แผ่นดินไหวในพอร์ตวิลา พ.ศ. 2567
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
แผนที่แสดงการเคลื่อนตัวของพื้นดินโดยยูเอสจีเอส | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2024-12-17 01:47:26 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 642646721 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 17 ธันวาคม 2567 |
เวลาท้องถิ่น | 12:47:26 น. (UTC+11) |
ระยะเวลา | 30 วินาที |
ขนาด | 7.3 Mw |
ความลึก | 57.1 km (35 mi) |
ศูนย์กลาง | 17°41′10″S 168°02′02″E / 17.686°S 168.034°E |
ประเภท | Oblique-slip |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | พอร์ตวิลา วานูอาตู |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | IX (ร้ายแรง) |
สึนามิ | 25 ซm (10 in) |
แผ่นดินไหวตาม | 300+ ครั้งที่รุนแรงที่สุดขนาด Mw 6.1 |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิต 12 คน บาดเจ็บ 210 คน |
เมื่อเวลา 12:47:26 น. ตามเวลาท้องถิ่น (01:47:26 UTC) ของวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เกิดแผ่นดินไหวขนาด Mw 7.3 ใกล้กับพอร์ตวิลา เมืองหลวงของประเทศวานูวาตู[1] มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างน้อย 16 และ 200 คนตามลำดับ เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในพอร์ตวิลาและพื้นที่โดยรอบ และส่งผลให้เกิดสึนามิสูง 25 ซm (10 in)
สถานภาพทางธรณีแปรสัณฐาน
[แก้]ลักษณะทางธรณีแปรสัณฐานหลักของหมู่เกาะวานูอาตูคือร่องลึกนิวเฮบริดีส ซึ่งเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากันระหว่างแผ่นออสเตรเลีย และแผ่นแปซิฟิกตามแนวเขตวาดาทิ–เบนิออฟ พบแผ่นดินไหวทั้งระดับตื้น ปานกลาง และลึก ที่ความลึกสูงสุด 700 km (430 mi) และยังเกิดการปะทุของภูเขาไฟตามแนวร่องลึกก้นสมุทรตามแนวโน้มเอียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงเหนือและลาดลงตะวันออกเฉียงเหนือนี้[2] เขตมุดตัวของเปลือกโลกนี้เป็นหนึ่งในขอบเปลือกโลกที่เคลื่อนไหวมากที่สุดในโลก มีการเคลื่อนตัวอยู่ในอัตรา 170 mm (7 in) ต่อปี[3]
ในขณะที่หมู่เกาะรูปโค้งส่วนมากมักเกิดแผ่นดินไหวที่ความลึกปานกลางตามแนวเขตวาดาทิ–เบนิออฟที่มีความลาดเอียง 70° แต่แผ่นดินที่ติดกับเทือกเขาด็องเทรอกัสโต ไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดช่องว่างขนาดไม่เกิน 50 km (31 mi) เข้าสู่เขตมุดตัวของเปลือกโลกจากทิศตะวันตก จากแบบจำลองการเคลื่อนไหวแผ่นธรณีภาคสัมพัทธ์ครอบคลุม NUVEL-1 พบว่ามีการเคลื่อนตัวเข้าหากันประมาณปีละ 8 ซm (0.26 ft) ความไม่แน่นอนนี้ซึ่งผลกระทบถึงเทือกเขาตองงา–เคอเมอเดกด้วยเกิดจากอิทธิพลของการเคลื่อนตัวออกของแอ่งฟิจิเหนือ มีการศึกษาถึงแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงตั้งแต่ Mw7.0 ขึ้นไปตั้งแต่ พ.ศ. 2452 – 2544 ทั้ง 58 ครั้งน้อยมาก[4]
แผ่นดินไหว
[แก้]แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดห่างจากชายฝั่งเอฟาเต 30 km (19 mi)[5] สำนักงานการสำรวจด้านธรณีวิทยาสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) ระบุว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงระดับ Mw 7.3 จากความลึก 57.1 กิโลเมตร (35.5 ไมล์) แบบจำลองกลไกแผ่นดินไหวระบุว่าเป็นการเลื่อนตามแนวเฉียง เมื่อประกอบกับความลึกของศูนย์เกิดแผ่นดินไหว แสดงให้เห็นถึงการเลื่อนตัวภายในการเลื่อนภายในแผ่นออสเตรเลียในเขตมุดตัว ยูเอสจีเอสเสนอแบบจำลองรอยเลื่อนจำกัดสองแบบ แบบหนึ่งแสดงการแตกของรอยเลื่อนที่ลาดขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพร้อมกดลงทางทิศตะวันตก-ตะวันตกเฉียงใต้ อีกแบบหนึ่งเป็นรอยเลื่อนตะวันออก-ตะวันออกเฉียงเหนือที่ลาดจนเกือบตั้งฉาก โดยทั้งสองแบบมีการเคลื่อนตัวมากที่สุด 3 m (9.8 ft)[6] แผ่นดินไหวนี้เกิดขึ้นประมาณ 30 วินาที[7] มีการบันทึกว่าเกิดแผ่นดินไหวตามมากกว่า 300 ครั้ง[8] ที่ความแรงสูงสุดระดับ Mw 6.1 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม[9] แผ่นดินไหวที่ความลึกปัจจุบันนี้มีความรุนแรงน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวขนาด Mw 8 ที่มักจะก่อให้เกิดสึนามิที่สร้างความเสียหาย[3]
ผลกระทบ
