เขาคิลิมันจาโร
เขาคิลิมันจาโร | |
---|---|
ยอดคีโบบนเขาคิลิมันจาโร | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 5,895 เมตร (19,341 ฟุต) [1][2] |
ความสูง ส่วนยื่นจากฐาน | 5,885 เมตร (19,308 ฟุต) [3] อันดับ 4[4] |
พิกัด | 03°04′33″S 37°21′12″E / 3.07583°S 37.35333°E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | แคว้นคิลิมันจาโร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแทนซาเนีย |
เทือกเขา | หุบเขาริฟต์ตะวันออก |
แผนที่ภูมิประเทศ | แผนที่โดยเวียโลคอฟสกี[5] |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | 3 ล้านปี |
ประเภทภูเขา | กรวยภูเขาไฟสลับชั้น |
การปะทุครั้งล่าสุด | ระหว่าง 150,000 และ 200,000 ปี |
การพิชิต | |
พิชิตครั้งแรก | 6 ตุลาคม ค.ศ. 1889 โดยฮันส์ ไมเออร์ และลูทวิช พวร์ทเช็ลเลอร์ |
เส้นทางง่ายสุด | เดินทางไกลด้วยเท้า |
เขาคิลิมันจาโร (อังกฤษ: Mount Kilimanjaro) ชื่อภูเขามาจากภาษาสวาฮีลี หมายความว่า "ภูเขาที่ทอแสงแวววาว" เขาคิลิมันจาโรตั้งอยู่ในเขตประเทศแทนซาเนียใกล้พรมแดนประเทศเคนยา ลักษณะเป็นภูเขาไฟยอดเดี่ยวที่สูงที่สุดในโลก และเป็นเขาที่สูงที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย มีความสูงกว่า 5,895 เมตร ตรงบริเวณยอดเขามียอดเขาด้วยกัน 5 ยอด เรียงตามลำดับความสูง คือ
- ยอดคีโบ เป็นยอดที่สูงที่สุดในแอฟริกา มีความสูง 5,895 เมตร มีโพรงลึกเป็นรูปกรวยลึกถึง 113 เมตร (370 ฟุต) แนวลึกด้านตรง 122 เมตร (400 ฟุต) มีร่องรอยของการคุกกรุ่น ไม่หมดเชื้อยังคงมีควันปรากฏอยู่และมีกลิ่นกำมะถัน
- ยอดมาเวนซี มีความสูง 5,353 เมตร อยู่ติดกับยอดคีโบ รูปกรวยของยอดมาเวนซี ได้ถูกตบแต่งให้เป็นขั้นเป็นหลืบชั้น สำหรับให้นักไต่เขาได้ฝึกความชำนาญ
- ยอดชีรา มีความสูง 3,778 เมตร
- ยอดกากา มีความสูง 458 เมตร
- ยอดชี มีความสูง 78 เมตร
บริเวณฐานเขามีความยาวกว่า 100 กิโลเมตร และกว้างถึง 75 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว บริเวณยอดเขามีธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ยาวกว่า 4,500 เมตร เป็นธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นเพียงภูเขาไม่กี่ลูกในแอฟริกาที่มีธารน้ำแข็ง โดยเฉพาะภูเขาที่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรจะหาได้น้อยมากที่จะมีธารน้ำแข็งแบบเดียวกันนี้
เขาคิลิมันจาโรได้กำเนิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีที่แล้ว โดยมีการคาดการณ์ว่าเคยเกิดระเบิดใหญ่ถึง 3 ครั้ง จึงทำให้มียอดเขา 3 ลูกดังที่กล่าวข้างต้น ถูกค้นพบครั้งแรกโดยโยฮันเนิส เรพมัน และโยฮัน ลูทวิช ครัพฟ์ หมอสอนศาสนาชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1848
คนไทยที่สามารถพิชิตเขาคิลิมันจาโรสำเร็จเป็นคนแรกคือ วิทิตนันท์ โรจนพานิช ส่วนหญิงไทยที่สามารถพิชิตเขาคิลิมันจาโรสำเร็จเป็นคนแรกคือ นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ซึ่งสามารถพิชิตได้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560[6]
เขตพืชพรรณ
[แก้]บริเวณที่ลาดเขาช่วงล่างเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าหลากหลายชนิดเช่น ช้าง แรด ควาย และแอนทิโลป ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรขึ้นไป เป็นป่าเขตอบอุ่น ที่ระดับความสูง 3,500 เมตรขึ้นไปจะพบพรรณพืชแบบทุ่งมัวร์มีมอสส์ขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นพรรณพืชแบบป่าสน บนยอดเขาเป็นที่ว่างเปล่าเต็มไปด้วยหิมะ
ส่วนบริเวณที่ราบรอบตีนเขาเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่ามาซายที่ทำอาชีพเลี้ยงวัว ควาย แพะ แกะ เพราะบริเวณรอบตีนเขามีทุ่งหญ้าที่อุดมสมบูรณ์ และมีการทำกสิกรรมเขตร้อน ปลูกกล้วย กาแฟ
อ้างอิง
[แก้]- สำเนียง มณีกาญจน์ และสมบัติ จำปาเงิน. ท่องไปในโลกกว้างนำชมสิ่งมหัศจรรย์ของโลก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2530.
- ↑ "Kilimanjaro National Park". Tanzania National Parks. Tanzania National Parks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2012. สืบค้นเมื่อ 16 July 2015.
- ↑ "Kilimanjaro National Park". World Heritage List. UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 16 July 2015.
- ↑ "Kilimanjaro". Peakbagger.com. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
- ↑ "World Peaks with 4000 meters of Prominence". Peakbagger.com. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
- ↑ Kilimanjaro Map and tourist Guide (Map) (4th ed.). 1:75,000 with 1:20,000 and 1:30,000 insets. EWP Map Guides. การทำแผนที่โดย EWP. EWP. 2009. ISBN 0-906227-66-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-17.
- ↑ https://thestandard.co/eem-napassaporn-conquer-7-peaks-from-7-continents/