เออร์มิน
เออร์มิน | |
---|---|
เออร์มินในสีขนแบบปกติ | |
สีขนในฤดูหนาว | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Mustelidae |
วงศ์ย่อย: | Mustelinae |
สกุล: | Mustela |
สปีชีส์: | M. erminea |
ชื่อทวินาม | |
Mustela erminea Linnaeus, 1758 | |
ชนิดย่อย[2] | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีเขียว-ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, สีแดง-ถิ่นที่ถูกนำเข้าไปแพร่กระจาย) |
เออร์มิน (อังกฤษ: ermine), สโตต (อังกฤษ: stoat) หรือ เพียงพอนหางสั้น (อังกฤษ: short-tailed weasel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Mustela erminea) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินเนื้อขนาดเล็กจำพวกเพียงพอน
เออร์มิน เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ยูเรเชียและอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์นักล่าที่หากินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ไม่เลือก เป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ สีขนของเออร์มินจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวล้วนในช่วงฤดูหนาว สีขนโดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลที่ส่วนหลัง บริเวณท้องซีดจางกว่า หางเป็นพุ่มพวงปลายหางแหลมเป็นสีดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยทั้งสิ้น 37 ชนิด[2]
ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก พฤติกรรมในธรรมชาติ ตัวเมียจะผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนและมีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8–11 เดือน ออกลูกเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6–13 ตัว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถพบเห็นได้ตามหาดทรายจนถึงบนชนบทที่อยู่สูง โดยสามารถพบได้ในทุกความสูงจากระดับน้ำทะเล เออร์มินชอบที่จะอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม ป่าละเมาะ เนินทราย และพุ่มหญ้า จัดเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากและจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่เลือก จึงสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่นกและสัตว์อื่น ๆ เพราะสามารถล่านกตลอดจนไข่กินเป็นอาหารได้ และจัดเป็นสัตว์รังควานอีกชนิดหนึ่ง[3]
เออร์มินได้ถูกนำเข้าไปในนิวซีแลนด์ที่ซึ่งดั้งเดิมไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อมาก่อน ปัจจุบันเออร์มินได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้ว ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์หลายชนิด เช่น นกกีวีหรือนกแก้วคาคาโป โดยเออร์มินจะเข้าไปกินไข่หรือล่าตัวอ่อนนกบินไม่ได้เหล่านี้เป็นอาหาร อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการใกล้สูญพันธุ์[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Reid, F. & Helgen, K. (2008). Mustela erminea.[1] IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2008. Retrieved on 21 March 2009. Database entry includes a brief justification of why this species is of least concern
- ↑ 2.0 2.1 จาก itis.gov
- ↑ ตัวสโทท์
- ↑ Mutant Planet, ทางแอนิมอลแพลนเน็ต. สารคดีทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mustela erminea ที่วิกิสปีชีส์