ทานูมะ โอกิตสึงุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทะนุมะ โอะกิสึงุ)
ทานูมะ โอกิตสึงุ
เจ้าแห่งซางาระ
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1767 – 1786
ก่อนหน้าฮนดะ ทาดานากะ
ถัดไปทานูมะ โอกิอากิ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กันยายน ค.ศ. 1719(1719-09-11)
เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิตสิงหาคม 25, 1788(1788-08-25) (68 ปี)
เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น
เชื้อชาติญี่ปุ่น

ทานูมะ โอกิตสึงุ (ญี่ปุ่น: 田沼意次โรมาจิTanuma Okitsugu; 11 กันยายน ค.ศ. 1719 ที่เอโดะ ประเทศญี่ปุ่น – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1788 ที่เอโดะ) เป็นมหาดเล็ก (โซบาชู) และที่ปรึกษาอาวุโส (โรจู) ของโชกุนโทกูงาวะ อิเอฮารุในรัฐโชกุนเอโดะ ยุคเอโดะ ทานูมะกับลูกของเขามีอำนาจมหาศาล โดยเฉพาะในช่วง 14 ปีสุดท้ายของรัชสมัยโชกุนอิเอฮารุ[1] เขายังเป็นที่รู้จักจากการปฏิรูปเศรษฐกิจในศักราชเท็มเมและการทุจริตอย่างหนัก และดำรงตำแหน่งไดเมียวประจำแคว้นซางาระ ซึ่งใช้ยศนำหน้าว่า โทโนโมะ-โนะ-คามิ[2]

การปฏิรูปของทามูระมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะความไม่ทรงตัวทางการค้าระหว่างจังหวัด (ฮัง) กับพื้นที่โชกุน (เท็นเรียว)[3] โทกูงาวะ โยชิมูเนะ โชกุนองค์ที่แล้ว เคยพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจรัฐโชกุนด้วยความประหยัดและเน้นการเกษตร แต่ทานูมะไปลดค่าเงิน ขายสิทธิผูกขาดให้กับผู้ค้า และเก็บภาษีสมาคมผู้ค้าแทน[1] เขาสั่งให้ส่งออกสินค้าให้ต่างชาติมากขึ้น เพื่อสกัดกั้นดุลการค้าและทองคำที่เสียเปรียบ[1] และตั้งมาตรการส่งออกเหมืองทองแดงในอากิตะ (ทองแดงเป็นเหล็กหลักที่ทำเงินในสมัยนั้น)

ถึงแม้ว่าความตั้งใจของทานูมะคือการให้บริการสาธารณประโยชน์ เขาก่อความทุจริตอย่างมากและมีความทุตริตในรัฐบาลรุนแรงขึ้น[1] จากภัยแล้งตามมาด้วยอุทกภัย ทำให้ไม่สามารถปลูกพืชได้ใน ค.ศ. 1783 ถึง 1787 ก่อให้เกิดสภาวะความอดอยากและมีการจลาจลบ่อยครั้ง[1]

ในศักราชเท็มเมที่ 4 (ค.ศ. 1784) วากาโดชิโยชิ (รองที่ปรึกษา) ทานูมะ โอกิโตโมะ ลูกชายของเขา ถูกลอบสังหารในปราสาทเอโดะต่อหน้าพ่อ เพราะทั้งคู่กำลังขึ้นบนโนริโมโนะ หลังประสบความล้มเหลวจากการประชุมที่ปรึกษาของรัฐ โอกิโมโตะถูกฆ่าโดยฮาตาโมโตะซาโนะ มาซาโกโตะ ภายหลังมือสังหารถูกลงโทษตามกฎหมาย

สภาวะอดอยากทำให้มีการประท้วงและการก่อกบฏมากขึ้น โดยถึงจุดสูงสุดในการจลาจลเอโดะใน ค.ศ. 1787 ฝ่ายค้านอนุรักษนิยมกล่าวถึงการปฏิรูปว่าเป็น "เสียงสวรรค์" ที่ตามมาด้วย "เสียงผู้คน" หลังการลอบสังการลูกชายของเขากับโทกูงาวะ อิเอฮารุ ทำให้ทานูมะถูกถอดถอนจากอำนาจ[4] และการปฏิรูปและการผ่อนคลายความเคร่งครัดของซาโกกุจึงถูกปิดกั้น[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Hane, M. (2018). Premodern Japan: A historical survey. Routledge.
  2. Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822, p. 222 n65.
  3. Jansen, Marius B. (2000). The Making of Modern Japan, pp. 240–241.
  4. Jansen, p. 241
  5. Screech, pp. 148–151, 163–170, 248.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Hall, John Whitney. (1955). Tanuma Okitsugu, 1719–1788: Forerunner of Modern Japan. Cambridge: Harvard University Press. OCLC 445621
  • Screech, Timon. (2006). Secret Memoirs of the Shoguns: Isaac Titsingh and Japan, 1779–1822. London: RoutledgeCurzon. ISBN 978-0-203-09985-8; OCLC 65177072
  • Titsingh, Isaac. (1820). Mémoires et anecdotes sur la dynastie régnante des djogouns, souverains du Japon. Paris: Nepveu. OCLC 255146140.
ก่อนหน้า ทานูมะ โอกิตสึงุ ถัดไป
ฮนดะ ทาดานากะ ไดเมียวแห่งซางาระ
(ค.ศ. 1767–1786)
ทากูมะ โอกิอากิ