เมอร์คาวา
บทบาท | รถถังประจัญบานหลัก |
---|---|
สัญชาติ | อิสราเอล |
ประจำการ | ปีพ.ศ. 2522-ปัจจุบัน[1] |
ผู้ใช้งาน | กองกำลังป้องกันอิสราเอล |
สงคราม | สงครามเลบานอน พ.ศ. 2525 ความขัดแย้งเลบานอนใต้ สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549 อินทิฟาด้าครั้งแรก อินทิฟาด้าครั้งที่สอง สงครามกาซา |
ผู้ออกแบบ | มานทัก |
บริษัทผู้ผลิต | มานทัก/เหล่ายุทโธปกรณ์กองกำลังป้องกันอิสราเอล |
มูลค่า | ประมาณ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] |
ช่วงการผลิต | ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2517 |
จำนวนที่ผลิต | (มีนาคม พ.ศ. 2555) มาร์ค 1: 250 คัน มาร์ค 2: 580 คัน มาร์ค 3: 780 คัน มาร์ค 4: 360 คัน (มีอย่างมากอีก 300 คันในรายการสั่งซื้อ)[3] |
น้ำหนัก | 65 ตัน |
ความยาว | 9.04 เมตร (รวมปืน) 7.60 เมตร (ไม่รวมปืน) |
ความกว้าง | 3.72 เมตร (ไม่รวมชายเกราะ) |
ความสูง | 2.66 เมตร (รวมยอดป้อมปืน) |
ลูกเรือ | 4 นาย (ผู้บัญชาการรถถัง พลปืน พลบรรจุ และพลขับ) บรรทุกผู้โดยสารสูงสุด 6 คน[4] |
เกราะ | เกราะคอมโพสิท/เกราะลาดเอียง เป็นความลับ |
อาวุธหลัก | ปืนใหญ่ลำกล้องเกลี้ยง เอ็มจี253 ขนาด 120 มม. ใช้กระสุนลาแฮทและเอทีจีเอ็ม |
อาวุธรอง | ปืนกล ขนาด 12.7 ม.ม.หนึ่งกระบอก ปืนกล ขนาด 7.62 ม.ม.สองกระบอก ปืนครก 1 กระบอก ระเบิดควัน 12 ลูก |
เครื่องยนต์ | เครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบชาร์จ 1,500 แรงม้า |
กำลัง/น้ำหนัก | 23 แรงม้า/ตัน |
ระบบส่งกำลัง | เรงค์ อาร์เค 325 |
ระบบช่วงล่าง | คอยล์สปริง |
ระยะห่างระหว่างตัวถังกับพื้น | 0.45 เมตร |
ความจุเชื้อเพลิง | 1,400 ลิตร |
พิสัย | 500 กิโลเมตร |
ความเร็ว | บนถนน: 64 กม./ชม. นอกถนน: 55 กม./ชม. |
เมอร์คาวา (ฮิบรู: , รถม้าศึก) เป็นรถถังประจัญบานหลักที่ใช้โดยกองกำลังป้องกันอิสราเอล รถถังนี้เริ่มการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2516 และเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2522 ปัจจุบันมีรถถังนี้สี่รุ่นที่นำมาใช้งานจริง เมอร์คาวาปฏิบัติภารกิจแรกอย่างจริงจังในสงครามเลบานอน พ.ศ. 2525 คำว่า"เมอร์คาวา"ผันมาจากชื่อโครงการพัฒนาช่วงแรกของกองกำลังป้องกันอิสราเอล
เมอร์คาวาถูกออกแบบมาเพื่อการซ่อมบำรุงอย่างรวดเร็วในการรบ ความสามารถในการอยู่รอด การลงทุนที่มีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่บริเวณนอกถนน รุ่นล่าสุดคือรถถังปืนใหญ่อัตตาจรที่มีส่วนของป้อมปืนย้ายไปด้านหลังมากขึ้นกว่ารถถังประจัญบานทั่วไป ด้วยการที่นำเครื่องยนต์ไว้ด้านหน้า การออกแบบดังกล่าวทำให้รถถังมีการป้องกันจากการโจมตีด้านหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะการโจมตีพลขับ นอกจากนี้แล้วยังทำให้มีพื้นที่ที่ด้านหลังของรถถังมากขึ้นเพื่อการบรรทุกสัมภาระ เช่นเดียวกับการมีทางเข้าออกที่ส่วนหลังเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าออกรถถังในขณะถูกโจมตี สิ่งนี้ทำให้เมอร์คาวาสามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์พยาบาล ศูนย์ควบคุมและบัญชาการแนวหน้า และยานหุ้มเกราะลำเลียงพล ทางเข้าออกด้านหลังที่เปิดปิดแบบบนล่างทำให้ป้องกันการยิงจากด้านบนได้
มีรายงานไม่นานก่อนที่สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549 จะเริ่มต้นว่าสายการผลิตเมอร์คาวาจะหยุดทำงานภายในสี่ปี[5] อย่างไรก็ดี ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 หนังสือพิมพ์ฮาเรทซ์ของอิสราเอลรายงานว่าคณะเสนาธิการของอิสราเอลได้พูดถึงเมอร์คาวา มาร์ค 4 ว่า "หากใช้งานอย่างถูกต้อง รถถังนี้จะให้การป้องกันแก่ทหารได้ดีกว่าแต่ก่อน" และได้เลื่อนการพิจารณาที่จะหยุดสายการผลิตเมอร์คาวาไป[6]
