เตีย บัญ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ฯพณฯ[1] สมเด็จพิชัยเสนา[2] เตีย บัญ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา | |
ดำรงตำแหน่ง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2549[3] – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | ฮุน เซน |
ถัดไป | เตีย เซ็ยฮา |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2530 – 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ฮุน เซน นโรดม รณฤทธิ์ อึง ฮวด ฮุน เซน |
รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | |
กษัตริย์ | นโรดม สีหนุ นโรดม สีหมุนี |
นายกรัฐมนตรี | ฮุน เซน |
รัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง รัฐมนตรีกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2527 – 2530 | |
นายกรัฐมนตรี | จัน ซี ฮุน เซน |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเสียมราฐ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2536 | |
คะแนนเสียง | 52,356 (13.24%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เตีย สังวาลย์ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 เกาะกง จังหวัดกำปอด กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส |
ศาสนา | ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท |
พรรคการเมือง | พรรคประชาชนกัมพูชา |
คู่สมรส | เตา เตือน (สมรส พ.ศ. 2518) |
บุตร | เตีย เซียม เตีย เซ็ยฮา เตีย กาญา |
วิชาชีพ | นักการเมือง |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | กัมพูชา |
สังกัด | กองทัพกัมพูชา |
ประจำการ | 2505– |
ยศ | นายอุดมเสนีย์ (นายพล) |
บังคับบัญชา | National Committee for Maritime Security |
ผ่านศึก | สงครามกลางเมืองกัมพูชา |
พลเอก สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ[2] (เขมร: សម្តេចពិជ័យសេនា ទៀ បាញ់ เทีย บาญ่; เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488)[4] หรือชื่อในภาษาไทยว่า สังวาลย์ หินกลิ้ง[5] เป็นนักการเมืองกัมพูชาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา และเป็นสมาชิกพรรคประชาชนกัมพูชา
ประวัติ
[แก้]ชีวิตตอนต้นและครอบครัว
[แก้]สมเด็จพิชัยเสนา มีนามเดิมว่า สังวาลย์ (ขณะนั้นกัมพูชายังไม่บัญญัติการใช้นามสกุล)[5] เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดเกาะกง กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส[1][6] ในครอบครัวชาวนาผู้มีรายได้น้อย[7] เป็นบุตรลำดับที่สามจากทั้งหมดห้าคนของเตีย ตึก (มีชื่อไทยว่า เต็ก) เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน กับนู เป็งจันดา (ชื่อไทยว่า หนู เพ่งจินดา) หญิงชาวไทยเกาะกง[8][9] เขามีพี่น้องคือ เตีย สวัสดิ์, เตีย สังเวียน, เตีย วน และเตีย วิญ ซึ่งคนหลังนี้เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือของประเทศกัมพูชา[10]
ครอบครัวของเขาสื่อสารกันด้วยภาษาไทยถิ่นตราด อันเป็นภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเกาะกง และมีสำเนียงแปร่งเป็นเอกลักษณ์[1][11] ในวัยเยาว์ สมเด็จพิชัยเสนาดำรงชีพด้วยความยากลำบาก เพราะบิดาตายตั้งแต่เขายังเด็ก มารดาจึงกลายเป็นเสาหลักเดียวของบ้าน ที่ต้องทำนาเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว[7][12] เดิมครอบครัวของเขาไม่มีนามสกุลใช้ กระทั่งมีการบัญญัติการใช้นามสกุล จึงนำชื่อของก๋ง (ปู่) คือเตีย มาตั้งเป็นนามสกุล[5] บางแห่งว่าใช้แซ่ของก๋งมาตั้งเป็นนามสกุล[12] แต่ส่วนตัวของสมเด็จพิชัยเสนาเคยใช้นามสกุล หินกลิ้ง เมื่อครั้งยังศึกษาอยู่ที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด จึงใช้นามสกุลดังกล่าวอยู่ช่วงหนึ่ง[5] นอกจากนี้ยังมีสมญานามว่า เยื่อ เพราะหัวเราะเสียงดังอย่างคนชื่อตาเยื่อ[5] อย่างไรก็ตามสมเด็จพิชัยเสนาสำเร็จการศึกษาเพียงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เกาะกง เพราะฐานะทางบ้านไม่อำนวย[12]