[แก้]มีผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันอย่างน้อย 12 คน[10] และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 210 คน[11] ในบรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบ มีชาวจีนเสียชีวิต 2 คน[12] ชาวไทยเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 3 คน[13] และชาวฝรั่งเศสเสียชีวิต 1 คน[14] มีบุคคลหกคนที่เสียชีวิตจากแผ่นดินถล่มและอีกสี่คนเสียชีวิตจากตึกถล่ม[15] Ishmael Kalsakau อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าบ้านเรือนแทบทุกหลังบนเกาะเอฟาเตได้รับความเสียหาย[8] ในพอร์ตวิลา มีอาคารอย่างน้อย 10 หลังถล่ม บางส่วนเป็นการถล่มแบบต่อเนื่อง[16] อาคารที่ใช้เป็นสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและนิวซีแลนด์ถล่มที่ชั้นแรก[17][18][19] ส่วนเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ และออสเตรเลียอยู่ในภาวะปลอดภัย[20][21] อาคารอื่นถูกทำลายบางส่วน บ้างก็ถล่มอย่างรุนแรงจนกีดขวางถนนและท่าเรือในเมือง สะพานสองแห่งถล่ม[22][23] แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ใจกลางพอร์ตวิลากำลังพลุกพล่านไปด้วยผู้คนที่มาซื้อขายสินค้าตอนกลางวัน[24]
เกิดเหตุดินถล่มอาคารจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศพอร์ตวิลา ทางวิ่งและอาคารควบคุมการบินของสนามบินโบแอร์ฟีแยล ได้รับความเสียหาย[25][26]ส่งผลให้เที่ยวบินจำนวนมากถูกยกเลิก[27]จนต้องปิดสนามบินเป็นการชั่วคราวยกเว้นเที่ยวบินมนุษยธรรม 72 ชั่วโมง[28] แผ่นดินถล่มอีกแห่งหนึ่งทับรถบัส ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่ง[5] อ่างเก็บน้ำสองแห่ง[29]และโรงพยาบาลกลางพอร์ตวิลาได้รับความเสียหายจนต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังค่ายทหาร นอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิดดินถล่มในหมู่บ้านและเกาะรอบนอก สะพานสามแห่งได้รับความเสียหายจนถึงจุดที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถล่มหากเกิดฝนตกหนัก[20] สายไฟหลักสองเส้นได้รับความเสียหาย[30] และยังเกิดแผ่นดินถล่มจนปิดกั้นลานจอดเครื่องบินในหมู่เกาะโดยรอบและทำลายระบบประปา[31]
มีการตรวจพบสึนามิสูง 25 ซm (0.82 ft)[32] สายเคเบิลเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของวานูอาตูได้รับความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้[20] เว็บไซต์ของรัฐบาลวานูอาตูออฟไลน์ ส่วนสายสื่อสารของตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้งานไม่ได้[33] วิทยุและโทรทัศน์ของบริษัทกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งวานูอาตูงดออกอากาศเนื่องจากอาคารออกอากาศได้รับความเสียหาย[34] ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาการเชื่อมต่อ ผู้คนยังคงเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านสตาร์ลิงก์[35] อาคารสภากาชาดวานูอาตู ได้รับความเสียหาย[17] ภายในเมืองเกิดเหตุไฟฟ้าและประปาไม่ทำงาน[22] ทำให้มีผู้ป่วยท้องร่วงเพิ่มขึ้น[28] UNELCO ผู้ให้บริการสาธารณูปโภคหลักกล่าวว่าคาดว่าจะต้องใช้เวลาราวสองสัปดาห์เพื่อฟื้นฟูระบบประปาให้กลับสู่ภาวะปกติ[36] ในมาทาโซ เกิดดินถล่มทับไร่สวนจนเกิดความเสียหายต่อพืชเป็นวงกว้าง นำไปสู่ความกังวลว่าอาจจะเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร[37]
ยูเอสจีเอสประมาณการว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจราวร้อยละ 1-10 ของจีดีพีวานูอาตู[17] สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติประมาณการว่ามีผู้คนราว 116,000 คนได้รับผลกระทบโดยตรงจากแห่นดินไหว[38] เทียบเท่ากับประชากรหนึ่งในสามของวานูอาตู[39] โดยในจำนวนดังกล่าว มี 14,000 คนเป็นเด็ก[40] ผู้คน 1,698 คนไม่มีที่อยู่อาศัย[9] ขณะที่มี 20,000 คนต้องอยู่อาศัยโดยไม่มีน้ำ[41]
การตอบสนอง