การพัฒนา
[แก้]ในปี พ.ศ. 2508 กองทัพอิสราเอลได้เริ่มทำการพัฒนาซึ่งนำไปสู่การวิจัยและสร้างรถถังที่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งเรียกว่า รถถัง"ซาบรา"[ต้องการอ้างอิง] (ไม่ใช่รถถังซาบราของยุคใหม่) เริ่มแรกอังกฤษและอิสราเอลได้ช่วยกันดัดแปลงรถถังชิฟเทนของอังกฤษ ที่เพิ่งจะเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2509 [ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2512 อังกฤษตัดสินใจที่จะไม่ขายรถถังดังกล่าวให้กับอิสราเอลด้วยเฟตุผลทางการเมือง[7]
ผู้บัญชาการกรมอิสราเอล ทาลที่เข้ามาทำหน้าที่หลังจากวิกฤตการณ์สุเอซ ได้เริ่มโครงการสร้างรถถังของอิสราเอลขึ้นอีกครั้ง โดยใช้บทเรียนจากสงครามยมคิปเปอร์เมื่อปี พ.ศ. 2516 ซึ่งอิสราเอลถูกจำนวนที่มากกว่าของข้าศึกชาติอาหรับเล่นงาน[7]
เมื่อถึงปี พ.ศ. 2517 การออกแบบช่วงแรกก็สำเร็จสมบูรณ์และรถถังต้นแบบก็ถูกสร้างออกมา หลังจากทำการทดสอบพอประมาณก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนโรงงานอาวุธเทล ฮาโชเมอร์ให้ผลิตรถถังเต็มอัตรา หลังจากที่โรงงานสร้างเสร็จได้มีการประกาศต่อสาธารณชนว่า เมอร์คาวาจะเป็นรถถังรุ่นต่อไปของอิสราเอล ภาพแรกอย่างเป็นทางการของเมอร์คาวาถูกตีพิมพ์ต่อสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ใช้เมอร์คาวาอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 เมอร์คาวาคันแรกถูกส่งมอบให้กับกองกำลังป้องกันอิสราเอลในเดือนเมษายน พ.ศ. 2522 เป็นเวลาเกือบเก้าปีหลังจากที่มีการตัดสินใจสร้างเมอร์คาวา มาร์ค 1
ผู้รับเหมารายหลัก
[แก้]องค์กรหลังที่รวบรวมส่วนประกอบต่างๆ ของเมอร์คาวาไว้ด้วยกันคืออุตสาหกรรมทหารอิสราเอล ส่วนเหล่ายุทโธปกรณ์อิสราเอลมีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบเมอร์คาวา ผู้ร่วมสร้างรายอื่นๆ มีดังนี้ :[8]
- อุตสาหกรรมทหารอิสราเอล ผลิตปืนขนาด 105 มม.และ 120 มม. รวมทั้งกระสุน
- อุตสาหกรรมเออร์แดน สร้างและประกอบโครงรถถัง ระบบส่งกำลัง และป้อมปืน
- โซลแทม ผลิตปืนครกขนาด 60 มม.
- เอลต้า ออกแบบและผลิตเซ็นเซอร์และอินฟาเรด
- เอลบิต ส่งมอบคอมพิวเตอร์คำนวณการยิงและระบบควบคุมการยิงแแบบดิจิทัล
- ทาดิรัน สร้างเครื่องปรับอากาศในตัวรถ แผงสื่อสารของลูกเรือ และอุปกรณ์วิทยุ
- เอล-ออพ, เอลิสรา และแอสโตรนอติกส์ติดตั้งระบบเตือนภัยด้วยเลเซอร์และกล้อง
- ราฟาเอล แอดวานซ์ ดีเฟนส์ ซิสเทมส์ สร้างและติดตั้งศูนย์อาวุธเหนือหัวและระบบป้องกันโทรฟี
- แอล-3 คอมมิวนิเคชั่น คอมแบท พรอพพัลชั่น ซิสเทมส์ ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล เอ็มทียู เอ็มที883 ลิขสิทธิของเยอรมนี ซึ่งให้กำลัง 1,500 แรงม้าและระบบเกียร์เรงค์ อาร์เค325
- โมโตโรลา ให้ชิ้นส่วนระบบสื่อสารแบบรหัสแก่ทาดิรัน
- ดูปองต์ ส่งโนเม็กซ์ วัสดุกันไฟ ที่ใช้โดยฮาเกอร์
- อุตสาหกรรมทหารรัสเซีย ช่วยออกแบบเครื่องกวาดทุ่นระเบิด เคเอ็มที-4 และ -5 รวมทั้งใบมีดไถดินเอบีเค-3 ปัจจุบันผลิตโดยเออร์แดน
- เอ็มเอ็น เฮอร์สตัล ผลิตปืนกลแม็ก 58 ขนาด 7.62 มม.และปืนกลเอ็ม2 ขนาด 12.7 มม.
- คาเตอร์พิลลาร์ ช่วยออกแบบระบบสายพานของรถถัง
- อุตสาหกรรมเบนทัล ผลิตเครื่องยนต์ไร้แปรงถ่านที่ใช้กับป้อมปืนและระบบควบคุมปืนของมาค 4[9]
เอกลักษณ์ทั่วไป
[แก้]อำนาจการยิง
[แก้]เมอร์คาวา มาร์ค 1 และ 2 นั้นมีอาวุธเป็นปืนใหญ่เอ็ม68 ขนาด 105 มม. ในมาร์ค 3 นั้นเป็นดอร์ ดาเล็ท บาซ คาสแซค (Dor Dalet BAZ kassag) และของมาร์ค 4 เป็นปืนลำกล้องเกลี้ยง ขนาด 120 มม.
