อลิซ มุนโร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อลิซ มุนโร
เกิดอลิซ แอนน์ เลียดโลว์
(1931-07-10) 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1931 (92 ปี)
วิงแฮม รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา
อาชีพนักประพันธ์
ภาษาอังกฤษ
สัญชาติแคนาดา
พลเมืองแคนาดา
จบจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนแทรีโอ[1]
แนวเรื่องสั้น
รางวัลสำคัญรางวัลผู้สำเร็จการ (ค.ศ. 1968, 1978, 1986)
รางวัลกิลเลอร์ (ค.ศ. 1998, 2004)
รางวัลแมนบุคเคอร์อินเตอร์เนชันแนล (ค.ศ. 2009)
รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (ค.ศ. 2013)
คู่สมรสเจมส์ มุนโร (ค.ศ. 1951–1972)
เจอรัลด์ เฟรมลิน (ค.ศ. 1976–2013, เสียชีวิตแล้ว)
บุตร4

อลิซ แอนน์ มุนโร (อังกฤษ: Alice Ann Munro; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1931 – ปัจจุบัน) เป็นนักประพันธ์ชาวแคนาดาผู้มีผลงานเขียนในภาษาอังกฤษ งานของมุนโรได้รับการอธิบายว่ามีการปฏิวัติโครงสร้างของเรื่องสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะเฉพาะในการเดินหน้าและย้อนกลับของห้วงเวลา[2]

เรื่องแต่งของมุนโรโดยส่วนใหญ่มักจะมีฉากในบ้านเกิดของเธอ ซึ่งก็คือฮูรอนคันทรีในเซาท์เวสเทิร์นออนแทรีโอ[3] เรื่องราวต่าง ๆ ของเธอแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของมนุษย์ในรูปแบบภาษา ที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน[4] มุนโรถูกย่กย่องว่าเป็น "หนึ่งในนักเขียนเรื่องแต่งร่วมสมัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเรา" หรือที่นักเขียนด้วยกันอย่าง ซินเทีย โอซิก ได้ยกย่องมุนโรว่าเป็นเหมือน "เชคอฟในยุคปัจจุบัน"[5] ทั้งนี้ เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เมื่อปี ค.ศ. 2013 ในฐานะ "ผู้เชี่ยวชาญแห่งการเขียนเรื่องสั้นร่วมสมัย"[6] และรางวัลแมนบุคเคอร์อินเตอร์เนชันแนลใน ค.ศ. 2009 สำหรับการสร้างผลงานตลอดชีวิต นอกจากนั้น เธอยังเป็นผู้ชนะรางวัลผู้สำเร็จการของประเทศแคนาดาในสาขาเรื่องแต่ง ถึงสามสมัย[6][7][8] และเป็นผู้ได้รับรางวัลแมเรียนเอ็งเกล ของกองทุนนักเขียนแห่งแคนาดาในปี ค.ศ. 1996[9]

ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา[แก้]

มุนโร มีชื่อเดิมว่า อลิซ แอน เลดลอว์ (Alice Ann Laidlaw) เกิดในชุมชนวิงแกม (Wingham) รัฐออนแทรีโอ โดยพ่อของเธอ โรเบิร์ต เอริค เลดลอว์ ประกอบอาชีพเกษตรกรทำฟาร์มสุนัขจิ้งจอกและมิงค์[10] และเปลี่ยนมาทำฟาร์มไก่งวงในเวลาต่อมา[11] แม่ของเธอ แอนน์ คลาร์ก เลดลอว์ (née Chamney) เป็นครูโรงเรียน เธอมีเชื้อสายชาวไอริชและชาวสกอต ซึ่งพ่อของเธอเป็นทายาทสายตรงของเจมส์ ฮอกก์ "the Ettrick Shepherd"[12] นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงชาวสกอต

มุนโรเริ่มงานเขียนตอนเป็นวัยรุ่น โดยในปี ค.ศ. 1950 เรื่องแรกของเธอ The Dimensions of a Shadow ได้รับการตีพิมพ์ ขณะที่เธอศึกษาภาษาอังกฤษและสื่อสารมวลชนที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนตาริโอ ภายใต้ทุนการศึกษาสองปี[13][14] ในช่วงเวลานี้เธอทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟ, คนเก็บใบยาสูบ และเสมียนห้องสมุด ในปี ค.ศ. 1951 เธอได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยซึ่งเธอเข้าศึกษามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 เพื่อแต่งงานกับเพื่อนนักเรียน เจมส์ มุนโร พวกเขาย้ายไปที่ย่านดุนดาเรฟ (Dundarave) ในเมืองเวสต์แวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ซึ่งเจมส์ได้งานในห้างสรรพสินค้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1963 ทั้งคู่ย้ายไปเมืองวิกตอเรีย ที่นี่พวกเขาได้เปิดร้านหนังสือ Munro's Books ซึ่งปัจจุบันยังคงเปิดดำเนินการอยู่

อาชีพ[แก้]

ผลงานรวมเรื่องสั้นชุดแรกของมุนโรที่ได้รับการชื่นชมยกย่องอย่างสูงคือ Dance of the Happy Shades (1968) ซึ่งได้รับรางวัล Governor General's Award อันเป็นรางวัลสูงสุดด้านวรรณกรรมของประเทศแคนาดา[15] ความสำเร็จนั้นตามมาด้วยรวมเรื่องสั้น Lives of Girls and Women (1971) ซึ่งเป็นรวมเรื่องสั้นที่มีประเด็นคล้ายกัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1978 รวมเรื่องสั้นที่มีประเด็นคล้ายกัน Who Do You Think You Are ? ได้รับการตีพิมพ์ (ในสหรัฐใช้ชื่อเรื่องว่า The Beggar Maid: Stories of Flo and Rose ) หนังสือเล่มนี้ทำให้มุนโรได้รับรางวัล Governor General's Award เป็นครั้งที่สอง[16] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 ถึง ค.ศ. 1982 มุนโรได้เดินทางเยือนออสเตรเลีย, จีน และสแกนดิเนเวีย เพื่อปรากฏตัวและอ่านหนังสือต่อสาธารณะตามการจัดงานทางด้านวรรณกรรมต่างๆ ในปี ค.ศ. 1980 มุนโรดำรงตำแหน่งนักเขียนประจำของมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย และมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์

นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1980 มุนโรได้ตีพิมพ์ชุดรวมเรื่องสั้นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก ๆ สี่ปี ล่าสุดในปี ค.ศ. 2001, 2004, 2006, 2009 และ 2012 เรื่องสั้นของมุนโรในฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกได้ปรากฏในวารสารต่าง ๆ เช่น The Atlantic Monthly, Grand Street , นิตยสาร Harper's, Mademoiselle, The New Yorker, นิตยสาร Narrative และ The Paris Review ชุดรวมเรื่องสั้นของเธอได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ถึงสิบสามภาษา[1] เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 มุนโรได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม โดยได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้เชี่ยวชาญแห่งการเขียนเรื่องสั้นร่วมสมัย"[6][7][17] เธอเป็นชาวแคนาดาคนแรกและผู้หญิงคนที่ 13 ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Preface. Dance of the Happy Shades. Alice Munro. First Vintage contemporaries Edition, August 1998. ISBN 0-679-78151-X Vintage Books, A Division of Random House, Inc. New York.
  2. Alice Munro Wins Nobel Prize in Literature, by Julie Bosmans, The New York Times, 10 October 2013
  3. Marchand, P. (29 August 2009). "Open Book: Philip Marchand on Too Much Happiness, by Alice Munro". The National Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-25. สืบค้นเมื่อ 5 September 2009.
  4. Meyer, M. "Alice Munro". Meyer Literature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 21 November 2007.
  5. Merkin, Daphne (24 October 2004). "Northern Exposures". New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 25 February 2008.
  6. 6.0 6.1 6.2 "The Nobel Prize in Literature 2013 – Press Release" (PDF). 10 October 2013. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  7. 7.0 7.1 Bosman, Julie (10 October 2013). "Alice Munro Wins Nobel Prize in Literature". New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  8. "Alice Munro wins Man Booker International prize". The Guardian. 27 May 2009.
  9. "Past Writers' Trust Engel/Findley Award Winners". สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  10. Jeanne McCulloch, Mona Simpson "Alice Munro, The Art of Fiction No. 137", The Paris Review No. 131, Summer 1994
  11. Gaunce, Julia, Suzette Mayr, Don LePan, Marjorie Mather, and Bryanne Miller, eds. "Alice Munro." The Broadview Anthology of Short Fiction. 2nd ed. Buffalo, NY: Broadview Press, 2012.
  12. Taylor, Catherine (10 October 2013). "For Alice Munro, small is beautiful" – โดยทาง www.telegraph.co.uk.
  13. Jason Winders (10 October 2013). "Alice Munro, LLD'76, wins 2013 Nobel Prize in Literature". Western News. The University of Western Ontario.
  14. "Canada's Alice Munro, 'master' of short stories, wins Nobel Prize in literature". CNN. 10 October 2013. สืบค้นเมื่อ 11 October 2013.
  15. "Past GG Winners 1968". canadacouncil.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  16. "Past GG Winners 1978". canadacouncil.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  17. "Alice Munro wins Nobel Prize for Literature". BBC News. 10 October 2013. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  18. Saul Bellow, the 1976 laureate, was born in Canada, but he moved to the United States at age nine and became a US citizen at twenty-six.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Atwood, Margaret et al. "Appreciations of Alice Munro." Virginia Quarterly Review 82.3 (Summer 2006): 91–107. Interviews with various authors (Margaret Atwood, Russell Banks, Michael Cunningham, Charles McGrath, Daniel Menaker and others) presented in first-person essay format
  • Awano, Lisa Dickler. "Kindling The Creative Fire: Alice Munro's Two Versions of ‘Wood.'" New Haven Review (30 May 2012). Examining overall themes in Alice Munro's fiction through a study of her two versions of "Wood."
  • Awano, Lisa Dickler. "Alice Munro's Too Much Happiness." เก็บถาวร 2010-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Virginia Quarterly Review (22 October 2010). Long-form book review of Too Much Happiness in the context of Alice Munro's canon.
  • Besner, Neil Kalman. Introducing Alice Munro's Lives of Girls and Women: a reader's guide. (Toronto: ECW Press, 1990.)
  • Blodgett, E. D. Alice Munro. (Boston: Twayne Publishers, 1988.)
  • Carrington, Ildikó de Papp. Controlling the Uncontrollable: the fiction of Alice Munro. (DeKalb: Northern Illinois University Press, 1989.)
  • Carscallen, James. The Other Country: patterns in the writing of Alice Munro. (Toronto: ECW Press, 1993.)
  • Cox, Alisa. Alice Munro. (Tavistock: Northcote House, 2004.)