[แก้]ศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิก ออกประกาศแจ้งเตือนสึนามิครอบคลุมวานูอาตู ฟิจิ หมู่เกาะเคอมาเดก คิริบาส นิวแคลิโดเนีย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู และวอลิสและฟูตูนา และคาดการณ์ว่าคลื่นจะมีความสูง 1 m (3 ft 3 in).[42] และยกเลิกประกาศไปในเวลา 14:14 น. ตามเวลาวานูอาตู[27] สำนักงานบริหารจัดการภัยพิบัติแห่งชาติวานูอาตูประกาศให้ผู้ที่อาศัยแนวชายฝั่งหนีขึ้นพื้นที่สูง[22] หน่วยงานภายในประเทศยกระดับการเฝ้าระวังเป็นระดับสูงสุด นักข่าวท้องถิ่นคนหนึ่งกล่าวกับเอฟบีซีนิวส์ (บริษัทกระจายเสียงและแพร่ภาพฟิจิ ) ว่ากองกำลังเคลื่อนที่วานูอาตู (วีเอ็มเอฟ) และเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินของรัฐได้ระดมกำลังโดยด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ และเสริมด้วยว่า "เจ้าหน้าที่ของรัฐกำลังจัดการกับผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก"[43] มีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณรอบนอกหอผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลพอร์ตวิลา[22] เขตธุรกิจใจกลางเมืองพอร์ตวิลาถูกปิด และประกาศให้ต้มน้ำทั่วทั้งเมือง[44] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2567 เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างประเมินขอบเขตความเสียหายและจัดลำดับความสำคัญการกู้ภัย[34]
Charlot Salwai นายกรัฐมนตรีวานูอาตู ออกประกาศภาวะฉุกเฉิน[45]และห้ามการออกจากเคหสถานในเวลากลางคืน[26]เป็นเวลา 7 วันและร้องขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ[46] ออสเตรเลีย[16] ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกาได้ส่งอุปกรณ์และบุคลากรเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในวานูอาตู[28] ออสเตรเลียกล่าวว่าได้สนับสนุนความพยายามในการเปิดสนามบินพอร์ตวิลาอีกครั้ง[47] ฟิจิได้ส่งมอบความสนับสนุนและส่งเจ้าหน้าที่ด้วย[48] แม้ว่าสนามบินในพอร์ตวิลาไม่สามารถเข้าถึงได้ บุคลากรและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมฟิจิเข้าถึงวานูอาตูทางท่าอากาศยานนานาชาติซานโท ในเกาะเอสปีรีตูซานโต[49]แล้วคณะเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางเรือ[50] กองทัพอากาศออสเตรเลีย ได้อพยพพลเมืองออสเตรเลียที่อยู่ในวานูอาตู 148 คน[37] ส่วนกองทัพนิวซีแลนด์อพยพชาวนิวซีแลนด์ 81 คนและพลเมืองชาติอื่น 12 คน[51] ทหารฝรั่งเศสอพยพเด็กชาวนิวแคลิโดเนีย 20 คน[52] เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ซี-130 เฮอร์คิวลิสแห่งกองทัพอากาศนิวซีแลนด์ ที่ขนทีมกู้ภัยและค้นหาในเขตเมืองซึ่งกำลังเดินทางไปวานูอาตูต้องลงจอดนูเมอาในนิวแคลิโดเนียเนื่องจากมีการแจ้งเตือนไฟไหม้เครื่องยนต์[53]
วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567 นิวซีแลนด์ส่งมอบความช่วยเหลือมากกว่าเจ็ดตัน[54]พร้อมกับการส่งทีมค้นหาและกูภัยในเขตเมือง เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่สภากาชาดนิวซีแลนด์ ต่อมาได้ส่งโทรศัพท์ดาวเทียมและอุปกรณ์สตาร์ลิงก์[55] วันที่ 22 ธันวาคม สนามบินพอร์ตวิลากลับมาเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์[56]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Vanuatu rocked by major earthquake". dw.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ Yeats, R. (2012), Active Faults of the World, Cambridge University Press, p. 478, ISBN 978-0521190855
- ↑ 3.0 3.1 "Vanuatu quake in world's most active zone". Fiji Broadcasting Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ Frolich, C. (2006). Deep Earthquakes. Cambridge University Press. pp. 399–401. ISBN 978-0805836523.
- ↑ 5.0 5.1 "Powerful earthquake hits Pacific island of Vanuatu, bodies seen in street". France 24. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ ANSS. "2024 M 7.3 – 30 km W of Port-Vila, Vanuatu". Comprehensive Catalog. U.S. Geological Survey
- ↑ "Why earthquakes are more common in places such as Vanuatu". ABC Australia. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ 8.0 8.1 "Live: Rescue efforts continue in Vanuatu, international assistance begins to arrive". Radio New Zealand. 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ 9.0 9.1 "Large earthquake hits battered Vanuatu". France 24. 22 December 2024. สืบค้นเมื่อ 22 December 2024.
- ↑ "Official death toll stands at 12 in Vanuatu with 80,000 affected people earthquake". Radio New Zealand. 22 December 2024. สืบค้นเมื่อ 22 December 2024.
- ↑ Government of Vanuatu (20 December 2024). Vanuatu: Earthquake - NEOC Situation Report #4, 20 December 2024 (Report). ReliefWeb. สืบค้นเมื่อ 20 December 2024.
- ↑ Needham, Kirsty; Hsu, Cordelia (18 December 2024). "Vanuatu earthquake death toll rises to 14 as rescuers search for survivors". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ Tangsathaporn, Poramet (19 December 2024). "One Thai killed, three injured in Vanuatu earthquake". The Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ "Fears Vanuatu health system could be overwhelmed as disease risks rise after quake". The Guardian. 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ "NEOC Situation Report No.1". National Disaster Management Office. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ 16.0 16.1 "Australia sends 'immediate' search and rescue assistance to Vanuatu following powerful earthquake". ABC Australia. 17 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 "Vanuatu 7.3 magnitude earthquake: First reports of damage". Radio New Zealand. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ Pal, Alasdair (17 December 2024). "Magnitude 7.4 earthquake in Vanuatu damages US embassy". Reuters. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "US embassy in Vanuatu suffers 'considerable damage' as powerful quake strikes Pacific nation". CNN. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 "Vanuatu 7.3 earthquake leaves capital without water, as death toll expected to rise". PBS. 18 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ "Vanuatu hit by second earthquake as Australia prepares to deploy 'immediate' assistance". SBS. 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 Dingwall, Doug; Sas, Nick; Dziedzic, Stephen (17 December 2024). "Fears death toll could rise from Vanuatu's magnitude-7.3 earthquake near Port Vila". ABC Australia. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "Bodies Seen In Vanuatu Capital After Major Earthquake: Witness". Agence France-Presse. Barron's. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "Number of dead and missing still unclear as first aid arrives in quake-hit Pacific nation of Vanuatu". Associated Press. 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ "Government coordinates repatriation efforts". FBC. 18 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ 26.0 26.1 Graham-McLay, Charlotte. "14 dead and hundreds injured in magnitude 7.3 quake in Vanuatu. Some people are trapped in rubble". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ 27.0 27.1 "Strong 7.3 magnitude earthquake hits Vanuatu". BBC. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 "Vanuatu earthquake: NZ rescue crews head to quake-hit nation as search for survivors continues". Radio New Zealand. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ "6 unconfirmed deaths as 'violent' 7.4-magnitude quake rocks Vanuatu". Free Malaysia Today. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "First Australian crews en route to Vanuatu to assist rescuers after earthquake". ABC Australia. 18 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ "International rescuers join search for Vanuatu quake survivors". France 24. 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ "TSUNAMI MESSAGE NUMBER 3" (ภาษาอังกฤษ). National Tsunami Warning Center. 