แมงกะพรุนอิรุคันจิ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
แมงกะพรุนอิรุคันจิ (อังกฤษ: Irukandji jellyfish) เป็นชื่อสามัญแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดจำพวกหนึ่งของโลก จัดเป็นแมงกะพรุนจำพวกแมงกะพรุนกล่อง หรือ คูโบซัว
โดยแมงกะพรุนอิรุคันจินั้นจะเป็นแมงกะพรุนที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเพียงไม่เกิน 1 เซนติเมตร น้ำหนักไม่เกิน 1 ออนซ์ มีลำตัวโปร่งใส และมีหนวดที่มีเข็มพิษจำนวนมากมายที่มีพิษต่อระบบโลหิต โดยจะทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตได้ในระยะเวลาไม่นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[1]
แมงกะพรุนที่อาจเรียกได้ว่าเป็น แมงกะพรุนอิรุคันจินั้นแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ Carukia barnesi, Malo kingi, Alatina alata และชนิดใหม่ คือ Malo maxima[2][3] (หรืออาจจะมีมากได้ถึง 6 ชนิด)
โดยชื่อ "อิรุคันจิ" นั้นมีที่มาจากชาวเผ่าอิรุคันจิ ชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลียที่มีตำนานเล่าขานต่อกันมาเกี่ยวกับความเจ็บปวดและอันตรายของแมงกะพรุนจำพวกนี้หากได้สัมผัสเข้า
แมงกะพรุนอิรุคันจิ ได้ถูกศึกษาครั้งแรกทางวิทยาศาสตร์ในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1960 โดยนักวิทยาศาสตร์ที่เคยถูกพิษของมันแทงเข้า ได้ลงไปจับในทะเลทางตอนเหนือของออสเตรเลียเพื่อศึกษา[1]
เดิมทีแมงกะพรุนอิรุคันจิ เผยกระจายพันธุ์แต่เฉพาะทางตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันได้มีรายงานพบในหลายพื้นที่มากขึ้น เช่น ฮาวาย, ญี่ปุ่น, ฟลอริดา รวมถึงในประเทศไทย[4]
พิษของแมงกะพรุนอิรุคันจิ ทำให้ผู้ที่โดนเข็มพิษของแมงกะพรุนจำพวกนี้แทงถูกมีอาการที่เรียกว่า "อาการอิรุคันจิ" (Irukandji syndrome)[1]
การพบในไทย
[แก้]แมงกะพรุนอิรุคันจิถูกรายงานพบครั้งแรกในน่านน้ำไทย เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ถูกเข็มพิษของแมงกะพรุนทิ่มหลายรายในปี พ.ศ. 2551 โดยที่บางรายถึงกับเสียชีวิตทันที และมีนักท่องเที่ยวรายหนึ่งที่เกาะหมาก จังหวัดตราด ยืนยันว่าลูกชายของตนถูกพิษจากแมงกะพรุนอิรุคันจิเข้าจนอาการสาหัส ทางการของไทยจึงทำการศึกษาและตรวจสอบเรื่องนี้อย่างทันที จากนั้นจึงมีการเปิดเผยขึ้นในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน จากหัวหน้าสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต ว่าเป็นแมงกะพรุนอิรุคันจิจริง ซึ่งไม่เคยมีรายงานพบในประเทศไทยมาก่อน ด้วยว่าเป็นแมงกะพรุนชนิดใหม่ของโลกด้วย ซึ่งพิษของแมงกะพรุนชนิดนี้นั้นเทียบเท่ากับหอยเต้าปูนและหมึกสายวงน้ำเงิน และเท่าที่ศึกษาพบว่า อยู่ในแหล่งน้ำตื้นของอ่าวไทย แต่ปริมาณที่พบยังไม่มากนัก ซึ่งโดยปกติแล้วจะพบมากที่ออสเตรเลีย[4]
ชนิดใหม่ล่าสุดคือ Keesingia gigas มีขนาดใหญ่กว่าตัวอื่น ๆ และไม่มี tentacle พบทีออสเตรเลีย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ท่องโลกกว้าง: แมงกะพรุนแห่งท้องทะเล". ไทยพีบีเอส. 17 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-04. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
- ↑ Gershwin, Lisa-Ann (2007). "Malo kingi: A new species of Irukandji jellyfish (Cnidaria: Cubozoa: Carybdeida), possibly lethal to humans, from Queensland, Australia". Zootaxa (1659): 55–68. สืบค้นเมื่อ 2010-07-23.
- ↑ Li, R. (2011). "The pharmacology of Malo maxima jellyfish venom extract in isolated cardiovascular tissues: A probable cause of the Irukandji syndrome in Western Australia". Tox Letters (201(3)): 221–9.
- ↑ 4.0 4.1 "เตือนภัยใต้ท้องทะเล ระวัง"แมงกะพรุนอรุคันจิ" พิษร้าย-โดนแล้วถึงตาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-07-11.
- ↑ New jellyfish discovered: giant venomous species found off Australia. The Guardian. 7 August 2014. สืบค้นเมื่อ 9 August 2014.