อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์
อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | อนุสรา ยังตรง ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย ตนเอง |
ถัดไป | อัครวัฒน์ อัศวเหม |
ดำรงตำแหน่ง 29 มีนาคม พ.ศ. 2552 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | สรชา วีรชาติวัฒนา |
ถัดไป | ตนเอง ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย อนุสรา ยังตรง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2551–2561, 2567–ปัจจุบัน) เพื่อชาติ (2561–2565) |
คู่สมรส | สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ |
บุตร | ภิญโญ กิจเลิศไพโรจน์ |
อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต 1 พรรคเพื่อไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 (การเลือกตั้งซ่อม) สังกัดพรรคเพื่อชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561
ประวัติ
[แก้]อรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ที่ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายเปงเชียง และนางใช้ควง แซ่ปึง มีพี่น้อง 5 คน สมรสกับนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุตร 2 คน คนหนึ่งเป็นนักการเมืองคือ ภิญโญ กิจเลิศไพโรจน์ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย[1]
งานการเมือง
[แก้]เป็นอดีตเหรัญญิกพรรคเพื่อไทย ในชุดที่นายสุชาติ ธาดาธำรงเวชเป็นหัวหน้าพรรค
ปลายปี พ.ศ. 2551 นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ (สามี) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ร่วมกับกลุ่มบ้านเลขที่ 109 ในคดียุบพรรคพลังประชาชน
นางอรุณลักษณ์จึงลงสมัครรับเลือกตั้งแทนสามี โดยการเลือกตั้งถูกจัดขึ้นในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552[2] ผลการเลือกตั้งนางอรุณลักษณ์แพ้นางสาวสรชา วีรชาติวัฒนา จากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตัดสินให้ใบแดงนางสรชา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ปรากฏว่านางอรุณลักษณ์ชนะการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เธอได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรปราการ พ.ศ. 2552 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.dailynews.co.th/article/192149
- ↑ เจาะสนามการเมืองปากน้ำ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ส.ส.เพื่อไทย ชนะเลือกตั้งซ่อม "ปากน้ำ" ขาดลอย คุมตัวผู้เฒ่า 71 ปี ฉีกบัตรลงคะแนน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ เก็บถาวร 2012-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย