เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักศึกษา นักกิจกรรม และนักเคลื่อนไหวที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อรัฐประหารโดยคณะรัฐประหารที่เรียกตัวเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
การเกิดขึ้นของเครือข่าย เริ่มจากการประชุมกันของนักกิจกรรม(รุ่นใหม่) และนักศึกษาประมาณ 70-80 ในวันที่ 20 กันยายน (หนึ่งวันหลังการต้านรัฐประหาร) ผ่านการบอกข่าวตามเครือข่ายและองค์กรของตัวเอง มีจำนวนหนึ่งที่เป็นปัจเจกไม่ได้สังกัดเครือข่ายอะไร แต่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและนักกิจกรรมที่ทำงานอย่างต่อเนื่องและอาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความก้าวหน้าทางการเมืองกลุ่มหนึ่งในภาคประชาชนไทย สมาชิกส่วนใหญ่ได้มีการทำงานร่วมกันมาก่อน หลายๆส่วนได้ทำงานร่วมกันในองค์กรพัฒนาเอกชน และได้รณรงค์ร่วมกันในหลายๆ ครั้ง
เครือข่ายต้องการสร้างพื้นที่ทางการเมืองให้สำหรับคนที่มีความเห็นต่างจากการก่อรัฐประหาร มุมมองในสังคมไทยไม่ได้มีแค่ “เอารัฐประหาร ไม่เอาทักษิณ” หรือ “เอาทักษิณ ไม่เอารัฐประหาร” และเนื่องจากการก่อรัฐประหารเป็นการแสดงทัศนะว่าประชาชนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เอง ไม่สามารถตัดสินใจอนาคตของตัวเองได้ พลังประชาชนไม่มีค่า แต่กลับต้องพึ่งทหารหรือ “พระเอกขี่ม้าขาว” ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติอะไร ประเทศไทยได้ผ่านรัฐประหารมาแล้วเป็นเวลาหลายสิบครั้ง ถ้าการก่อรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการตอบรับ ครั้งต่อไปเมื่อมีวิกฤติทหารก็สามารถสร้างความชอบธรรมโดยก่อรัฐประหารได้อีกในอนาคต อีกทั้งการรัฐประหารครั้งนี้ได้มีการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมความรุนแรงที่ไม่คำนึงถึง “หลักการ” ทางประชาธิปไตย เช่น กลุ่มที่ ยอมรับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำผิดกฎหมายตามหลักสากลต่างๆ ยอมรับการปิดวิทยุชุมชนที่ภาคเหนือกว่า 300 สถานี ยอมรับการกักขังอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ
จุดยืนของเครือข่ายฯ
[แก้]จุดยืนร่วมกันของเครือข่ายฯ
- ไม่เห็นด้วยกับการก่อรัฐประหาร เนื่องจากเรามองว่าการทำรัฐประหารเป็นการเดินตรงข้ามกับประชาธิปไตย สิ่งที่ คปค. หรือปัจจุบันคณะมนตรีความมั่นคงอ้างว่ารัฐบาลทักษิณทำลายประชาธิปไตย แทรกแซงสื่อมวลชน และลิดรอนสิทธิประชาชน แต่กลับกันสิ่งที่ คปค. ทำคือ ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง ประกาศใช้กฎอัยการศึก ออกประกาศห้ามการชุมนุมเกินกว่าห้าคน และสั่งปิดวิทยุชุมชนและเว็บไซต์ นำทหารไปคุมตามสถานีโทรทัศน์สำนักข่าวต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบาลทักษิณการกระทำเช่นนี้มันเลวร้ายกว่ามาก
- รัฐบาลชุดนี้ไม่มีความชอบธรรม เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะปฏิรูปการเมืองและพัฒนาประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ดังที่เห็นได้จากการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย และการได้มาซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มีความชอบธรรมใดๆ ทั้งสิ้นและไม่ได้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนแบบกว้างขว้าง แต่กลับมีกระบวนการเลือกที่จะได้คนของ คมช. เข้ามาเอง
- เรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้ง ก่อนการปฏิรูปการเมือง เพราะในบรรยากาศทางการเมืองที่เป็นเผด็จการ โดยเฉพาะในช่วงที่ยังใช้กฎอัยการศึกนี้ ทำให้ประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ หากจะมีการปฏิรูปก็เพียงการปฏิรูปของชนชั้นปกครองเพียงเท่านั้น ไม่ใช่การปฏิรูปโดยประชาชน
ผู้ประสานงาน ชุดที่ 1
[แก้]- ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์
- อดิศร เกิดมงคล
- สมบัติ บุญงามอนงค์
- โชติศักดิ์ อ่อนสูง
- สุวิทย์ เลิศไกรเมธี
หมายเหตุ
- ในการเลือกผู้ประสานงานครั้งแรกมีผู้ประสานงานเพียง 4 คน แต่ได้มีการเพิ่ม สุวิทย์ เลิศไกรเมธี เข้ามาภายหลัง
- สมบัติ บุญงามอนงค์ ได้ลาออกจากการเป็นผู้ประสานงานและจากการเป็นสมาชิกเครือข่ายฯในเวลาต่อมา
ผู้ประสานงาน ชุดที่ 2
[แก้]- อุเชนทร์ เชียงเสน
- อุบลพรรณ กระจ่างโพธิ์
- ภัทรดนัย จงเกื้อ
หมายเหตุ มี โชติศักดิ์ อ่อนสูง เป็นเลขานุการเครือข่ายฯ