อีโอซิโนฟิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีโอซิโนฟิล
Eosinophil
ภาพจำลอง 3 มิติของอีโอซิโนฟิล
อีโอซิโนฟิลภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (400×) จากการตรวจสเมียร์เลือด อีโอซิโนฟิลถูกล้อมรอบด้วยเม็ดเลือดแดง และมีเกล็ดเลือดอยู่ทางมุมซ้ายบน
รายละเอียด
การออกเสียง/ˌˈsɪnəfɪl/)[1]
ระบบระบบภูมิคุ้มกัน
ตัวระบุ
MeSHD004804
THH2.00.04.1.02017
FMA62861
ศัพท์ทางกายวิภาคของจุลกายวิภาคศาสตร์

อีโอซิโนฟิล (อังกฤษ: eosinophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล โดยมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ปกติจะเห็นเป็น 2 lobe และสามารถเห็นแกรนูลชัดเจนโดยมีขนาดประมาณ 0.5 ไมครอน ซึ่งจะติดสีแดงอิฐเมื่อมองดูจากฟิล์มเลือด โดยปกติเราสามารถพบอีโอซิโนฟิลในไขกระดูกประมาณ 0-3 เปอร์เซนต์ และในกระแสเลือด ประมาณ 0-4 เปอร์เซนต์ต่อเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หรือประมาณ 0-432 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร

อีโอซิโนฟิลสร้างจากไขกระดูก โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้น จะเข้าสู่กระแสเลือด ประมาณ 6-8 ชั่วโมง และจะกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยอีโอซิโนฟิลที่อยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาจจะกลับเข้าไปสู่กระแสเลือดและไขกระดูกอีกก็ได้ นอกจากนี้ พบว่าอีโอซิโนฟิลสามารถเคลื่อนที่ไปยังเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบอีกด้วย

โดยปกติอีโอซิโนฟิลมีหน้าที่เกี่ยวข้องการตอบสนองต่อการติดเชื้อพยาธิ การแพ้ หรือ การอักเสบ โดยภาวะที่พบอีโอซิโนฟิลสูงนั้น อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ ร่างกายเกิดอาการแพ้ (Allergic disorders) การติดเชื้อพยาธิ โรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น

รูปเพิ่มเติม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "eosinophil - Definition of eosinophil in English by Oxford Dictionaries". Oxford Dictionaries - English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 27 March 2018.
  • พรเทพ เทียนสิวากุล, โลหิตวิทยาคลินิก, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุภินันท์ สเป็ค-สายเชื้อ, โลหิตวิทยา, 2534