สุเทพ อู่อ้น
สุเทพ อู่อ้น | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 136 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2512 |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) คณะก้าวหน้า (2567-ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยทักษิณ |
สุเทพ อู่อ้น (เกิด 26 ธันวาคม พ.ศ. 2512) อดีตประธานสหภาพแรงงาน[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร[3]อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยและอดีตกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล
ประวัติ
[แก้]สุเทพ อู่อ้น เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2512 สำเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การจัดการ) จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
การทำงาน
[แก้]งานด้านแรงงาน
[แก้]สุเทพ อู่อ้น เคยทำงานบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานยานยนต์และอะไหล่อีซูซุ ประเทศไทย ปี 2541 เป็นผู้ก่อตั้งสมาพันธ์แรงงานอีซูซุ ประเทศไทย ปี 2556 และเป็นผู้ร่วมสนับสนุนการจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย โดยดำรงตำแหน่งรองประธานสภาฯ
งานการเมือง
[แก้]ต่อมาเขาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่ นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เดิมเป็น ส.ส. สังกัดพรรคอนาคตใหม่ เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2563 ก็ได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 และเขาได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรค[4] และได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการแรงงานในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25
สุเทพ ได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 แทนณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งด้วยคำพิพากษาของศาลอาญามีนบุรี คดีเมาแล้วขับ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566[5]
ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
[แก้]- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคก้าวไกล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล (เลื่อนแทน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "อดีตพนง.ซับคอนแทรค-วินมอไซค์-สหภาพแรงงาน ผงาดนั่ง "ปธ.กมธ.แรงงาน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อก้าวไกล
- ↑ กมธ.แรงงาน จับมือเครือข่าย ชงแก้ กม. คุ้มครองแรงงานนอกระบบ-ต่างด้าว เข้าถึงสวัสดิการ
- ↑ ""พิธา" นั่งหัวหน้าพรรคก้าวไกล เปิดโลโก้หัวลูกศรสีส้ม พร้อมพุ่งไปยังเป้าหมายข้างหน้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
- ↑ ประกาศเลื่อน ‘สุเทพ อู่อ้น-อนุชา บูรพชัยศรี’ ขึ้น ส.ส. เตรียมปฏิญาณตน 12 ก.ค.นี้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