ข้ามไปเนื้อหา

เซลล์บี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บี เซลล์ มีหน้าที่สังเคราะห์แอนติบอดี ที่ถูกกระตุ้นจากแอนติเจน

บีเซลล์ (อังกฤษ: B lymphocyte, B cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซต์ ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารแปลกปลอมหรือแอนติเจนจะพัฒนาเป็นพลาสมาเซลล์ที่มีหน้าที่หลั่งแอนติบอดีมาจับกับแอนติเจน บีเซลล์มีแหล่งกำเนิดในร่างกายจากสเต็มเซลล์ ที่ชื่อว่า "Haematopoietic Stem cell" ที่ไขกระดูก พบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณก้นกบของไก่ ที่ชื่อว่า Bursa of Fabricius จึงใช้ชื่อว่า "บีเซลล์" (บางแห่งอ้างว่า B ย่อมาจาก Bone Marrow หรือไขกระดูกซึ่งเป็นที่กำเนิดของบีเซลล์ แต่นี่เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้น) ในขณะที่ ลิมโฟไซต์อีกชนิด คือ ทีเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณไทมัส จึงใช้ชื่อว่า "ทีเซลล์"

บีเซลล์เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive Immune System)

การทำงาน

[แก้]

ร่างกายของมนุษย์สร้างบีเซลล์จำนวนหลายพันล้านชนิดในแต่ละวันมาอยู่ในระบบเลือดและน้ำเหลืองเพื่อทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์เหล่านี้จะยังไม่ทำหน้าที่ผลิตแอนติบอดีจนกว่าจะถูกกระตุ้นเต็มที่ โดยบีเซลล์แต่ละตัวจะมีรีเซพเตอร์โปรตีน (receptor protein) เรียกว่า บีเซลล์ รีเซพเตอร์ (B cell receptor - BCR) บนผิวเซลล์ ซึ่งจะมีความจำเพาะต่อแอนติเจนเพียงหนึ่งชนิด บีเซลล์รีเซพเตอร์เป็นอิมมูโนกลอบูลินที่ติดอยู่บนผิวเซลล์ ซึ่งเมื่อบีเซลล์เจอกับแอนติเจนที่จำเพาะ (แอนติเจนจับกับรีเซพเตอร์) และได้รับสัญญาณเสริมจากเฮลเปอร์ทีเซลล์แล้วก็จะพัฒนาต่อไปเป็นเซลล์ชนิดใดชนิดหนึ่งระหว่างพลาสมาเซลล์กับเมโมรีบีเซลล์ บีเซลล์อาจจะพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดใดชนิดหนึ่งได้ในทันทีหรือเข้าสู่การพัฒนาระยะกลางคือปฏิกิริยาในเจอร์มินัลเซนเตอร์ ซึ่งบีเซลล์จะกลายพันธุ์หลายครั้งในยีนที่สร้างอิมมูโนกลอบูลินจนมีความจำเพาะต่อแอนติเจนมากขึ้น และอาจจะเปลี่ยนคลาสได้ด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  • Janeway, C. et. al. Immunobiology 6thedition Garland Science Publishing, 2005