เมอร์คาวาแต่ละรุ่นมีปืนกลขนาด 7.62 มม.เพื่อเป็นอาวุธต่อต้านทหารราบและปืนครกขนาด 60 มม.ที่สามารถบรรจุกระสุนและยิงจากข้างในตัวรถถังได้
การขับเคลื่อน
[แก้]เครื่องยนต์ดีเซลแบบเทอร์โบชาร์จที่ให้กำลัง 1,500 แรงม้าถูกออกแบบโดยเอ็มทียูและผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์โดยบริษัทแอล-3 คอมมิวนิเคชั่น คอมแบท พรอพพัลชั่น ซิสเทมส์ (อดีตเป็นเจเนรัล ไดนามิกส์)
รุ่นต่างๆ
[แก้]เมอร์คาวา มาร์ค 1
[แก้]รุ่นมาร์ค 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นรุ่นดั้งเดิมที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของผู้บัญชาการกรมอิสราเอล ทาล และได้ถูกปรับเปลี่ยนและออกแบบมาเพื่อการผลิตขนานใหญ่ มาร์ค 1 มีน้ำหนัก 63 ตันและมีเครื่องยนต์ดีเซลที่ให้กำลัง 900 แรงม้า ซึ่งมีอัตรากำลังที่ 14 แรงม้าต่อหนึ่งตัน มันมีอาวุธหลักเป็นปืนเอ็ม68 ขนาด 120 มม. (เป็นแบบลอกเลียนจากโรยัล ออร์ดแนนซ์ แอล7 ของอังกฤษโดยซื้อลิขสิทธิ์มา) มีปืนกลขนาด 7.62 มม.อีกสองกระบอก[10] และปืนคกขนาด 60 มม.ที่ด้านนอกรถถัง ซึ่งไม่มีที่กำบังให้กับผู้ใช้เวลาใช้งาน
การออกแบบโดยทั่วไปนั้นได้ยืมเอาตีนตะขาบของรถถังเซนจูเรียนของอังกฤษ ซึ่งถูกใช้อย่างหนักในช่วงสงครมยมคิปเปอร์
เมอร์คาวาทำการรบครั้งแรกในสงครามเลบานอน พ.ศ. 2525 ซึ่งอิสราเอลได้ใช้เมอร์คาวา 180 คัน แม้ว่าพวกมันจะทำงานได้สำเร็จ แต่รถหุ้มเกราะลำเลียงพลที่ร่วมรบด้วยได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากและต้องถอนตัวออกจากการรบ เมอร์คาวาจึงได้รับหน้าที่เพิ่มให้เป็นหน่วยพยาบาลสำหรับทหารราบ โดยการนำเอาส่วนเก็บกระสุนออก ทหาร 10 นายสามารถเข้าออกรถถังโดยใช้ประตูหลังของรถถังได้
หลังสิ้นสุดสงครามได้มีการติดตั้งและปรับเปลี่ยนมากมายให้กับเมอร์คาวา สิ่งสำคัญที่สุดคือการย้ายจุดติดตั้งปืนครกขนาด 60 มม.ไปไว้ในตัวรถและใช้การยิงด้วยรีโมตแทน เป็นจุดสำคัญที่อิสราเอลเรียนรู้มาจากเซนจูเรียน มาร์ค3 ที่ใช่ปืนครกขนาด 2 นิ้ว[11] นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งตาข่ายลูกโซ่เพื่อป้องกันอาร์พีจีและอาวุธต่อต้านรถถัง
เมอร์คาวา มาร์ค 2
[แก้]รุ่นมาร์ค 2 ถูกนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2526 และได้รับการยกระดับเล็กน้อยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการรบในเลบานอน รถถังรุ่นใหม่นี้มีการปรับให้สามารถรบในสภาพที่เป็นเมืองได้และเหมาะกับการปะทะขนาดเล็ก ด้วยน้ำหนักและเครื่องยนต์ที่ยังเหมือนของมาร์ค 1[12]
มาร์ค 2 ใช้ปืนใหญ่ขนาด 105 มม.และปืนกลขนาด 7.62 มม.เหมือนมาร์ค 1 แต่สำหรับปืนครกขนาด 60 มม.ได้ถูกออกแบบใหม่ให้ติดตั้งอยู่ภายในรถถังและควบคุมการยิงด้วยรีโมตเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารถูกยิงเวลาต้องใช้ปืนครก ระบบส่งกำลังแบบอัตโนมัติที่อิสราเอลสร้างขึ้นและถังเชื้อเพลิงที่ใหญ่ขึ้นถูกติดตั้งให้กับมาร์ค 2 ทุกคันที่ผลิตภายหลัง ตาข่ายต่อต้านจรวดถูกติดตั้งเข้าไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการอยู่รอดเมื่อต้องเผชิญกับทหารราบติดอาวุธต่อต้านรถถัง การพัฒนาขนาดย่อมอีกมากมายถูกจัดขึ้นให้กับระบบควบคุมการยิง เซ็นเซอร์อุตุนิยม ตัวประเมินทิศทางลม และกล้องจับอุณหภูมิและเครื่องขยายความชัดของภาพ ทำให้รถถังมีความสามารถในการรับรู้สมรภูมิที่ดีขึ้น
รุ่นที่มีการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไปของมาร์ค 2 นั้นจะมีชื่อต่างกันไป และหลายคันยังคงประจำการอยู่ในปัจจุบัน:
- มาร์ค 2บี, มีกล้องจับอุณหภูมิและระบบควบคุมการยิงที่ได้รับการพัฒนาขึ้น
- มาร์ค 2ซี, มีเกราะเสริมที่ด้านบนป้อมปืนเพื่อป้องกันจากโจมตีทางอากาศ
- มาร์ค 2ดี, มีเกราะคอมโพสิทแยกส่วนที่ตัวถังและป้อมปืน สามารถหาเกราะทดแทนได้อย่างรวดเร็วเมื่อได้รับความเสียหาย
เมอร์คาวา มาร์ค 3
