ข้ามไปเนื้อหา

หลอดเลือดสมองโป่งพอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
(Cerebral aneurysm)
ภาพจากการฉีดสีหลอดเลือดแสดงให้เห็นโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10I67.1
ICD-9437.3
MeSHD002532

โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (อังกฤษ: cerebral aneurysm) เป็นโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการอ่อนแอของบางส่วนของผนังหลอดเลือดแดงหรือดำซึ่งทำให้หลอดเลือดส่วนนั้นพองออกมาคล้ายลูกโป่ง

สาเหตุ

[แก้]

โรคหลอดเลือดโป่งพองอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติแต่กำเนิด โรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดแดงแข็งหรือการบาดเจ็บของศีรษะ หลอดเลือดสมองโป่งพองมักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็กแต่ก็สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ ส่วนใหญ่พบในเพศชายมากกว่าหญิงด้วยอัตราส่วน 2:1[1]

ปัจจุบันมีความพยายามในการหายีนต้นเหตุของการเกิดหลอดเลือดโป่งพองภายในกะโหลกศีรษะ ตำแหน่งที่พบใหม่ ๆ เช่น 1p34-36, 2p14-15, 7q11, 11q25, and 19q13.1-13.3

พยากรณ์โรค

[แก้]

พยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหลอดเลือดโป่งพองที่แตกและความรุนแรง อายุ สุขภาพทั่วไป และสภาวะทางระบบประสาทเมื่อแรกมีอาการ ผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตทันทีหลังมีเลือดออกครั้งแรก บางรายฟื้นตัวได้โดยมีอาการหลงเหลือน้อยมากหรือไม่มีเลย ปัจจัยสำคัญที่สุดคือระดับความรุนแรงและอายุ ผู้ป่วยที่มีอาการในระดับ Hunt and Hess I และ II เมื่อมาถึงโรงพยาบาล และผู้ป่วยอายุน้อยมักมีผลการรักษาดีกว่าโดยมีโอกาสเสียชีวิตหรือพิการน้อยกว่า ผู้ป่วยสูงอายุและผู้ที่มีอาการระดับ Hunt and Hess รุนแรงกว่าเมื่อแรกรับมีพยากรณ์โรคที่แย่กว่า โดยรวมแล้วผู้ป่วยประมาณสองในสามมีผลการรักษาที่ไม่ดี อาจเสียชีวิตหรือมีความพิการถาวรได้[2][3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brisman JL, Song JK, Newell DW (August 2006). "Cerebral aneurysms". N Engl J Med. 355 (9): 928–39. doi:10.1056/NEJMra052760. PMID 16943405.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Hop, Jeanette (March 1997). "Case-Fatality Rates and Functional Outcome after Subarachnoid Hemorrhage: A Systematic Review". Stroke. 28 (3): 660–4. doi:10.1161/01.STR.28.3.660. PMID 11157554. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. Ljunggren, B (1985). "Cognitive impairment and adjustment in patients without neurological deficit after aneurysmal SAH and early operation". Journal of Neurosurgery. 62 (5): 673–9. doi:10.3171/jns.1985.62.5.0673. PMID 3989590. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]