สมเด็จพิชัยเสนาสมรสกับเตา เตือน (ชื่อไทยว่า เตือนใจ ธรรมเกษร) ซึ่งเป็นชาวไทยเกาะกงเช่นกัน เมื่อ พ.ศ. 2518 ครอบครัวของเตือนใจเป็นครอบครัวใหญ่ เธอเป็นบุตรสาวของแช่ม ธรรมเกษร ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของใส่ ภู่ทอง และรุ่ง พราหมณ์เกษร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง เมื่อนับจากฝ่ายมารดา รวมทั้งเป็นญาติฝ่ายภรรยาของขุนประนอมธนากิจ (จ๊วน แซ่เฮ้ง) นายกองกรมทหารเรือ ประจำเมืองปัจจันตคิรีเขตร[13] สมเด็จพิชัยเสนากับเตือนใจมีบุตรด้วยกันสามคน เป็นชายสองคน และหญิงหนึ่งคน คือ เตีย เซียม (สยาม), เตีย เซ็ยฮา (สิงหา) และเตีย กาญา (กัญญา) โดยเตีย เซ็ยฮา บุตรคนที่สอง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเสียมราฐ[10]
นักปฏิวัติ
[แก้]ในวัยเยาว์ ครอบครัวของสมเด็จพิชัยเสนาถูกกดขี่จากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ต้องการสมรสกับน้องสาวของเขา ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 13 ปี สมเด็จพิชัยเสนาปฏิเสธไป และกล่าวว่าจากเหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นความกดดันแรกที่ทำให้เขาอยากเป็นทหาร[12]
เมื่อสมเด็จพิชัยเสนาจำเริญวัยขึ้น ก็เข้าร่วมกับอดีตคณะอิสระ จนกลายเป็นนักปฏิวัติอาชีพ เพราะได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากจีนและเวียดนามผ่านวิทยุปักกิ่ง[14] ในเวลาต่อมาก็มีทหารมาจับกุมตัว โดยยัดเยียดข้อหากระด้างกระเดื่องและซ่องโจร ลงโทษด้วยการจับตากแดดและอดอาหารเป็นเวลาสี่วันสี่คืน[12] ครั้นมีอายุได้ 16 ปี สมเด็จพิชัยเสนาได้เป็นครูอาสาในหมู่บ้าน เพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่มีการศึกษาซึ่งถูกกดขี่ข่มเหง จากการกระทำนั้นเขาก็ถูกทหารจับกุมตัวอีกครั้ง พระสงฆ์ที่เห็นเหตุการณ์เข้าก็ขอบิณฑบาตชีวิตไว้ได้ทัน สมเด็จพิชัยเสนาจึงรอดชีวิตมาได้[12]
ต่อมาเมื่อสมเด็จพิชัยเสนาอายุราว 17-18 ปี ทหารเขมรทราบว่าสมเด็จพิชัยเสนาและพรรคพวกซ่องสุมผู้คน ทหารเขมรเจ็ดนายจึงนำตัวเขาและเพื่อนอีกสองคนเข้าไปในป่าเพื่อยิงทิ้งเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ขณะทหารลั่นไกปืน สมเด็จพิชัยเสนาคิดว่าอย่างไรเสียตนก็คงต้องตาย จึงหลับตาและล้มลงไปพร้อมกับเพื่อนอีกสองคนโดยมีเลือดของเพื่อน ๆ ไหลเปื้อนตัว แต่สมเด็จพิชัยเสนายังได้ยินเสียงทหารคุยกัน ก็รู้ตัวว่าตนยังไม่ตาย จึงขยับตัว แต่มีทหารนายหนึ่งเห็นเข้าก็รีบหยิบปืนมายิงซ้ำ แต่ปรากฏว่ากระสุนด้าน สมเด็จพิชัยเสนาสบโอกาสหนีเข้าไปในป่าเพื่อเอาตัวรอดมาได้ จึงเป็นที่มาของชื่อ "บัญ" ในภาษาเขมร แปลว่า "ยิง"[12]
สมเด็จพิชัยเสนาดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการคณะกรรมการการฝึกอบรม และผู้บัญชาการทหารพลพรรคไทยเกาะกง ช่วง พ.ศ. 2516–2522 กระทั่งเขมรแดงยึดครองดินแดนกัมพูชาส่วนใหญ่ได้สำเร็จ ก็ได้กระทำการอุกอาจและป่าเถื่อนต่อผู้คน สมเด็จพิชัยเสนาพร้อมด้วยพลพรรคไทยเกาะกงส่วนหนึ่งอพยพข้ามแดนมายังบ้านไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด จึงมีโอกาสได้พบกับหน่วย 315 ซึ่งเป็นกำลังพลที่ขึ้นตรงต่อศูนย์อำนวยการกองทัพบก ในความรับผิดชอบของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ทำให้สมเด็จพิชัยเสนาและพลพรรคไทยเกาะกง มีสัมพันธภาพอันดีต่อพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ และพลเอก วิชิต ยาทิพย์ ซึ่งถูกส่งไปปฏิบัติราชการลับในกัมพูชา[14]
ทหารและนักการเมือง