[แก้]เมอร์คาวา มาร์ค 3 นั้นเริ่มเข้าทำหน้าที่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2532 มีการยกระดับส่วนส่งกำลัง อาวุธ และระบบอิเลคทรอนิก สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือปืนไอเอ็มไอ ขนาด 120 มม.[13] ด้วยปืนนี้และเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ขึ้นด้วยกำลัง 1,200 แรงม้า ทำให้รถถังมีน้ำหนักเป็น 65 ตัน แต่เครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่าทำให้มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[14]
ป้อมปืนได้รับการปรับเปลี่ยนให้เคลื่อนที่ได้อิสระจากตัวรถถัง ทำให้มันสามารถติดตามเป้าหมายไม่ว่ารถถังจะหันไปทางไหนก็ตาม การพัฒนาอื่นๆ มีดังนี้
- โทรศัพท์สองทางที่ภายนอกตัวรถเพื่อสื่อสารกับทหารราบ
- ส่วนเก็บกระสุนที่ลดการเกิดระเบิดของตัวกระสุนเมื่อถูกความร้อน
- ติดตั้งเลเซอร์ชี้เป้า
- การรวมเข้ากับระบบเกราะแยกส่วนคาแซคที่ออกแบบมาเพื่อการซ่อมบำรุงที่รวดเร็วในสนามรบและเหมาะกับการยกระดับได้อย่างรวดเร็ว
- การสร้างมาร์ค 3บี พร้อมรายละเอียดของเกราะที่ยังไม่ถูกระบุ
ระบบบาซ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2538 มาร์ค 3 บาซ (BAZ ย่อมาจากภาษาฮิบรู Barak Zoher) ได้รับการพัฒนาและเสริมระบบมากมายเข้าไป เช่น
- ระบบควบคุมการยิงที่ยกระดับขึ้น ผลิตโดนบริษัทเอล-ออพและเอลบิท ทำให้รถถังสามารถจัดการกับเป้าหมายเคลื่อนที่ขณะที่รถถังเองก็เคลื่อนที่เช่นกัน
- ระบบป้องกันอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง
- ระบบปรับอากาศที่มีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นมากขึ้น
- ระบบป้องกันอาวุธกระสุนและจรวด
- มาร์ค 3ดี มีเกราะคอมโพสิทแยกส่วนที่สามารถถอดออกได้ทั้งบนตัวรถและป้อมปืน
ดอร์-ดาเล็ท
[แก้]เป็นรุ่นสุดท้ายของมาร์ค 3 มีชื่อว่ามาร์ค 3 ดี ดอร์-ดาเล็ท (Dor-Dalet เป็นภาษาฮิบรูที่แปลว่า รุ่นที่สี่) ซึ่งมีการพัฒนาเพื่อเป็นการปูทางให้กับมาร์ค 4
- ตีนตะขาบที่ได้รับการพัฒนาให้แข็งแกร่งขึ้น (สร้างโดยบริษัทคาเตอร์พิลลาร์ ออกแบบโดยอิสราเอล)
- ติดตั้งสถานีอาวุธเหนือหัวราฟาเอล (Rafael Overhead Weapon Station)
เมอร์คาวา มาร์ค 4
[แก้]เมอร์คาวา มาร์ค 4 เป็นรุ่นพัฒนาล่าสุดของเมอร์คาวาและได้พัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 การพัฒนาดังกล่าวเปิดตัวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตาม เมอร์คาวา มาร์ค 3 ยังคงผลิตต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2546 เมอร์คาวา มาร์ค 4 คันแรกๆ ถูกผลิตขึ้นในจำนวนจำกัดเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2547[15]
เอกลักษณ์
[แก้]มาร์ค 4 มีระบบควบคุมการยิงแบบใหม่ของบริษัทเอล-ออพ เรียกว่า ไนท์ มาร์ค 4 (Knight Mark 4) มีเกราะแยกส่วนที่ถอดได้แบบมาร์ค 3ดี โดยนำมาติดตั้งรอบตัวรถ รวมทั้งด้านบนและรูปทรงวีที่ใต้ท้องรถ ระบบเกราะนี้ถูกออกแบบเพื่อให้รถถังได้รับการซ่อมแซมที่รวดเร็วและกลับเข้ารบให้เร็วที่สุด
กระสุนถูกเก็บไว้ในที่เก็บกันไฟ ซึ่งลดโอกาสที่กระสุนจะระเบิดเมื่อถูกความร้อนเมื่อเกิดไฟไไหม้ในรถถัง ในป้อมปืนนั้นจะไม่มีกระสุนอยู่เลย
นอกจากนี้ยังมีการปรับรูปร่างของรถถัง สีไม่สะท้อน และเกราะสำหรับไอเสียรถที่จะผสมกับอากาศทำให้เกิดภาพความร้อนที่ข้าศึกสับสน โดยเป็นโครงการที่นำมาจากกองทัพอากาศอิสราเอลเพื่อให้รถถังตกเป็นเป้าได้ยากขึ้นในจอเรดาร์และตัวจับความร้อนของศัตรู
มาร์ค 4 มีปืนขนาด 120 มม.ที่ใหญ่กว่าของรุ่นอื่นๆ แต่สามารถยิงกระสุนได้หลากหลายกว่า อย่างกระสุนระเบิดแรงสูงต่อต้านรถถังและกระสุนแซ็บบ็อตอย่างกระสุนเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์ โดยใช้แม็กกาซีนแบบหมุนกึ่งไฟฟ้าที่บรรจุกระสุน 10 นัด นอกจากนี้ยังมีปืนกลขนาด 12.7 มม.ที่มีขนาดใหญ่กว่าเพื่อจัดการเป้าหมายที่เป็นยานพาหนะ[16]
ระบบควบคุมการยิง
[แก้]ระบบควบคุมการยิงแบบใหม่ทำให้เมอร์คาวาสามารถยิงเฮลิคอปเตอร์สัญชาติรัสเซียอย่างมิล เอ็มไอ-24 และฝรั่งเศสอย่างกาเซล์ได้
ตีนตะขาบแบบใหม่
[แก้]มาร์ค 4 มีระบบตีนตะขาบที่เรียกว่า ทีซอว์ส (Tracks, Springs, and Wheels System)" ระบบดังกล่าวถูกออกแบบมาให้ทดทานต่อพื้นหินบะซอลต์ในเลบานอนและที่ราบสูงโกลัน T
ระบบจัดการสนามรบแบบดิจิทัล
[แก้]มาร์ค 4 มีระบบจัดการสนามรบด้วยดิจิทัลของบริษัทเอลบิท เป็นระบบที่ใช้ข้อมูลจากเป้าหมายและยูเอวีในสนามรบ มาแสดงข้อมูลบนจอสีและส่งต่อรหัสข้อมูลไปยังหน่วยรบอื่นๆ ที่มีระบบจัดการสนามรบดังกล่าว
การซ่อมแซมที่รวดเร็วและการลดค่าใช้จ่าย
[แก้]เมอร์คาวา มาร์ค 4 ถูกออกแบบมาสำหรับการซ่อมบำรุงที่รวดเร็วและสามารถเปลี่ยนเกราะใหม่เพื่อทดแทนเกราะที่เสียหายได้ไวขึ้น ด้วยการใช้เกราะแยกส่วนทำให้สามารถทำการถอดและติดตั้งได้อย่างสะดวก นอกจากนี้แล้วมันยังถูกออกแบบมาให้ประหยัดงบประมาณทั้งในขั้นตอนการผลิตและการซ่อมบำรุง ทำให้เมอร์คาวมามีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่ารถถังหลายแบบของประเทศยุโรป
รายละเอียดในแต่ละรุ่น
[แก้]เมอร์คาวา มาร์ค 1 | เมอร์คาวา มาร์ค 2 | เมอร์คาวา มาร์ค 3 | เมอร์คาวา มาร์ค 4 | |
---|---|---|---|---|
ประวัติการประจำการ | ||||
อยู่ในประจำการ | พ.ศ. 2522- (กองกำลังสำรองเท่านั้น) | พ.ศ. 2525–ปัจจุบัน | พ.ศ. 2533–ปัจจุบัน | พ.ศ. 2547–ปัจจุบัน |
ใช้โดย | กองกำลังป้องกันอิสราเอล | |||
สงครามที่เข้าร่วมรบ | สงครามเลบานอน พ.ศ. 2525, อินทิฟาด้าครั้งแรก | ความขัดแย้งในเลาบานอนใต้ (พ.ศ. 2525-2543), อินทิฟาด้าครั้งแรก, อินทิฟาด้าครั้งที่สอง, สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549, สงครามกาซา | ความขัดแย้งในเลาบานอนใต้ (พ.ศ. 2525-2543, อินทิฟาด้าครั้งที่สอง, สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549, สงครามกาซา | อินทิฟาด้าครั้งที่สอง, สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549, สงครามกาซา |
ประวัติการผลิต | ||||
ผู้ออกแบบ | มานทัค (กรมรถถังเมอร์คาวา) | |||
ผู้ผลิต | มานทัค (กรมรถถังเมอร์คาวา) | |||
ช่วงการผลิต | พ.ศ. 2521-2526 | พ.ศ. 2525-2532 | พ.ศ. 2533-2545 | พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน |
จำนวนที่ผลิต | 250 คัน | 580 คัน | 780 คัน | 360 คัน และอีก 300 คันกำลังส่งมอบ, (เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555)[3] |
รายละเอียด | ||||
น้ำหนัก | ~63 ตัน | ~65 ตัน | ||
ความยาว | รวมปืน: 8.30 เมตร ไม่รวมปืน 7.45 เมตร |
รวมปืน: 9.04 เมตร ไม่รวมปืน 7.60 เมตร | ||
ความกว้าง | 3.70 เมตร ไม่รวมชายเกราะ | 3.72 เมตร ไม่รวมชายเกราะ | ||
ความสูง | 2.65 เมตร | 2.66 เมตร | ||
ลูกเรือ | 4 คน (ผู้บัญชาการรถถัง พลขับ พลปืน พลบรรจุ) สามารถบรรทุกทหารราบเพิ่มได้ | |||
เกราะ | เกราะเหล็กเนื้อรวม | เกราะเหล็กเนื้อรวม | เกราะคอมโพสิทแบบแยกส่วน | ชั้นเกราะคอมโพสิทที่เคลือบด้วยโลหะเจือผสมเซรามิก เหล็กกล้า และนิกเกิล ออกแบบเป็นเกราะลาดเอียงแบบแยกส่วน |
อาวุธหลัก | ปืนลำกล้องเกลียวเอ็ม68 ขนาด 105 มม. ยิงกระสุนลาแฮทและเอทีจีเอ็ม | ปืนลำกล้องเกลี้ยงเอ็มจี251 ขนาด 120 มม. ยิงกระสุนลาแฮทและเอทีจีเอ็ม | ปืนลำกล้องเกลี้ยงเอ็มจี253 ขนาด 120 มม. ยิงกระสุนลาแฮทและเอทีจีเอ็ม | |
อาวุธรอง | ปืนกลขนาด 7.62 มม. 2-3 กระบอก ปืนครกนอกตัวรถขนาด 60 มม. 1 กระบอก ระเบิดควัน 12 ลูก |
ปืนกลขนาด 7.62 มม. 2-3 กระบอก ปืนครกในตัวรถขนาด 60 มม. 1 กระบอก ระเบิดควัน 12 ลูก |
ปืนกลขนาด 7.62 มม. 3 กระบอก ปืนครกในตัวรถขนาด 60 มม. 1 กระบอก ระเบิดควัน 12 ลูก |
ปืนกลขนาด 12.7 มม. 1 กระบอก ปืนกลขนาด 7.62 มม. 2 กระบอก ปืนครกในตัวรถขนาด 60 มม. 1 กระบอก (พัฒนาแล้ว) ระเบิดควัน 12 ลูก |
เครื่องยนต์ | เครื่องยนต์ดีเซลระบายความร้อนด้วยอากาศ เอวีดีเอส-1790-6เอ วี12 908 แรงม้าของเทเลดีน คอนทิเนนทัล | เครื่องยนต์ดีเซลระบายความร้อนด้วยอากาศ เอวีดีเอส-1790-9เออาร์ วี12 1,200 แรงม้าของเทเลดีน คอนทิเนนทัล | เครื่องยนต์ดีเซลระบายความร้อนด้วยน้ำ จีดี883 (เอ็มทียู883) วี12 1,500 แรงม้าของเจเนรัล ไดนามิกส์ | |
อัตรากำลังเครื่อง | ~14.5 แรงม้า/ตัน | ~18.5 แรงม้า/ตัน | ~23 แรงม้า/ตัน | |
