ใส่ ภู่ทอง
ฯพณฯ[1] ใส่ ภู่ทอง | |
---|---|
![]() รูปปั้นครึ่งตัวของใส่ ภู่ทอง ในจังหวัดเกาะกง | |
ประธานคณะกรรมาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา | |
ดำรงตำแหน่ง ? – ตุลาคม 2528 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2463[2] จังหวัดเกาะกง กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (95 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาชนกัมพูชา |
คู่สมรส | ขอ ภู่ทอง[3] |
บุตร | 3 คน[3] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองทัพบกกัมพูชา |
ใส่ ภู่ทอง (เขมร: សាយ ភូថង, สาย ภูถง; 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559) หรือ ลุงใส่ เป็นนักการเมือง นักการทหาร และนักปฏิวัติชาวกัมพูชา เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกกรรมการกลางและคณะกรรมการพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา เป็นรองประธานสภาแห่งรัฐมีอำนาจเทียบเท่าประมุขแห่งรัฐ เป็นประธานคณะกรรมการพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชามีอำนาจหน้าที่เลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชาในช่วง พ.ศ. 2522[1] รวมทั้งดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ในพระมหากษัตริย์กัมพูชา[4][5]
ใส่มีบทบาทสำคัญในการนำพาให้บุคคลเชื้อสายไทยในจังหวัดเกาะกงเข้าร่วมกับชาวเขมรในการต่อต้านการปกครองของประเทศฝรั่งเศส จนประเทศกัมพูชาได้รับเอกราช[6] นอกจากนี้เขายังเป็นผู้สนับสนุนให้ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี[1][6] เพราะใส่เล็งเห็นภาวะผู้นำของเขา[7] ทำให้ฮุน เซน กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์กัมพูชา[4][6] ในบั้นปลายใส่ลดบทบาททางการเมืองลงไป โดยใช้ชีวิตอยู่ที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด และกรุงเทพมหานคร ร่วมกับบุตรสาว เพราะสุขภาพไม่อำนวย จนกระทั่งเขาเสียชีวิต[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "สมเด็จฮุนเซน ร่วมเคารพศพ "ใส ภู่ทอง " วัย 95 ปี อดีตแกนนำต่อต้านเขมรแดง". มติชนออนไลน์. 18 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Chivorn (2018-03-05). "រូបសំណាក និងវិថី សាយ ភូថង នៅខេត្តកោះកុង ត្រូវបានដាក់សម្ពោធដាក់ឲ្យប្រើប្រាស់ជាផ្លូវការ ក្រោមអធិបតីភាពសម្តេចពញាចក្រី ហេង សំរិន". Fresh News (ภาษาเขมร). สืบค้นเมื่อ 2023-05-25.
- ↑ 3.0 3.1 รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์, 2551, หน้า 157
- ↑ 4.0 4.1 "งานใหญ่ ฮุน เซน ร่วมปลงศพ'ลุงใส่' สหายอาวุโสผู้มีพระคุณ ที่จ.ตราด". ไทยรัฐออนไลน์. 17 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ฮุนเซน เป็นประธานฌาปนกิจศพ " ใส่ ภู่ทอง" คนไทยเกาะกง". เนชั่น. 19 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "ฮุนเซนเป็นประธานพิธีศพ "ใส่ ภูทอง" อดีตรมต.กลาโหมกัมพุชา". โพสต์ทูเดย์. 19 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เปิดปูม 'ใส่ ภูทอง' คนปั้น 'ฮุน เซน' ผู้นำกัมพูชา". กรุงเทพธุรกิจ. 18 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)