เซลล์ที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซลล์ที
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดของเซลล์ทีในมนุษย์
ภาพใส่สีของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด มีเซลล์เม็ดเลือดแดง (ซ้าย) เกล็ดเลือด (กลาง) และเซลล์ทีลิมโฟไซต์ (ขวา)
รายละเอียด
ระบบระบบภูมิคุ้มกัน
ตัวระบุ
ภาษาละตินlymphocytus T
MeSHD013601
THH2.00.04.1.02007
FMA62870
ศัพท์ทางกายวิภาคของจุลกายวิภาคศาสตร์

เซลล์ที (อังกฤษ: T cell) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ประเภทหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว สามารถแยกจากลิมโฟซัยต์ชนิดอื่นๆ ได้จากการที่สามารถตรวจพบตัวรับทีเซลล์ (T-cell receptor) ได้บนเยื่อผิวของเซลล์นี้

เช่นเดียวกับเม็ดเลือดขาวอื่นๆ หลายชนิด เซลล์ทีมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ตัวอ่อนเซลล์ทีที่อยู่ระหว่างการพัฒนาจะย้ายที่ไปอยู่ในต่อมไทมัส ซึ่งชื่อเซลล์ทีก็มาจากต่อมไทมัสนี้เอง หลังจากนั้นเซลล์ทีก็จะพัฒนาต่อจนกลายเป็นเซลล์ทีชนิดย่อยๆ ต่อไป แม้เซลล์ทีเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ออกจากต่อมไทมัสแล้วก็ตาม เซลล์ทีชนิดย่อยต่างๆ มีหน้าที่ที่สำคัญและแตกต่างกันไปในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]