  • Davey, Frank. 'Class, Family Furnishings, and Munro's Early Stories.' In Ventura and Conde. 79–88.
  • de Papp Carrington, Ildiko."What's in a Title?: Alice Munro's 'Carried Away.'" Studies in Short Fiction. 20.4 (Fall 1993): 555.
  • Dolnick, Ben. "A Beginner's Guide to Alice Munro" The Millions (5 July 2012)
  • Elliott, Gayle. "A Different Track: Feminist meta-narrative in Alice Munro's 'Friend of My Youth.'" Journal of Modern Literature. 20.1 (Summer 1996): 75.
  • Fowler, Rowena. "The Art of Alice Munro: The Beggar Maid and Lives of Girls and Women." Critique. 25.4 (Summer 1984): 189.
  • Garson, Marjorie. "Alice Munro and Charlotte Bronte." University of Toronto Quarterly 69.4 (Fall 2000): 783.
  • Genoways, Ted. "Ordinary Outsiders." Virginia Quarterly Review 82.3 (Summer 2006): 80–81.
  • Gibson, Douglas. Stories About Storytellers: Publishing Alice Munro, Robertson Davies, Alistair MacLeod, Pierre Trudeau, and Others. (ECW Press, 2011.) Excerpt. เก็บถาวร 2013-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Gittings, Christopher E.. "Constructing a Scots-Canadian Ground: Family history and cultural translation in Alice Munro." Studies in Short Fiction 34.1 (Winter 1997): 27
  • Hallvard, Dahlie. Alice Munro and Her Works. (Toronto: ECW Press, 1984.)
  • Hebel, Ajay. The Tumble of Reason: Alice Munro's discourse of absence. (Toronto: University of Toronto Press, 1994.)
  • Hiscock, Andrew. "Longing for a Human Climate: Alice Munro's 'Friend of My Youth' and the culture of loss." Journal of Commonwealth Literature 32.2 (1997): 18.
  • Hooper, Brad The Fiction of Alice Munro: An Appreciation (Westport, Conn.: Praeger, 2008), ISBN 978-0-275-99121-0
  • Houston, Pam. "A Hopeful Sign: The making of metonymic meaning in Munro's 'Meneseteung.'" Kenyon Review 14.4 (Fall 1992): 79.
  • Howells, Coral Ann. Alice Munro. (New York: Manchester University Press, 1998), ISBN 978-0-7190-4558-5
  • Hoy, H. "'Dull, Simple, Amazing and Unfathomable': Paradox and Double Vision In Alice Munro's Fiction." Studies in Canadian Literature/Études en littérature canadienne (SCL/ÉLC), Volume 5.1. (1980).
  • Lecercle, Jean-Jacques. 'Alice Munro's Two Secrets.' In Ventura and Conde. 25–37.
  • Levene, Mark. "It Was About Vanishing: A Glimpse of Alice Munro's Stories." University of Toronto Quarterly 68.4 (Fall 1999): 841.
  • Lynch, Gerald. "No Honey, I'm Home." Canadian Literature 160 (Spring 1999): 73.
  • MacKendrick, Louis King. Some Other Reality: Alice Munro's Something I've Been Meaning to Tell You. (Toronto: ECW Press, 1993.)
  • Martin, W.R. Alice Munro: paradox and parallel. (Edmonton: University of Alberta Press, 1987.)
  • Mazur, Carol and Moulder, Cathy. Alice Munro: An Annotated Bibliography of Works and Criticism. (Toronto: Scarecrow Press, 2007.) ISBN 978-0-8108-5924
  • McCaig, JoAnn. Reading In: Alice Munro's archives. (Waterloo: Wilfrid Laurier University Press, 2002.)
  • Miller, Judith, ed. The Art of Alice Munro: saying the unsayable: papers from the Waterloo conference. (Waterloo: Waterloo Press, 1984.)
  • Munro, Sheila. Lives of Mother and Daughters: growing up with Alice Munro. (Toronto: McClelland & Stewart, 2001.)
  • Pfaus, B. Alice Munro. (Ottawa: Golden Dog Press, 1984.)
  • Rasporich, Beverly Jean. Dance of the Sexes: art and gender in the fiction of Alice Munro. (Edmonton: University of Alberta Press, 1990.)
  • Redekop, Magdalene. Mothers and Other Clowns: the stories of Alice Munro. (New York: Routledge, 1992.)
  • Ross, Catherine Sheldrick. Alice Munro: a double life. (Toronto: ECW Press, 1992.)
  • Simpson, Mona. A Quiet Genius The Atlantic. (December 2001)
  • Smythe, Karen E. Figuring Grief: Gallant, Munro and the poetics of elegy. (Montreal: McGill-Queen's University Press, 1992.)
  • Steele, Apollonia and Tener, Jean F., editors. The Alice Munro Papers: Second Accession. (Calgary: University of Calgary Press, 1987.)
  • Tausky, Thomas E. Biocritical Essay. The University of Calgary Library Special Collections (1986)
  • Thacker, Robert. Alice Munro: writing her lives: a biography. (Toronto: McClelland & Stewart, 2005.)
  • Thacker, Robert. Ed. The Rest of the Story: critical essays on Alice Munro. (Toronto: ECW Press, 1999.)
  • Ventura, Héliane, and Mary Condé, eds. Alice Munro. Open Letter 11:9 (Fall-Winter 2003-4). ISSN 0048-1939. Proceedings of the Alice Munro conference L'écriture du secret/Writing Secrets, Université d'Orléans, 2003.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Alice Munro