แฟร์ดีน็อง ฟ็อช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฟร์ดีน็อง ฟ็อช
ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร
ดำรงตำแหน่ง
26 มีนาคม 1918 – 10 มกราคม 1920
ก่อนหน้าตำแหน่งก่อตั้ง
ถัดไปตำแหน่งถูกยุบเลิก[a]
ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
22 มิถุนายน 1918 – 10 มกราคม 1920
ก่อนหน้าตำแหน่งก่อตั้ง
ถัดไปตำแหน่งถูกยุบเลิก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 ตุลาคม ค.ศ. 1851(1851-10-02)[1]
ตาร์บ
(จังหวัดโอต-ปีเรเน, ฝรั่งเศส)
เสียชีวิต20 มีนาคม ค.ศ. 1929(1929-03-20) (77 ปี)[2]
ปารีส (แซน, ฝรั่งเศส)
ที่ไว้ศพออแตลเดแซ็งวาลีด
เชื้อชาติฝรั่งเศส
คู่สมรสฌูว์ลี เบียงเวอนูว์
บุตรมารี ฟ็อช
อาน ฟ็อช
เออแฌน ฌูล แฌร์แม็ง ฟ็อช
แฌร์แม็ง ฌูล หลุยส์ ฟ็อช
บุพการี
  • แบร์ทร็อง ฌูล นโปเลียน ฟ็อช (บิดา)
  • มารี โซฟี แจ็กเกอแล็ง ดูเปรอ (มารดา)
ศิษย์เก่าเอกอลปอลีแต็กนิก
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
สังกัดกองทัพบกฝรั่งเศส
ประจำการ1870 – 1923
ยศGénéral de division[b]
หน่วย
  • กรมทหารปืนใหญ่ที่ 24
บังคับบัญชา
ผ่านศึก

แฟร์ดีน็อง ฟ็อช (ฝรั่งเศส: Ferdinand Foch, 2 ตุลาคม 1851 – 20 มีนาคม 1929) เป็นนายพลและนักทฤษฎีทางทหารชาวฝรั่งเศส เขาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฟ็อชดำรงตำแหน่งนี้ในปี 1918 เมื่อฝ่ายเยอรมันดำเนินการรุกฤดูใบไม้ผลิเพื่อผลักดันฝ่ายสัมพันธมิตรหลังการรบในสนามเพลาะหยุดนิ่ง เขาประสบความสำเร็จในการประสานกองทัพฝรั่งเศส บริติชและอเมริกันเพื่อหยุดยั้งการรุกของเยอรมัน ก่อนจะรุกกลับในการรุกร้อยวัน เดือนพฤศจิกายน 1918 ฟ็อชตอบรับคำขอสงบศึกของฝ่ายเยอรมัน นำไปสู่การสงบศึกเพื่อยุติสงคราม ต่อมาเขามีความเห็นว่าสนธิสัญญาแวร์ซายนั้นปรานีต่อฝ่ายเยอรมันจนเกินไป และเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในวันที่ 28 มิถุนายน 1919 ฟ็อชได้กล่าวว่า "นี่ไม่ใช่สันติภาพ แต่เป็นแค่การสงบศึกเป็นเวลา 20 ปี" ซึ่งต่อมาอีก 20 ปีก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สองตามมา[3]

ฟ็อชเกิดในครอบครัวคาทอลิกที่เมืองตาร์บ จังหวัดโอต-ปีเรเนในปี 1851 เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนคณะเยสุอิต Collège Saint-Michel และ Collège Saint-Clement[4] เมื่อเกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ฟ็อชในวัย 19 ปีถูกเกณฑ์เข้ากรมทหารราบที่ 4 แต่ไม่ได้ร่วมรบในสงคราม[5] หลังจากนั้นเขาทำงานหลายแห่ง เช่น กรมทหารปืนใหญ่ที่ 24, École Supérieure de Guerre, กรมทหารปืนใหญ่ที่ 35 และเหล่าทหารที่ 20 ที่เมืองน็องซี

เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นในปี 1914 ฟ็อชได้รับหน้าที่บัญชาการกองทัพที่ 9 ร่วมกับแม็กซีม แวร์ก็อง เขาสามารถหยุดยั้งฝ่ายเยอรมันที่รุกคืบผ่านเบลเยียมและฝรั่งเศสไว้ได้ในยุทธการที่มาร์นครั้งที่หนึ่ง[6] แต่ความเสียหายด้านกำลังพลในยุทธการที่อาร์ตัวส์ครั้งที่สามและยุทธการที่แม่น้ำซอม ทำให้เขาถูกปลดแล้วถูกส่งไปบัญชาการแนวรบอิตาลีแทน[7] ในปี 1917 ฟ็อชได้รับตำแหน่งผู้แทนทหารถาวรของฝรั่งเศสเมื่อมีการก่อตั้งสภาสงครามสูงสุดเพื่อประสานงานฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อมาในปี 1918 ฝ่ายเยอรมันเริ่มการรุกฤดูใบไม้ผลิโดยมีจุดประสงค์เพื่อเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนสหรัฐจะส่งกำลังสนับสนุน ฟ็อชได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร ดำเนินการประสานงานกับทัพสัมพันธมิตรอื่น ๆ และจัดตั้งกำลังสำรองเพื่อสนับสนุนแนวป้องกันฝ่ายเยอรมัน[8] เดือนกรกฎาคม เขาได้รับยศจอมพลหลังได้รับชัยชนะในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองอันเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การรุกกลับของฝ่ายสัมพันธมิตร[9] วันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 ฟ็อชร่วมลงนามในการสงบศึกเพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

หลังสงคราม ฟ็อชได้รับยศจอมพลจากกองทัพสหราชอาณาจักรและโปแลนด์[10] นอกจากนี้เขายังได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่น Order of Merit (สหราชอาณาจักร), Distinguished Service Medal (สหรัฐ) และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีของสยาม ฟ็อชเสียชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดที่กรุงปารีสในปี 1929 ร่างของเขาถูกฝังที่ออแตลเดแซ็งวาลีด[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Governement of the French Republic. "Birth certificate of Foch, Ferdinand". culture.gouv.fr. สืบค้นเมื่อ 24 July 2019.
  2. Governement of the French Republic. "Death certificate of Foch, Ferdinand". culture.gouv.fr. สืบค้นเมื่อ 24 July 2019.
  3. Williamson Murray; Jim Lacey (2009). The Making of Peace: Rulers, States, and the Aftermath of War. Cambridge UP. p. 209. ISBN 9780521517195.
  4. René Puaux (1919). Foch: Sa vie. Sa doctrine. Son œuvre. La foi en la victoire (ภาษาฝรั่งเศส). Payot. p. 14.
  5. Hickman, Kennedy (December 3, 2018). "World War I: Marshal Ferdinand Foch". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
  6. "Ferdinand Foch". HISTORY. November 12, 2009. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
  7. Overy, Richard (2014). World War I: The Definitive Visual History from Sarajevo to Versailles. London, England: Penguin. p. 291. ISBN 9781465434906.
  8. Dawes, Charles Gates (2016). A Journal of the Great War. Morrisville, North Carolina, United States: Lulu.com. p. 161. ISBN 9780990657415.
  9. "Marshal Ferdinand Jean Marie Foch 1851 – 1929". Artware Fine Art. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
  10. "Ferdinand Foch". Britannica. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.
  11. "Ferdinand Foch". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ January 20, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน