เรือนขนมปังขิง
หน้าตา
เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่งลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงามเหมือนขนมปังขิง
คำว่า ขนมปังขิง มาจากภาษาอังกฤษว่า "Gingerbread" ซึ่งเป็นขนมปังขิงของชาวยุโรป ตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม มีลักษณะหงิกงอเป็นแง่งคล้ายขิง จึงใช้เป็นคำเรียกลวดลายทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยวิกตอเรียซึ่งตรงกับสมัยการปกครองของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
ตัวอย่างเรือนขนมปังขิงในประเทศไทย
[แก้]- กรุงเทพมหานคร
- พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ภายในพระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต
- พระตำหนักเพ็ชร ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร
- วังบางพลู เชิงสะพานกรุงธนบุรี ฝั่งธนบุรี
- โรงเรียนตะละภัฏศึกษา (เดิมคือโรงละครปรีดาลัย) ภายในแพร่งนรา
- หมู่กุฏิวัดสวนพลู
- บ้านเอกะนาค ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- บ้านขนมปังขิง เสาชิงช้า เยื้องกับศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
- ทำเนียบท่าช้าง หรือวังถนนพระอาทิตย์
- กุฎีเจริญพาศน์
- จังหวัดแพร่
อ้างอิง
[แก้]- หนังสือ
- น. ณ ปากน้ำ แบบแผนบ้านเรือนในสยาม สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ พ.ศ. 2548 ISBN 974-7383-85-3
- งานวิจัย
- เกศฐิศานติ ส้มทอง, การศึกษาเรื่องเรือนขนมปังขิงในเขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย], พ.ศ. 2539, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่