ข้ามไปเนื้อหา

สุลต่านอับดุล อะซีซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อับดุล อะซีซ
عبد العزيز
เคาะลีฟะฮ์ออตโตมัน
Amir al-Mu'minin
Kayser-i Rûm
Custodian of the Two Holy Mosques
ข่าน
สุลต่านออตโตมันองค์ที่ 32 (จักรพรรดิ)
ครองราชย์25 มิถุนายน พ.ศ. 2404 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2419
ก่อนหน้าสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1
ถัดไปสุลต่านมูรัดที่ 5
ประสูติ8 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2372
คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิออตโตมัน
สวรรคต4 มิถุนายน พ.ศ. 2419[1]
Çırağan Palace, คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิออตโตมัน
ฝังพระศพTomb of Sultan Mahmud II, Fatih, Istanbul
ConsortsDürrünev Kadın
Hayranidil Kadın
Edadil Kadın
Nesrin Kadın
Gevheri Kadın
พระราชบุตรsee below
พระนามเต็ม
อับดุล อะซีซ ฮัน บิน มาห์มุด[2]
ราชวงศ์ออตโตมัน
พระราชบิดาสุลต่านมามุดห์ที่ 3
พระราชมารดาPertevniyal Sultan
ศาสนาอิสลาม
ทูกรา

สุลต่านอัลดุล อะซีซ (Abdul Aziz; (ภาษาตุรกีออตโตมัน: عبد العزيز / `Abdü’l-`Azīz) เป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมาน ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2404 – 2419 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาคือสุลต่านอับดุล เมจิดที่ 1 พระองค์ประสูติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2372

ในรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิออตโตมานถูกคุกคามจากตะวันตกสูงมาก ทำให้พระองค์ต้องสานต่องานทางด้านการปฏิรูปที่พระเชษฐาของพระองค์ริเริ่มไว้ พระองค์เสด็จไปปารีสและเวียนนาใน พ.ศ. 2410 ซึ่งนับเป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมานพระองค์แรกที่เสด็จต่างประเทศ เมื่อกลับมาแล้ว ได้นำสถาปัตยกรรมแบบยุโรปมาใช้ในประเทศ นอกจากนั้น ในรัชสมัยของพระองค์ยังมีปัญหาด้านการคลังเนื่องจากการกู้เงินต่างประเทศมาใช้ในรัชกาลก่อนหน้า ใน พ.ศ. 2418 นั้น ยอดเงินกู้ของจักรวรรดิออตโตมานสูงถึง 200 ล้านปอนด์

นอกจากนั้น ในรัชสมัยของพระองค์เกิดการจลาจลหลายแห่ง เริ่มจากชาวคริสต์ในเกาะครีตประกาศเอกราช และขอไปรวมกับกรีซใน พ.ศ. 2410 สุลต่านทรงส่งกำลังไปปราบจน พ.ศ. 2411 จึงยอมให้ชาวคริสต์ร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ชาวเติร์กในการเก็บภาษีและตัดสินคดี และให้มีสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งได้ ใน พ.ศ. 2418 เกิดจลาจลในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชาวนาที่เป็นชาวคริสต์กับเจ้าของที่ดินที่เป็นมุสลิม ที่มีการขูดรีดภาษีชาวนา ทำให้มีผู้ลี้ภัยเข้าไปในเซอร์เบีย มอนเตเนโกร และออสเตรีย-ฮังการี มหาอำนาจในตะวันตกได้แก่ ออสเตรีย-ฮังการี เยอรมัน และรัสเซียพยายามขัดขวางการจลาจลโดยจัดการประชุมที่เบอร์ลิน พ.ศ. 2419 และประกาศเป็นบันทึกช่วยจำเบอร์ลิน เพื่อให้ผู้ลี้ภัยกลับถิ่นเดิมและดูแลการปฏิรูปให้ได้ผล อังกฤษไม่ยอมรับบันทึกช่วยจำ ทำให้วิกฤตการณ์ขยายตัวออกไป เกิดการฆ่าฟันชาวคริสต์ในบัลแกเรียหลายพันคน เพื่อตอบโต้ที่เจ้าหน้าที่ชาวเติร์กถูกชาวคริสต์สังหาร การที่สุลต่านอับดุล อะซีซไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ทำให้อัครมหาเสนาบดีมิตฮัต ปาชาก่อการรัฐประหาร ปลดพระองค์ลงจากตำแหน่งเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2419 และให้พระราชภาติยะของพระองค์ขึ้นครองราชย์แทนเป็นสุลต่านมูรัดที่ 5

สุลต่านอับดุล อะซีซสวรรคตเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2419 หลังการสละราชสมบัติ โดยใช้กรรไกรตัดที่ข้อมือทั้งสองข้างขณะถูกคุมขังในหอคอย ทำให้เกิดความกังขาว่าทรงทำเช่นนั้นได้อย่างไร[3] การชันสูตรพระศพไม่ได้รับอนุญาต เอกสารที่เป็นทางการระบุว่าทรงปลงพระชนม์ชีพเอง และพระบรมศพถูกฝังที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยมีทั้งผู้ที่เชื่อว่าทรงปลงพระชนม์ชีพเองและถูกลอบปลงพระชนม์ ต่อมาในรัชสมัยของสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ที่ครองราชย์ต่อจากสุลต่านมูรัดที่ 5 ได้กล่าวหาว่ามิตฮัต พาชาเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์สุลต่านอับดุล อะซีซ และพิพากษาให้เนรเทศปาชาไปยังคาบสมุทรอาระเบียใน พ.ศ. 2424 ก่อนที่พาชาจะถูกลอบสังหารที่นั่นในอีกสองปีต่อมา

พระบรมวงศานุวงศ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • สาคร ช่วยประสิทธิ์. สุลต่านอับดุล อะซีซ ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 2-4
  1. Hoiberg, Dale H., บ.ก. (2010). "Abdülaziz". Encyclopædia Britannica. Vol. I: A-ak Bayes (15th ed.). Chicago, IL: Encyclopædia Britannica Inc. pp. 21. ISBN 978-1-59339-837-8.
  2. Garo Kürkman, (1996), Ottoman Silver Marks, p. 46
  3. Bozdağ, İsmet (2000). Sultan Abdülhamid'in Hatıra Defteri. İstanbul: Pınar Yayınları. p. 223. ISBN 9753520344.