ข้ามไปเนื้อหา

เก็นโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เก็นโร (元老) เป็นตำแหน่งอย่างไม่เป็นทางการที่มอบให้แก่รัฐบุรุษอาวุโสของจักรวรรดิญี่ปุ่น บุคคลในทำเนียบตำแหน่งนี้เทียบเท่าได้กับเป็น "บิดาผู้สร้างชาติ" ของญี่ปุ่นยุคใหม่ บุคคลเหล่านี้ยังเป็นที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการนอกเหนือรัฐธรรมนูญที่ถวายคำปรึกษาแก่องค์จักรพรรดิ ในรัชสมัยเมจิ, รัชสมัยไทโช และต้นรัชสมัยโชวะ ทั้งนี้ คณะเก็นโรยังมีสิทธิเลือกและเสนอชื่อผู้ที่เห็นสมควรเป็นนายกรัฐมนตรีแก่องค์จักรพรรดิเพื่อให้ทรงแต่งตั้ง

สถาบันเก็นโรนั้นเกิดขึ้นจากคณะสามัญชนอาวุโส (โรจู) ในยุคเอะโดะ อย่างไรก็ตามคำว่า เก็นโร นั้น ถูกสร้างและปรากฏขึ้นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1892 ซึ่งบางครั้งก็มีการสับสนระหว่างคำนี้กับคำว่า เก็นโรอิง (สภาผู้อาวุโส) ที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติระหว่างปี 1875 - 1890 ซึ่งเก็นโรนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเก็นโรอิงเลยแม้แต่น้อย

ผู้นำที่มีความรู้ความสามารถในช่วงการฟื้นฟูเมจิ จะถูกคัดเลือกจากองค์จักรพรรดิให้ดำรงตำแหน่ง เก็งกุง หรือที่ปรึกษาส่วนพระองค์ อย่างไรก็ตาม เก็นโรทั้งหมด (ยกเว้น ไซอนจิ คิมโมะชิ) นั้นล้วนมาจากครอบครัวซะมุไรระดับกลางและระดับสูงจากแคว้นซะสึมะและแคว้นโชชู ซึ่งทั้งสองแคว้นเป็นกำลังสำคัญในการโค่นล้มรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในสงครามโบะชิง ซึ่งนำไปสู่การฟื้นฟูพระราชอำนาจระหว่างปี 1867-1868

ทำเนียบเก็นโร

[แก้]
ภาพ ชื่อ ถิ่นกำเนิด เกิด อสัญกรรม
1 อิโต ฮิโระบุมิ โชชู 16 ตุลาคม 1841 26 ตุลาคม 1909
2 คุโระดะ คิโยะตะกะ ซะสึมะ 16 ตุลาคม 1840 23 สิงหาคม 1900
3 โอยะมะ อิวะโอะ ซะสึมะ 12 พฤศจิกายน 1842 10 ธันวาคม 1916
4 อิโนะอุเอะ คะโอะรุ โชชู 16 กรกฎาคม 1836 1 กันยายน 1915
5 ไซโง สึงุมิชิ ซะสึมะ 1 มิถุนายน 1843 18 กรกฎาคม 1902
6 มะสึกะตะ มะซะโยะชิ ซะสึมะ 25 กุมภาพันธ์ 1835 2 กรกฎาคม 1924
7 ยะมะงะตะ อะริโตะโมะ โชชู 14 มิถุนายน 1838 1 กุมภาพันธ์ 1922
8 คัตสึระ ทาโร โชชู 4 มกราคม 1848 10 ตุลาคม 1913
9 ไซอนจิ คิมโมะชิ เคียวโตะ 23 ตุลาคม 1849 24 พฤศจิกายน 1940

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Gordon, Andrew (2003). A Modern History of Japan: From Tokugawa Times to the Present. Oxford University Press. ISBN 0-19-511061-7.
  • Jansen, Marius B. (2000). The Making of Modern Japan. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-00334-7. OCLC 44090600.
  • Omura, Bunji (2004) [1937]. The Last Genro: Prince Saionji, Japan's "Grand Old Man". Kegan Paul. ISBN 0-7103-0917-1.