 10 ของ รัฐบาลเอโดะ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1760 ถึงปี ค.ศ. 1786
ในสมัยของโชกุนอิเอะฮะรุ อำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่ที่ ทะนุมะ โอะกิสึงุ (Tanuma Okitsugu, 田沼意次) และเรียกว่า สมัยของทะนุมะ (Tanuma-jidai, 田沼時代) ทะนุมะได้ทำการปฏิรูปเศรษฐกิจของญี่ปุ่น แต่ได้ชื่อว่าเป็นขุนนางที่ทุจริตฉ้อฉลและชั่วร้ายที่สุดในสมัยเอโดะ ใครก็ตามที่ต้องการตำแหน่งสูงส่งในบะกุฟุจำเป็นที่จะต้องติดสินบนทะนุมะ โอะกิสึงุ
ในสมัยของโชกุนอิเอะฮะรุเกิดภัยพิบัติขึ้นถึงสองครั้งในญี่ปุ่น ได้แก่ ไฟไหม้ครั้งใหญ่ปีเมวะ (Meiwa-no-daika, 明和の大火) ใน ค.ศ. 1772 และทุพภิกขภัยปีเท็นเม (Tenmei-no-daikikin, 天明の大飢饉) ใน ค.ศ. 1782 ถึง 1787[1] ในสมัยของโชกุนอิเอะฮะรุ หัวหน้าสถานีการค้า (Opperhoofd) ของฮอลันดาที่เกาะเดะจิมะชื่อว่า ไอแซค ทิตซิงฮ์ (Isaac Titsingh) ได้เข้าพบโชกุนอิเอะฮะรุ เป็นสมัยที่รังงะกุ (Rangaku, 蘭学) หรือศิลปวิทยาการตะวันตกนั้นเจริญรุ่งเรืองมากในญี่ปุ่น
โทะกุงะวะ อิเอะโมะโตะ (Tokugawa Iemoto, 徳川家基) บุตรชายเพียงคนเดียวของโชกุนอิเอะฮะรุ ได้เสียชีวิตลงในค.ศ. 1779 ด้วยอายุสิบแปดปี ใน ค.ศ. 1781 บะกุฟุได้เลือกโทะกุงะวะ อิเอะนะริ (Tokugawa Ienari, 徳川家斉) จากตระกูลโทะกุงะวะสาขาฮิโตะสึบะชิ (Hitotsubashi-Tokugawa-ke, 一橋徳川家) มาเป็นบุตรบุญธรรมและทายาทของโชกุนอิเอะฮะรุ โชกุนอิเอะฮะรุถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1786
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ John Whitney Hall, The Cambridge History of Japan: Early modern Japan.
ก่อนหน้า | โทกูงาวะ อิเอฮารุ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โทะกุงะวะ อิเอะชิเงะ | โชกุนแห่งเอะโดะบะคุฟุ (ค.ศ. 1760 – 1786) |
โทะกุงะวะ อิเอะนะริ |