บรรจุ | กระสุนปืนใหญ่ 53-63 นัด ชุดละหกนัด | กระสุนปืนใหญ่ 46 นัด พร้อมยิงทันที 5 นัด | กระสุนปืนใหญ่ 48 นัด พร้อมยิงทันที 10 นัด | |
ระบบส่งกำลัง | กลไกไฮดรอลิกกึ่งอัตโนมัติ ซีดี850-6ยีเอ็กซ์ ของอัลลิสัน ทรานส์มิชชั่น | กลไกไฮดรอลิกอัตโนมัติของแอสช็อท แอชเคลลอน 4 เกียร์ | กลไกไฮดรอลิกอัตโนมัติของแอสช็อท แอชเคลลอน 5 เกียร์ (เลียนแบบอาร์เค325 ของเรงค์โดยซื้อลิขสิทธิ์)[17] | |
ระบบกันสั่นสะเทือน | คอยล์สปริง | |||
ระยะระหว่างใต้ท้องกับพื้น | 0.53 เมตร | 0.45 เมตร | ||
ความจุเชื้อเพลิง | 1,100–1,400 ลิตร | 1,400 ลิตร | ||
พิสัยปฏิบัติการ | 400 - 500 กิโลเมตร | 500 km (310 mi) | ||
ความเร็วบนถนน | 50 กม./ชม. | 60 กม./ชม. | 64 กม./ชม. |
ประวัติการรบ
[แก้]เมอร์คาวามีบทบาทอย่างมากในช่วงสงครามเลบานอน พ.ศ. 2525 มันสามารถจัดการรถถังของซีเรียได้อย่างเฉียบขาดและพิสูจน์ให้เห็นว่ามันสามารถทนทานต่ออาวุธต่อต้านรถถังในยุคนั้นได้ (เช่น เอที-3 แซคเกอร์และอาร์พีจี-7 ) ถือว่าเมอร์คาวาเป็นรถถังที่พัฒนาขึ้นอย่างมากจากรถถังประจัญบานรุ่นก่อนหน้าของอิสราเอล นั่นคือรถถังเซนจูเรียน[18]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เมอร์คาวา มาร์ค 3 คันหนึ่งถูกทำลายด้วยระเบิดข้างถนนใกล้กับกาซา รถถังตันดังกล่าวถูกล่อให้ไปติดกับโดยไปแล่นทับกับระเบิดขนาดหนักเข้า ทหารทั้งสี่นายถูกสังหาร มันเป็นเมอร์คาวาคันแรกที่ถูกทำลายในอินทิฟาด้าครั้งที่สอง[19] รถถังอีกคัน ซึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นเมอร์คาวา 2 หรือ 3 ถูกทำลายในอีกเดือนต่อมาในพื้นที่เดียวกันและทำให้ทหารอีกสามนายเสียชีวิต เมอร์คาวาคันที่สามถูกทำลายและมีทหารเสียชีวิตหนึ่งนาย บาดเจ็บอีกสองนาย[20]
ฝ่ายอิสราเอลสูญเสียลูกเรือประจำเมอร์คาวาและทหารที่ลำเลียงไปในรถถังเป็นจำนวนมากในสงครามเลบานอน พ.ศ. 2549[21] มีเมอร์คาวา มาร์ค 4 เพียงไม่กี่คันเท่านั้นที่ร่วมรบ เพราะว่าพวกมันเพิ่งเข้าประจำการในจำนวนที่จำกัด กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้ยิงขีปนาวุธต่อต้านรถถังกว่า 1,000 นัดในการต่อสู้เข้าใส่รถถังและทหารราบ[22] ประมาณร้อยละ 45 ของรถถังและยานเกราะทั้งหมดที่ถูกยิงด้วยขีปนาวุธต่อต้านรถถังนั้นได้รับความเสียหายเพราะเกราะถูกทำลาย[22] รวมแล้วมีทหารเสียชีวิตจากอาวุธเจาะเกราะทั้งหมด 15 นาย[23] การเจาะทะลวงเกิดจากขีปนาวุธหัวรบเรียง เชื่อกันว่าอาวุธของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ประกอบด้วยอาร์พีจี-29 แวทไพร์ เอที-5 คอนเคอร์ส เอที-13 เมทิส-เอ็ม และเอที-14 คอร์เน็ทของรัสเซีย[24] กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้รายงานว่าพวกเขาพบการใช้ขีปนาวุธคอร์เน็ทของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในหมู่บ้านกานดอริเยฮ์[25] หลายเดือนหลังจากการหยุดยิง หลายรายงานได้ให้ข้อมูลทางภาพถ่ายเป็นหลักฐานวาขีปนาวุธคอร์เน็ทนั้นถูกใช้โดยกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ในบริเวณดังกล่าว[26][27] ทหารประจำเมอร์คาวา 4 หนึ่งนายถูกสังหารเมื่อรถถังแล่นเหยียบระเบิดแสวงเครื่อง รถถังคันดังกล่าวได้ติดตั้งเกราะเสริมที่ใต้ท้อง ทำให้มีทหารเพียงหนึ่งนายจากทั้งหมดเจ็ดนาย (ลูกเรือสี่นายและทหารราบสามนาย) เสียชีวิต สรุปมีเมอร์คาวา 5 คันถูกทำลาย เป็นมาร์ค 2 สองคัน มาร์ค 3 หนึ่งคัน และมาร์ค 4 สองคัน[22] ในจำนวนมาร์ค 4 ทั้งสองคัน หนึ่งคันถูกระเบิดแสวงเครื่องทำลายและอีกคันถูกทำลายโดยขีปนาวุธคอร์เน็ทของรัสเซีย กองทัพอิสราเอลกล่าวว่า การทำงานของเมอร์คาวา มาร์ค 4 นั้นน่าพอใจมากและมองว่าปัญหามาจากการซ้อมรบที่น้อยเกินไป[28][29] ในจำนวนทั้งหมดมีเมอร์คาวา 50 คันได้รับความเสียหาย (มาร์ค 2 และ 3) มีแปดคันที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อในสนามรบได้ มี 21 คันถูกอาวุธเจาะเกราะทำลาย (15 คันเป็นขีปนาวุธและอีก 6 คันเป็นระเบิดไออีดีและทุ่นระเบิดต่อต้านรถถัง)[22]
