ข้ามไปเนื้อหา

องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย
ชื่อย่อคจส. (ACT)
คําขวัญหนึ่งใจเดียวกัน ผูกพันรับใช้ คงไว้พระคำ ทรงนำ คจส.
สถาปนาพ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983)
ประเภทองค์การทางศาสนาคริสต์
สํานักงานใหญ่13 ถนนหนองประทีป ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000 ประเทศไทย
ประธาน
ศาสนาจารย์ทองทิพย์ แก้วใส
เว็บไซต์The Associated Churches in Thailand

องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย (อังกฤษ: The Associated Churches in Thailand) เป็นองค์การทางศาสนาคริสต์ในสังกัดสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ลำดับที่สองต่อจากองค์การพระกิตติคุณสมบูรณ์ในประเทศไทย เพื่อประกาศพระกิตติคุณ เผยแผ่คำสอนของพระเยซูในประเทศไทย และให้คริสตจักรโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยได้เป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน

ประวัติ

[แก้]

เมื่อปี ค.ศ. 1952 คณะโอเอ็มเอฟ (OMF International) ได้เข้ามาประกาศพระกิตติคุณในประเทศไทย ใน 8 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ อุทัยธานี, ชัยนาท, นครสวรรค์, พิจิตร, อ่างทอง, สิงห์บุรี และลพบุรี จากนั้นได้ขยายไปที่ภาคเหนือ ประกาศกับพี่น้องชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ม้ง, อิ้วเมี่ยน, อาข่า, กะเหรี่ยง, ลีซู, ลาฮู และไทใหญ่

และในปี ค.ศ. 1953 ได้เริ่มประกาศใน 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา, ยะลา, ปัตตานี และนราธิวาส เวลาต่อมา ในปี ค.ศ. 1966 จึงได้เริ่มประกาศในกรุงเทพมหานคร มีคริสตจักรเริ่มเกิดขึ้นในหลายที่หลายแห่ง คณะโอเอ็มเอฟ จึงมีความปรารถนาที่จะเห็นคริสตจักรเหล่านี้รับผิดชอบ ตัดสินใจ ดูแลกันเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น คริสตจักรในแต่ละภาคดังกล่าวข้างต้น จึงได้รวมตัวกันขึ้นเป็นคริสตจักรสัมพันธ์ภาค และเมื่อแข็งแรงขึ้นก็ได้แบ่งการบริหารออกเป็นเขต ๆ ตามความเหมาะสม และสะดวกในการบริหารงานในด้านต่าง ๆ

เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1980 คริสตจักรสัมพันธ์แต่ละภาค มีความปรารถนาที่จะมีการสัมพันธ์กับภาคอื่น ๆ ด้วย จึงได้ส่งตัวแทนไปเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกัน และเมื่อได้ทำการปรึกษาหารือกันในระยะเวลาอันพอสมควรแล้ว จึงได้มีการตกลงร่วมกัน ที่จะมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งเป็น “คริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย” ขึ้นในปี ค.ศ. 1983 ต่อมา จึงขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ประเภทสมาชิกองค์การภายในประเทศ เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1986 โดยใช้ชื่อว่า องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย

ในปัจจุบัน องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย มีคริสตจักรทั้งหมด 250 แห่ง แบ่งออกเป็น 13 ภาค สถานประกาศทั้งหมด 21 แห่ง มีหน่วยงานและสถาบันอีก 27 แห่ง

คริสตจักรในองค์กร

[แก้]

ภาคกลาง

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคกลาง[1] มีทั้งหมด 59 แห่ง (ไม่รวมสถานประกาศ) ดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีสถานประกาศอีก 3 แห่ง ดังนี้

ภาคใต้

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคใต้[2] มีทั้งหมด 10 แห่ง ดังนี้

ภาคม้ง

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคม้ง[3] มีทั้งหมด 37 แห่ง (ไม่รวมสถานประกาศ) ดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีสถานประกาศอีก 1 แห่ง ดังนี้

ภาคกะเหรี่ยงสะกอ

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคกะเหรี่ยงสะกอ[4] มีทั้งหมด 14 แห่ง ดังนี้

ภาคกะเหรี่ยงโป

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคกะเหรี่ยงโป[5] มีทั้งหมด 9 แห่ง ดังนี้

ภาคอิ้วเมี่ยน

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคอิ้วเมี่ยน[6] มีทั้งหมด 16 แห่ง (ไม่รวมสถานประกาศ) ดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีสถานประกาศอีก 1 แห่ง ดังนี้

ภาคกรุงเทพ

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคกรุงเทพ[7] มีทั้งหมด 25 แห่ง ดังนี้

ภาคไทยเหนือ

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคไทยเหนือ[8] มีทั้งหมด 39 แห่ง (ไม่รวมสถานประกาศ) ดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีสถานประกาศอีก 6 แห่ง ดังนี้

ภาคละว้า

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคละว้า[9] มีทั้งหมด 17 แห่ง (ไม่รวมสถานประกาศ) ดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีสถานประกาศอีก 1 แห่ง ดังนี้

ภาคขมุ

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคขมุ[10] มีทั้งหมด 3 แห่ง ดังนี้

ภาคอีสาน

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคอีสาน[11] มีทั้งหมด 9 แห่ง (ไม่รวมสถานประกาศ) ดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีสถานประกาศอีก 3 แห่ง ดังนี้

ภาคคริสเตียนสามัคคี

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคคริสเตียนสามัคคี[12] มีทั้งหมด 8 แห่ง ดังนี้

ภาคลาหู่ (เชเล)

[แก้]

รายชื่อคริสตจักรสัมพันธ์ภาคลาหู่ (เชเล)[13] มีทั้งหมด 13 แห่ง (ไม่รวมสถานประกาศ) ดังนี้

นอกจากนี้ ยังมีสถานประกาศอีก 8 แห่ง ดังนี้

หน่วยงานและสถาบันในองค์กร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]