17 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "Magnitude 7.4 earthquake strikes near Vanuatu capital". Al Jazeera. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ 34.0 34.1 Kumar, Kreetika. "Broadcasting disrupted as Vanuatu faces earthquake fallout". Fiji Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ Kumar, Rashika. "Fijians struggle for updates as Qereqeretabua pledges continued efforts to get information". FijiVillage (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "Vanuatu quake: Number of dead still unclear as first aid arrives". 1news. 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ 37.0 37.1 "148 Australians return home from Vanuatu as rescuers continue search for earthquake survivors". ABC Australia. 19 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ "Buildings 'pancaked' in Vanuatu as 7.4 magnitude earthquake rocks Pacific nation". South China Morning Post. 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "Vanuatu earthquake death toll rises to 14 as rescuers search for survivors". Al Jazeera. 18 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ "Rescuers extend search for Vanuatu quake survivors". France 24. 20 December 2024. สืบค้นเมื่อ 20 December 2024.
- ↑ "What to know about Vanuatu, the Pacific island nation struggling to recover from a massive quake". Associated Press. 20 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2024. สืบค้นเมื่อ 20 December 2024.
- ↑ "Major quake crushes buildings in Vanuatu capital, bodies seen". Agence France-Presse. France 24. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ Kumar, Kreetika. "One fatality confirmed in Vanuatu; Fiji keeping tabs". Fiji Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "Rescue teams continue hunt for survivors after Vanuatu earthquake". Radio New Zealand. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ "Rescuers race to find survivors as 14 dead after Vanuatu earthquake". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ "Live: Large 7.3 magnitude earthquake strikes near Vanuatu". Radio New Zealand. 17 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2024. สืบค้นเมื่อ 17 December 2024.
- ↑ "Cyclone threat looms as Vanuatu struggles with earthquake aftermath". ABC Australia. 19 December 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ Tuvuki, Simione. "Military joins recovery efforts". Fiji Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 22 December 2024.
- ↑ Mala, Riya. "Fiji ready to assist Vanuatu after devastating earthquake". Fiji Broadcasting Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ "Fiji in contact with AUS and NZ to provide assistance in Vanuatu – PM". FijiVillage (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ "Vanuatu quake: 'The whole ground started to wave'". 1News. สืบค้นเมื่อ 20 December 2024.
- ↑ "Quake-shocked New Caledonian children repatriated from Vanuatu". Radio New Zealand. สืบค้นเมื่อ 21 December 2024.
- ↑ "Vanuatu quake: NZDF Hercules diverted after engine fire warning". Radio New Zealand. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2024. สืบค้นเมื่อ 18 December 2024.
- ↑ "Immediate response still the focus in Vanuatu, but move to rebuild coming, High Commissioner says". Radio New Zealand (ภาษาNew Zealand English). 2024-12-20. สืบค้นเมื่อ 2024-12-20.
- ↑ "'They're struggling': The 3300 Ni-Vanuatu in New Zealand". Radio New Zealand (ภาษาNew Zealand English). 2024-12-20. สืบค้นเมื่อ 2024-12-20.
- ↑ "Commercial flights resume for quake-hit Vanuatu". 1News (ภาษาNew Zealand English). 2024-12-22. สืบค้นเมื่อ 2024-12-22.