นกแก้วคาคาโป
นกแก้วคาคาโป | |
---|---|
ซีร็อกโก นกแก้วคาคาโปที่มีชื่อเสียงในเกาะม็อด | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์ปีก |
อันดับ: | Psittaciformes |
วงศ์ใหญ่: | Strigopoidea Bonaparte, 1849 |
วงศ์: | Strigopidae G.R. Gray, 1845 |
สกุล: | Strigops G.R. Gray, 1845 |
สปีชีส์: | Strigops habroptilus |
ชื่อทวินาม | |
Strigops habroptilus G.R. Gray, 1845 |
นกแก้วคาคาโป (มาวรี: kākāpō, มีความหมายว่า "นกแก้วกลางคืน") เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Strigopidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Strigops habroptilus
นกแก้วคาคาโป บ้างก็เรียกว่า "นกแก้วฮูก" ซึ่งเป็นนกแก้วที่บินไม่ได้ที่พบในนิวซีแลนด์เท่านั้น ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการบนเกาะโดดเดี่ยว ทำให้มีรูปลักษณ์พิเศษ โดยบรรพบุรุษร่วมของนกแก้วคาคาโปและนกในสกุล Nestor ในวงศ์ใหญ่ Strigopoidea เดียวกัน ซึ่งได้แยกไปอยู่ต่างหากจากนกแก้วชนิดอื่น ๆ หลังจากนิวซีแลนด์แยกตัวออกจากทวีปกอนด์วานา เมื่อประมาณ 82 ล้านปีก่อน จากนั้นอีก 12 ล้านปีต่อมาหรือประมาณ 70 ล้านปีก่อน นกแก้วคาคาโปจึงแยกออกจากนกสกุล Nestor ชัดเจน
จากสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสัตว์นักล่าบนเกาะนิวซีแลนด์ ทำให้นกแก้วคาคาโปมีวิวัฒนาการเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่บินไม่ได้ และยังครองสถิติอีกหลายอย่าง คือเป็นนกแก้วที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก มีขนาดตัวระหว่าง 59-64 เซนติเมตร และหนักถึง 4 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่ามันเป็นนกแก้วที่มีอายุยืนที่สุดด้วย โดยมีสถิติพบอายุยืนที่สุดถึง 100 ปี อีกทั้งเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่หากินตอนกลางคืน และมีระบบการผสมพันธุ์ที่ตัวผู้จะอยู่ในอาณาเขตหรือรังของตัวเองและส่งเสียงเรียกตัวเมีย ซึ่งมีเสียงร้องคล้ายเสียงกบและจะร้องติดต่อกันนานถึง 3 เดือน วันละ 8 ชั่วโมง และเสียงร้องจะได้ยินไปไกลถึง 5 กิโลเมตร[3]
ลักษณะ
[แก้]นกแก้วคาคาโปตัวเต็มวัยมีลำตัวเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีน้ำตาลและเหลือง ช่วยให้สามารถพรางตัวได้ดีบนผืนป่า แต่ในวัยอ่อนสีสันจะไม่สดใส และหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับนกฮูก มีสีออกน้ำตาล นกแก้วคาคาโปปีนต้นไม้ได้เก่ง และทำโพรงอยู่ใต้ดินเหมือนกระต่าย
เดิมนกแก้วคาคาโปเคยอยู่กระจายทั่วไปภายในเกาะเหนือ เกาะใต้ และเกาะสจวร์ต เกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ได้ในป่าทุกรูปแบบ แต่พบการล่าจากชาวพื้นเมืองมาวรี และการอพยพมาของชาวยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้นำมาซิ่งชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น สุนัข และตัวพอสซั่ม ซึ่งเป็นสัตว์นักล่า ซึ่งเกือบทำให้นกแก้วคาคาโปต้องสูญพันธุ์
ในช่วงปี ค.ศ. 1980-ค.ศ. 1997 สำนักงานอนุรักษ์ของนิวซีแลนด์ได้นำนกแก้วคาคาโปที่ยังหลงเหลืออยู่ทั้งหมดบนเกาะสจวร์ตไปอยู่ยังที่อยู่ใหม่ เป็นหมู่เกาะที่ปลอดภัยจากสัตว์นักล่าทั้งหลายมารบกวน เพื่อสงวนนกแก้วคาคาโปไม่ให้สูญพันธุ์ ปัจจุบันจึงเหลือนกชนิดนี้อยู่บนเกาะคอดฟิชและเกาะชอล์กกีที่ถูกใช้เป็นแหล่งอนุรักษ์นก ทำให้ปริมาณนกแก้วคาคาโปเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 1995 จาก 55 ตัว เป็น 111 ตัวในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2009
