ยูเรนัส (เทพปกรณัม)
ยูเรนัส | |
---|---|
เทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและสวรรค์ | |
เทพยูเรนัสที่ปรากฏบนหินสลักโบราณ เกี่ยวกับกิกันโตมาชี่ แท่นบูชาเปร์กาโมน, พิพิธภัณฑ์เปร์กาโมน | |
ที่ประทับ | ท้องฟ้า |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ไกอา |
บุตร - ธิดา | ไททัน, ไซคลอปส์, เฮคาตันเชเรส, เอรินเยส (ฟิวรี่ส์), ยักษ์, เมเลีย, and อาโฟร์ไดท์[1] |
บิดา-มารดา | ไกอา (เฮสิโอด) |
พี่น้อง | พอนตัส และ อูเรีย (เฮสิโอด) |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในโรมัน | เคเอลัส |
เทียบเท่าในเมโสโปเตเมีย | อัน[2] |
ยูเรนัส (อังกฤษ: Uranus) หรือ อูรานอส (กรีกโบราณ: Οὐρανός) เป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและเป็นหนึ่งในเทพเจ้าดั้งเดิมของกรีก ตามตำนานของเฮสิโอด ทรงเป็นทั้งบุตรและสวามีของพระแม่ไกอา (เทพีแห่งพื้นดิน) ท่านทั้งสองสมหวังกันด้วยอีรอส (คิวปิด) เทพเจ้าแห่งความรัก ที่ทั้งคู่รักกันด้วยเหตุผลคือ พื้นดินนั้นมองท้องฟ้าทุกวัน จนเทพอีรอสทนไม่ไหวจึงแผลงศรให้ทั้งคู่รักกัน มีบุตรด้วยกันคือ เหล่ายักษ์ ปีศาจผู้อัปลักษณ์ ทำให้ยูเรนัสไม่พอใจอย่างมาก จึงจับไปขังที่นรกที่ลึกที่สุดคือ นรกทาร์ทารัส เกิดความเคียดแค้นใจกับไกอาอย่างยิ่ง บุตรกลุ่มต่อมาคือ ไททัน ซึ่งมีรูปลักษณ์ดูดี ทำให้ท่านไม่พอใจ ยิ่งเกิดความเคียดแค้นต่อไกอาเป็นเท่าทวีคูณ นางจึงขอร้องให้ลูก ๆ เหล่าไททันสังหารยูเรนัส โครนัสหนึ่งในเหล่าไททันตอบตกลงที่จะช่วย ต่อมายูเรนัสจึงโดนโค่นล้มโดยโครนัส ลูกชายตนเอง อย่างไรก็ตาม ไม่มีการบูชาเฉพาะยูเรนัสที่สืบทอดมาจนถึงสมัยคลาสสิก[3] และยูเรนัสไม่ได้ปรากฏในภาพวาดบนเครื่องปั้นดินเผาของกรีกทั่วไป อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบของโลก ท้องฟ้า และสติกซ์ อาจถูกนำมาร่วมกันในการสวดมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ในบทกวีของโฮเมอร์[4] ยูเรนัสมีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าคาเอลุสของโรมัน[5][6][7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ According to Hesiod, Theogony 183–200, Aphrodite was born from Uranus' severed genitals, but according to Homer, Aphrodite was the daughter of Zeus (Iliad 3.374, 20.105; Odyssey 8.308, 320) and Dione (Iliad 5.370–71), see Gantz, pp. 99–100.
- ↑ Hard, p. 34.
- ↑ "We did not regard them as being in any way worthy of worship," Karl Kerenyi, speaking for the ancient Greeks, said of the Titans (Kerenyi, p. 20); "with the single exception, perhaps, of Cronos; and with the exception, also, of Helios."
- ↑ As at Homer, Iliad 15.36 ff., Odyssey 5.184 ff.
- ↑ Grimal, s.v. "Caelus" p. 38.
- ↑ Varro, De lingua Latina 5.58.
- ↑ Marion Lawrence, "The Velletri Sarcophagus", American Journal of Archaeology 69.3 (1965), p. 220.
- ↑ Floro, Epitome 1.40 (3.5.30): "The Jews tried to defend Jerusalem; but he [Pompeius Magnus] entered this city also and saw that grand Holy of Holies of an impious people exposed, Caelum under a golden vine" (Hierosolymam defendere temptavere Iudaei; verum haec quoque et intravit et vidit illud grande inpiae gentis arcanum patens, sub aurea vite Caelum). Finbarr Barry Flood, The Great Mosque of Damascus: Studies on the Makings of an Umayyad Visual Culture (Brill, 2001), pp. 81 and 83 (note 118). El Oxford Latin Dictionary (Oxford: Clarendon Press, 1982, 1985 reprinting), p. 252, entry on caelum, cita a Juvenal, Petronio, and Floro como ejemplos de Caelus o Caelum "with reference to Jehovah; also, to some symbolization of Jehovah."