หลังจากสงครามในปีพ.ศ. 2549 รวมทั้งหลังจากที่กองกำลังป้องกันอิสราเอลเผชิญกับสงครามกองโจร บางการประเมินชี้ว่าเมอร์คาวามีจุดอ่อนมากเกินไปต่อขีปนาวุธต่อต้านรถถัง ซึ่งข้าศึกสามารถนำมาใช้ในสนามรบเชิงกองโจรได้ง่าย[30][31] การประเมินอื่น รวมทั้งของเดวิด เอสเชล ไม่เห็นด้วยเช่นนั้น เขาโต้ว่ารายงานความสูญเสียของเมอร์คาวานั้นเกินจริงและสรุปการทำงานของเมอร์คาวา โดยเฉพาะมาร์ค 4 นั้น จากคำบอกเล่าของทหารส่วนใหญ่ ว่าหากไม่นับข้อบกพร่องทางยุทธวิธีและการสูญเสียแล้ว เมอร์คาวามีความสามารถในสถานการณ์ดุเดือดได้ดี[32] ในจดหมายจากเหล่ายานเกราะได้มีการเปรียบเทียบที่แสดงให้เห็นว่า จำนวนเฉลี่ยของลูกเรือที่เสียชีวิตต่อรถถังหนึ่งคันนั้นลดลงจาก 2 นายในสงครามยมคิปเปอร์เหลือ 1.5 นายในสงครามเลบานอน พ.ศ. 2525 และเหลือ 1 นายในสงครามเลบานอน พ.ศ. 2549 เป็นการพิสูจน์ว่าเมอร์คาวา มาร์ค 4 ให้การป้องกันแก่ลูกเรือได้ดีกว่ารุ่นอื่นๆ แม้ต้องเผชิญกับอาวุธต่อต้านรถถังที่พัฒนาขึ้นก็ตาม กองกำลังป้องกันอิสราเอลต้องการเพ่มรายการสั่งซื้อเมอร์คาวา มาร์ค 4 และวางแผนที่จะติดตั้งระบบป้องกันโทรฟี่ให้กับพวกมัน รวมทั้งจัดการฝึกฝนระหว่างลูกเรือรถถังและทหารต่อต้านรถถังของอิสราเอล[33][34]
เมอร์คาวา 4 เข้าร่วมรบอย่างดุดเดือดในสงครามกาซาเนื่องจากมีจำนวนเข้าประจำการมากขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 เพื่อแทนที่มาร์ค 2 และ 3 เมอร์คาวาเพียงหนึ่งกรมสามารถแย่งฉนวนกาซาออกเป็นสองเขตได้ภายในห้าชั่วโมงโดยไม่มีการสูญเสียเลย ผู้บัญชากรมกล่าวว่ายุทธวิธีของพวกเขาได้เปลี่ยนไปมากตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 ยุทธวิธีใหม่ออกแบบมาเพื่อตอบโต้สงครามกองโจรโดยเฉพาะเพื่อเพิ่มขีดความสามารถเดิมที่เน้นทำสงครามรูปแบบปกติ[35] ในเดือนคุลาคม พ.ศ. 2553 กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้เริ่มติดตั้งระบบป้องกันโทรฟีให้กับเมอร์คาวา 4 เพื่อเพิ่มการป้องกันจากขีปนาวุธต่อต้านรถถังที่ใช้หัวรบระเบิดแรงสูง[36][37] ระบบดังกล่าวประกอบด้วยระบบเลเซอร์เตือนภัยเอลบิทและระเบิดควันของไอเอ็มไอ[15]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มฮามาสในกาซาได้ยิงขีปนาวุธต่อต้านรถถังเอที-14 คอร์เน็ทใส่เมอร์คาวา มาร์ค 3 คันหนึ่งที่ประจำการอยู่ตรงชายแดนอิสราเอลกาซา ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่ากลุ่มฮามาสไม่ได้ครอบครองอาวุธที่มีความซ้ำซ้อนแบบดังกล่าว ขีปนาวุธลูกดังกล่าวเจาะทะลุรถถัง แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์นี้อิสราเอลจึงเริ่มใช้เมอร์คาวา 4 ตลอดแนวชายแดนพร้อมกับติดตั้งระบบป้องกันโทรฟีให้กับพวกมัน[38]
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 เมอร์คาวา มาร์ค 4 คันหนึ่งที่ประจำการใกล้ชายแดนกาซา ถูกยิงด้วยขีปนาวุธแต่สามารถป้องกันได้ด้วยระบบป้องกันโทรฟี นับเป็นการแสดงผลให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบดังกล่าวเป็นครั้งแรก[39]
การส่งออก
[แก้]ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ตุรกีได้ระงับแผน 5 พันล้านดอลลาร์ ที่จะจัดซื้อรถถัง เมอร์คาวา มาร์ค 3 จำนวน 1,000 คัน.[40] [ไม่แน่ใจ ]
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 อิสราเอลได้ยื่นข้อเสนอที่จะจัดหาเมอร์คาวา มาร์ค 4 ให้กับโคลัมเบีย การขายจะประกอบด้วยรถถังจำนวน 25-40 คันและยานเกราะลำเลียงพลนาเมอร์ด้วยเช่นกัน โคลัมเบียกำลังถูกคุกคามโดยกองทัพเวเนซูเอล่าที่กลำขยายตัว ทำให้ต้องหารถถังที่สามารถต่อกรกับที-72 ของข้าศึกได้ [41]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 อิสราเอลมีการเซ็นสัญญา a landmark contract with a foreign government for the sale of its locally- produced flagship Merkava IV main battle tank, local media reported on Sunday.[42]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""Merkava Tank"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-01. สืบค้นเมื่อ 2013-06-15.
