การรุกฤดูใบไม้ผลิ

พิกัด: 50°00′10″N 02°39′10″E / 50.00278°N 2.65278°E / 50.00278; 2.65278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรุกฤดูใบไม้ผลิ
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตก ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
วันที่21 มีนาคม – 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1918
สถานที่50°00′10″N 02°39′10″E / 50.00278°N 2.65278°E / 50.00278; 2.65278
ผล ปฏิบัติการของเยอรมันล้มเหลว
คู่สงคราม
 เยอรมนี  ฝรั่งเศส
 สหรัฐ
โปรตุเกส
 อิตาลี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรวรรดิเยอรมัน เอริช ลูเดินดอร์ฟ สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 แฟร์ดีน็อง ฟ็อช
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ดักลาส เฮก
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ฟีลิป เปแต็ง
สหรัฐ จอห์น เจ. เพอร์ชิง
ความสูญเสีย
688,341 นาย[1] สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3: 433,000[2]
: 418,374[3]
: 7,000[4]
ราชอาณาจักรอิตาลี: 5,000[5]

รวม:
863,374 นาย

การรุกฤดูใบไม้ผลิ หรือ ยุทธการของไกเซอร์ (เยอรมัน: Kaiserschlacht) เป็นชุดการโจมตีของจักรวรรดิเยอรมันในแนวรบด้านตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมันดำเนินการรุกนี้เพื่อหวังเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนสหรัฐจะเข้าช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเต็มตัว การรุกครั้งนี้เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 เมื่อเยอรมันเริ่มปฏิบัติการไมเคิล อันเป็นหนึ่งในสี่ปฏิบัติการเพื่อผลักดันฝ่ายสัมพันธมิตรออกจากทางเหนือของฝรั่งเศส ก่อนจะจบลงที่ความพ่ายแพ้ของเยอรมันในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน

หลังสู้รบมานาน 4 ปี ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลางต่างตกอยู่ในสภาพชะงักงันและเหลือปัจจัยในการทำสงครามน้อยลงทุกที ถึงแม้ว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางจะบีบให้รัสเซียออกจากสงครามได้หลังลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ แต่การเข้าร่วมสงครามของสหรัฐในเดือนเมษายน ค.ศ. 1917 ทำให้เยอรมันเหลือหนทางในการชนะสงครามไม่มาก[6] ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 เอริช ลูเดินดอร์ฟ แม่ทัพพลาธิการของจักรวรรดิเยอรมันสั่งเริ่มการรุก[7] โดยทัพเยอรมันได้ทหารเกือบ 50 กองพลที่ถอนกำลังจากรัสเซียมาช่วยในการรุกนี้ วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1918 ลูเดินดอร์ฟเริ่มปฏิบัติการไมเคิลเพื่อเจาะแนวรบของฝ่ายสัมพันธมิตรและยึดท่าเรือช่องแคบ (Channel Ports) ที่บริเตนใช้ขนส่งสรรพาวุธ ถึงแม้ว่าเยอรมันจะสามารถรุกไปได้ไกลจากเดิมกว่า 65 กิโลเมตร แต่พื้นที่ที่ยึดได้กลับให้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์แก่เยอรมันน้อยมาก[8] ปฏิบัติการครั้งหลัง ๆ อีกสามปฏิบัติการคือปฏิบัติการจอร์เจต ปฏิบัติการบลือเชอร์–ยอร์ค และไกเซเนาล้วนแล้วแต่ไม่บรรลุจุดประสงค์และเสียกำลังพลจำนวนมาก[9] วันที่ 15 กรกฎาคม เยอรมันโจมตีที่แม่น้ำมาร์นเป็นครั้งที่สองเพื่อหวังตบตาฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนจะบุกทางฟลานเดอร์แต่ล้มเหลว เยอรมันจึงสั่งถอนทัพในวันที่ 20 กรกฎาคม[10]

ชัยชนะในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองช่วยเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ทัพฝ่ายสัมพันธมิตร และนำไปสู่การรุกร้อยวัน อันเป็นการรุกกลับของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ท้ายที่สุดแล้วบีบให้เยอรมันยอมสงบศึกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Churchill, "The World Crisis, Vol. 2", p.963. German casualties from "Reichsarchiv 1918"
  2. Churchill, "The World Crisis, Vol. 2", p.963. French casualties from "Official Returns to the Chamber, March 29, 1922"
  3. Churchill, "The World Crisis, Vol. 2", p.963. British casualties from "Military Effort of the British Empire"
  4. Edmonds, Davies & Maxwell-Hyslop 1995, pp. 147–148, 168.
  5. "Le souvenir de la 1ère GM en Champagne-Ardenne – Le cimetière italien de Bligny présenté par Jean-Pierre Husson". www.cndp.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 2 September 2018.
  6. Hickman, Kennedy (March 2, 2018). "World War I: Operation Michael". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.
  7. Blaxland, p.25
  8. "First stage of German spring offensive ends". HISTORY. November 5, 2009. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.
  9. Hickman, Kennedy (November 25, 2019). "World War I - 1918 Overview". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.
  10. Hickman, Kennedy (March 20, 2020). "Second Battle of the Marne in World War I". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.
  11. Anthony, Marla (August 6, 2018). "From Amiens to Armistice: The Hundred Days Offensive". Imperial War Museums. สืบค้นเมื่อ May 3, 2020.