อนุกรมวิธาน
[แก้]นกแก้วคาคาโปได้รับการจำแนกโดยนักปักษีวิทยาชาวอังกฤษ จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์ ใน ค.ศ. 1845 ชื่อสกุลมาจากภาษากรีกโบราณ strigos จาก strix ที่แปลว่า "นกฮูก" และ ops ที่แปลว่า "หน้า" ขณะที่ชื่อลักษณะมาจาก habros ที่แปลว่า "นุ่ม" และ ptilon ที่แปลว่า "ขนนก"[4] ด้วยการที่มันมีลักษณะที่โดดเด่นต่างนกแก้วอื่น และเคยถูกจำแนกไว้ในเผ่า Strigopini ของมันเองในการจำแนกเบื้องต้น
จากการศึกษาสายวิวัฒนาการล่าสุดยืนยันว่านกแก้วคาคาโป (สกุล strigops) มีความสัมพันธ์กับนกแก้วคาคาและนกแก้วคีอา (นกแก้ว 4 ชนิดในสกุล Nestor)[5][6][7] ทั้งหมดได้รับการพิจารณาแบ่งแยกออกมาเป็นวงศ์ใหญ่นกแก้วนิวซีแลนด์ (Strigopidae)[8] จากเดิมอยู่ในวงศ์ Nestoridae
ก่อนหน้านี้นักปักษีวิทยาคิดว่านกแก้วคาคาโปอาจเป็นญาติใกล้ชิดกับนกแก้วนกแก้วกลางคืนและนกแก้วดินของประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากสีสันคล้ายคลึงกัน แต่ความคิดนี้ขัดแย้งกับการศึกษาล่าสุด[9][10] สีพรางตัวน่าจะเกิดจากการปรับตัวในการหากินบนพื้นดินซึ่งเป็นการวิวัฒนาการแบบวิวัฒนาการเบนเข้า
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อ "Kakapo (คาคาโป)" เป็นการเลียนเสียงเป็นภาษาอังกฤษของคำว่า "kākāpō" ในภาษามาวรี คำว่า kākā ("นกแก้ว") + pō ("กลางคืน")
คำในภาษาโพลีนีเซีย kākā และการผันแปร ʻāʻā เป็นคำที่ใช้เรียกนกแก้ววงศ์ Psittacidae ที่อาศัยทั่วไปในแปซิฟิกใต้ เช่น ชื่อพื้นเมืองของนกแก้วเล็กแบล็คฟรอนต์ (Cyanoramphus zealandicus) ที่สูญพันธุ์ไปแล้วของตาฮีตี และนกแก้วนิวซีแลนด์สกุล Cyanoramphus มีชื่อพื้นเมือง "คาคา" ลักษณะเดียวกัน
สื่อ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2018). "Strigops habroptilus". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T22685245A129751169. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T22685245A129751169.en. สืบค้นเมื่อ 4 September 2024.
- ↑ "Assessment Details". nztcs.org.nz. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
- ↑ [ลิงก์เสีย] รายการแดนสนธยา : ดินแดนสวรรค์แปซิฟิกตอนใต้ ตอน 14 ออกอากาศทางช่อง 4 : 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
- ↑ Liddell, Henry George and Robert Scott (1980). A Greek-English Lexicon (Abridged Edition). United Kingdom: Oxford University Press. ISBN 0-19-910207-4.
- ↑ Wright, T. F.; Schirtzinger, E. E.; Matsumoto, T.; Eberhard, J. R.; Graves, G. R.; Sanchez, J. J.; Capelli, S.; Muller, H.; Scharpegge, J.; Chambers, G. K.; Fleischer, R. C. (2008). "A Multilocus Molecular Phylogeny of the Parrots (Psittaciformes): Support for a Gondwanan Origin during the Cretaceous". Mol Biol Evol. 25 (10): 2141–2156. doi:10.1093/molbev/msn160. PMC 2727385. PMID 18653733.
- ↑ Grant-Mackie, E. J.; Grant-Mackie, J. A.; Boon, W. M.; Chambers, G. K. (2003). "Evolution of New Zealand Parrots". NZ Science Teacher. 103.
- ↑ de Kloet, R. S.; de Kloet, S. R. (2005). "The evolution of the spindlin gene in birds: Sequence analysis of an intron of the spindlin W and Z gene reveals four major divisions of the Psittaciformes". Molecular Phylogenetics and Evolution. 36 (3): 706–721. doi:10.1016/j.ympev.2005.03.013. PMID 16099384.
- ↑ Christidis L, Boles WE (2008). Systematics and Taxonomy of Australian Birds. Canberra: CSIRO Publishing. p. 200. ISBN 978-0-643-06511-6.
- ↑ Schodde, R. & Mason, I.J. (1981). Nocturnal Birds of Australia. Illustrated by Jeremy Boot. Melbourne: Lansdowne Edns 136 pp. 22 pls [35-36]
- ↑ Leeton, P.R.J., Christidis, L., Westerman, M. & Boles, W.E. (1994). Molecular phylogenetic relationships of the Night Parrot (Geopsittacus occidentalis) and the Ground Parrot (Pezoporus wallicus). Auk 111: 833-843
ข้อมูล
[แก้]- Higgins, P.J., บ.ก. (1999). "Strigops habroptilus Kakapo" (PDF). Handbook of Australian, New Zealand & Antarctic Birds. Vol. 4: Parrots to Dollarbird. Melbourne, Victoria: Oxford University Press. pp. 633–646. ISBN 978-0-19-553071-1.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Butler, David (1989). Quest for the kakapo. Auckland: Heinemann Reed. ISBN 978-0-7900-0065-7.
- Climo, Gideon; Ballance, Alison (1997). Hoki: The story of a kakapo. Auckland: Godwit. ISBN 978-1-86962-009-7.
- Jones, Jenny (2003). The kakapo. Auckland: Reed. ISBN 978-1-86948-662-4.
- Williams, Murray; Merton, Don (2006). "Saving kakapo: An illustrated history" (PDF). Notornis. 53 (1).
- Steinig, Günther, บ.ก. (Feb 1963). "Eulenpapagei oder Kakapo (Strigops habroptilus)". Brehms Exotische Vogelwelt. Berlin: Safari. pp. 62–71.
Die Darstellung folgt vor allem Beobachtungen frühen Erforschern Neuseelands, wie Julius Haast, Georg Grey und Lyall.
- Rearden, Jim (Feb 1978). "Die letzten Tage des Kakapo". Geo-Magazin. Hamburg. pp. 88–102. ISSN 0342-8311.
über die Erhaltungsbemühungen in Fiordland
- "Vom Leben eines totgesagten Vogels". Geo-Magazin. Hamburg. Oct 2006. pp. 176–180. ISSN 0342-8311.
- Schreiber, R.L.; Diamond, A.W.; Stern, H.; Thielcke, G., บ.ก. (1987). "Eulenpapagei. Brummend balzt das letzte Männchen". Rettet die Vogelwelt. Ravensburg: O. Maier. pp. 198–201. ISBN 3-473-46160-1.
- Adams, Douglas; Carwardine, Mark (1990). Last Chance to See. Pan Books. ISBN 978-0-345-37198-0.
- Cemmick, David; Veitch, Dick (1987). Kakapo Country: The story of the world's most unusual bird. Foreword by David Bellamy. Photos by D. Cemmick. Auckland: Hodder & Stoughton. ISBN 0-340-41647-5.
- Temple, Philip; Gaskin, Chris (1988). The Story of the kakapo. Parrot of the Night. Auckland: Hodder & Stoughton. ISBN 0-340-51967-3.
Prizewinner: Children's Picture Book of the Year Award 1990
- Powlesland, R.G.; Roberts, A.; Lloyd, B.D.; Merton, D. (1995). "Number, fate, and distribution of Kakapo (Strigops habroptilus) found on Stewart Island, New Zealand 1979–1992" (PDF). New Zealand Journal of Zoology. 22 (3): 239–248. doi:10.1080/03014223.1995.9518039. ISSN 0301-4223. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 September 2004 – โดยทาง rsnz.org.
- Cresswell, Mary (1996). Kakapo Recovery Plan 1996–2005 (PDF). Kakapo Management Group. Threatened Species Recovery Plan. Wellington: Department of Conservation (DoC). ISBN 0-478-01773-1. No. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 November 2007 – โดยทาง kakaporecovery.org.nz.
- Higham, Tim (July–September 1992). "The kakapo of Codfish Island". New Zealand Geographic. Vol. 15. pp. 30–38. ISSN 0113-9967.
- Grzelewski, Derek (March–April 2002). "Kakapo: Bird on the brink". New Zealand Geographic Magazine. Vol. 56. Ohakune. ISSN 0113-9967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2006.
- Hutching, Gerard (2004). Back from the Brink: The fight to save our endangered birds. Auckland: Penguin Books. ISBN 0-14-301948-1.
- Clout, Mick N. (2006). "A celebration of kakapo: progress in the conservation of an enigmatic parrot" (PDF). Notornis. 53: 1–2.