- ↑ Arie Egozi (March 8, 2012), Renewed Global Interest in the Merkava, IsraelDefense
- ↑ 3.0 3.1 "The Institute for National Security Studies", chapter Israel, 2012 เก็บถาวร 2016-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน May 8, 2012.
- ↑ "Merkava Mk3/Mk4 Tank".
- ↑ "Israeli Merkava tank production to stop within four years", Amnon Barzilai, Globes Online Retrieved September 26, 2007.
- ↑ Oren, Amir (2006-11-07). "IDF preparing for another conflict by next summer". Ha'aretz. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
- ↑ 7.0 7.1 "Merkava series". War Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-27. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
- ↑ "Merkava Mk3 Baz". Army Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-23. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
- ↑ "Merkava Mk-4 Detailed". Defense Update. 2006.
The tank utilizes an electric turret and gun control system, designed by Elbit Systems, which comprises two electrical brushless motors, produced by Bental Industries.
- ↑ "Merkava Mk 1". Israeli-Weapons. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
- ↑ Simon Dunstan, Peter Sarson, Centurion Universal Tank 1943-2003 (2003), p.13, Osprey Publishing, ISBN 978-1-84176-387-3
- ↑ "Merkava Mk 2". Israeli-Weapons. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
- ↑ Israel Military Industries 120 mm smoothbore tank gun MG251 (Israel) - Jane's Armour and Artillery Upgrades
- ↑ "Merkava Mk 3". Israeli-Weapons. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
- ↑ 15.0 15.1 Merkava Mk IV breaks cover[ลิงก์เสีย] Janes.com, David Donald, 14 June 2010
- ↑ "Merkava Mk4 Detailed". Defense Update. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-26. สืบค้นเมื่อ 2013-06-16.
- ↑ "Israel at Eurosatory 2010 - Merkava Mark 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-18.
- ↑ Armies in Lebanon 1982-84, Samuel M. Katz, Lee Russell, Ronald Volstad, Osprey Publishing, 1985
- ↑ "Israel investigates Gaza tank blast". BBC. 2002-02-15. สืบค้นเมื่อ 2011-09-17.
- ↑ "Victims of Palestinian Violence and Terrorism since September 2000". MFA. สืบค้นเมื่อ 2010-09-17.
- ↑ Marcus, Jonathan (2006-08-15). "Apparent vulnerability of Israeli armour to Hezbollah anti-tank rockets". BBC. สืบค้นเมื่อ 2010-03-27.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 Lessons of the 2006 Israeli-Hezbollah War, (CSIS, 2007), By Anthony H. Cordesman, William D. Sullivan, page 110
- ↑ Lessons of the 2006 Israeli-Hezbollah War, (CSIS, 2007), By Anthony H. Cordesman, William D. Sullivan, page 111
- ↑ Mohamed Nazzal (July 12, 2012). "Ali Saleh: Destroying the Merkava Myth". al-Akhbar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-18.
- ↑ Blomfield, Adrian (2006-08-15). "Israel humbled by arms from Iran". London: The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 2010-04-23.
- ↑ "Hezbollah's use of Lebanese civilians as human shields" (PDF). Center for Special Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 20, 2015. สืบค้นเมื่อ July 16, 2015.
- ↑ "Kornet ATGMs captured in Ghandouriyeh" (JPEG). Center for Special Studies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 4, 2013.
- ↑ "Why did Armored Corps fail in Lebanon?". Ynet.
- ↑ Barzilai, Amnon (30 August 2006). "Defense establishment favors Rafael tank protection system". Globes Online. สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.
- ↑ "God's chariot". Aljazeera. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
- ↑ Marcus, Jonathan (2006-08-15). "Tough lessons for Israeli armour". BBC. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
- ↑ "Assessing the performance of Merkava Tanks". Defense Update. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-13. สืบค้นเมื่อ 2013-06-18.
- ↑ "IDF mulls spending plan". Ynetnews. สืบค้นเมื่อ 2008-07-04.
- ↑ Yaakov Katz (August 31, 2007). "New training aims to help tanks cope in hostile territory". The Jerusalem Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
- ↑ Katz, Yaakov (Aug 13, 2009), Security and Defense: 'The tank is one of the most technologically advanced platforms around, Jerusalem Post.
- ↑ Lappin, Yaakov (2010-10-13), IDF launches massive Ground Forces exercise, Jerusalem Post
- ↑ Weiss, Efrat (2009-08-07). "IDF successfully tests new tank defense system". Ynetnews. สืบค้นเมื่อ 2009-08-07.
- ↑ Katz, Yaakov; Stoil, Rebecca Anna (December 21, 2010). "IDF predicts violence to subside despite Gaza pounding". The Jerusalem Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2010.
- ↑ Harel, Amos (March 1, 2011). "IDF armor-defense system foils attack on tank for first time". Haaretz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 26, 2015.
- ↑ "Turkey 'freezes arms deals with Israel'". upi.com. สืบค้นเมื่อ 1 June 2014.
- ↑ Israel offers Merkava tanks to Colombia เก็บถาวร 2015-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Army Recognition, May 24, 2012
- ↑ http://english.sina.com/world/2014/0608/707464.html