[แก้]เตีย บัญ มีความสามารถทางการทหาร มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับใส่ ภู่ทอง และนายทหารระดับสูงของไทยจำนวนมาก ทำให้เขาสามารถดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ได้ แม้ว่าสื่อมวลชนต่างประเทศจะมองว่าใส่ ภูทองถูกลดความสำคัญลง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 ที่ใส่ ภูทองถูกย้ายเป็นคณะกรรมการตรวจสอบของพรรคประชาชนกัมพูชา อีกทั้งสุขภาพก็ทรุดโทรม และใช้เวลาส่วนใหญ่ในไทย ขณะที่เส้นสายของฮุน เซน และเจีย ซีมมีมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อเตีย บัญ แต่ในเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ เตีย บัญยังคงรักษาสถานะของตัวเองได้เป็นอย่างดี
สำหรับตำแหน่งหลังสุด เตีย บัญ ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[15] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเสียมราฐ สังกัดพรรคประชาชนกัมพูชา[16]ในการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ทรงมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่พลเอกเตีย บัญ เป็นขุนนางชั้นสมเด็จ ที่ "สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ" เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์กัมพูชา
[แก้]- เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชาตูปการ
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชอาณาจักรกัมพูชา ชั้นมหาสิริวัฒน์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์สุวัตถารา ชั้นมหาสิริวัฒน์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์สมเด็จพระมหากษัตริยานีกุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา ชั้นมหาเสนา
- เหรียญเสนาชยสิทธิ์
- เหรียญการป้องกันชาติ ประดับดาวทอง 2 ดวง
- เหรียญการป้องกันชาติ ประดับดาวเงิน 2 ดวง
- เหรียญการป้องกันชาติ ประดับดาวสำริด 2 ดวง
- เหรียญบำเหน็จแรงงาน
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์การสร้างชาติ (ได้ 2 เหรียญ)
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "เปิดใจพลเอกเตีย บัญ "นักรบ" เกลียดสงคราม". ไทยรัฐออนไลน์. 4 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "ตั้ง "เตียบันห์" ขึ้นแท่น "สมเด็จ"". โพสต์ทูเดย์ออนไลน์. 31 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Tea Banh เก็บถาวร 2016-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed July 2, 2014.
- ↑ His Excellency Tea Banh เก็บถาวร 2009-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 คนสองแผ่นดิน, หน้า 169
- ↑ "His Excellency Tea Banh". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-06.
- ↑ 7.0 7.1 "คนกันเอง!! สมเด็จ "เตีย บัญ" นักรบไทยเกาะกง". คมชัดลึก. 21 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คนสองแผ่นดิน, หน้า 167
- ↑ "吴锐成主任出席柬埔寨中国港澳侨商总会十周年会庆". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2009-03-06.
- ↑ 10.0 10.1 "Exiled opposition leader supports Cambodian defense minister's son as PM candidate". Radio Free Asia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-14.
- ↑ คนสองแผ่นดิน, หน้า 27
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 "นักสู้กู้เขมร เตีย บัญ เชื้อสายไทยเกาะกง". กระปุกดอตคอม. 24 กรกฎาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คนสองแผ่นดิน, หน้า 176
- ↑ 14.0 14.1 จุตินันท์ ขวัญเนตร (กรกฎาคม–ธันวาคม 2561). การก้าวขึ้นสู่โครงสร้างอำนาจระดับชาติของคนไทยเกาะกงในกัมพูชา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 7:(2). p. 95.
- ↑ Visit to Japan by Gen. Tea Banh, Deputy Prime Minister and Minister of National Defense of Cambodia
- ↑ "Election results" เก็บถาวร 2008-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cambodia National Election Committee. Accessed June 18, 2008.
- บรรณานุกรม
- รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์, 2551
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Curriculum Vitae เก็บถาวร 2008-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน