สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น
ก่อตั้ง | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 |
---|---|
สถานที่ | ตึกเอสเค ชั้น 8 130 ยามาบูกิ เขตชินจูกุ กรุงโตเกียว 162-0801 ประเทศญี่ปุ่น |
บุคคลสำคัญ | ฟูจิซาบูโระ อิชิโนะ (ประธาน) |
พื้นที่ให้บริการ | ประเทศญี่ปุ่น |
พันธกิจ | เพื่อสร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมเต็มรูปแบบ และความเท่าเทียมกันของคนหูหนวกในสังคมญี่ปุ่น |
เว็บไซต์ | http://www.jfd.or.jp/en/index.html |
สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 全日本ろうあ連盟; อังกฤษ: Japanese Federation of the Deaf; อักษรย่อ: JFD) เป็นองค์กรแห่งชาติของคนหูหนวกในประเทศญี่ปุ่น[1] ทั้งยังเป็นองค์กรสมาชิกของสหพันธ์คนหูหนวกโลก[2]
สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ให้การสนับสนุนวัฒนธรรมคนหูหนวกในประเทศญี่ปุ่น และการทำงานในการแก้ไขกฎหมายที่ป้องกันไม่ให้คนหูหนวกในประเทศญี่ปุ่นได้เข้าร่วมในวิชาชีพและกิจกรรมต่าง ๆ[3] นอกจากนี้ สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ช่วยสำหรับการรวบรวมภาษามือญี่ปุ่นเข้าสู่ระบบการศึกษาสำหรับคนหูหนวก และสนับสนุนการลงชื่อเข้าใช้ระบบล่ามภาษามือ
สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นองค์กรระดับชาติที่เป็นอิสระทางการเมือง ซึ่งมีทรัพยากรทางการเงินที่จำกัด สมาคมใน 47 จังหวัดต่างได้รับการจัดที่มีการจำกัดจากการดำเนินการทางการเมือง แต่มีความสามารถในการเข้าถึงเงินทุนของรัฐบาลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง[4]
นอกจากนี้ สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น ยังมีอิทธิพลต่อรัฐบาลในการออกกฎหมายสำหรับสวัสดิการของคนหูหนวก และการดำเนินการเข้าสู่ระบบล่ามภาษามือ[5]
ประวัติ
[แก้]สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้รับการก่อตั้ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และได้รับการจัดโดยสภาแห่งชาติเป็นครั้งแรกในนครเกียวโตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 ซึ่งองค์กรนี้มีรากฐานจากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นในช่วงก่อนสงคราม ที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1915 โดยศิษย์เก่าของโรงเรียนโตเกียวเพื่อคนหูหนวก[6]
ในช่วงเปลี่ยนแปลง สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการกับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1950[6]
ตลอดประวัติศาสตร์ของสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมและกิจกรรมมากมายสำหรับคนหูหนวกในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งการแข่งขันกีฬาและการสัมมนาทางกฎหมาย
ในปี ค.ศ. 1968 ได้มีการรณรงค์ที่จัดโดยสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อกดดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นอนุญาตให้คนหูหนวกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมได้รับใบขับขี่ ซึ่งสิทธิดังกล่าวได้รับการระงับเนื่องจากสถานะทางกฎหมายของคนหูหนวกจัดให้เป็น "บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ"[7]
ในปี ค.ศ. 1969 สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มเผยแพร่ตำรา และสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษามือรวมถึงอาการหูหนวก ตลอดจนยังคงเผยแพร่จดหมายข่าวและหนังสือข้อความอัปเดตในปัจจุบัน นอกจากนี้ สหพันธ์คนหูหนวกได้เริ่มให้มีการสอบรับรองสำหรับล่ามภาษามือในปี ค.ศ. 1976 และช่วยก่อตั้งสถาบันฝึกอบรมภาษามือแห่งชาติในปี ค.ศ. 2002 โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้แก่ล่ามภาษามือ[8]
อันเป็นผลมาจากการจัดประเภทคนหูหนวกเป็น "บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ" พวกเขาได้รับการพิจารณาว่า "ไร้ความสามารถเนื่องด้วยจิตหรือความสามารถทางกายภาพลดลง และลักษณะวิสัยที่ไร้ประโยชน์"[9] นอกจากนี้ พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน และไม่สามารถสมัครขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งไม่สามารถสืบทอดธุรกิจของครอบครัว สถานะเหล่านี้จึงถูกท้าทายโดยสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น และในปี ค.ศ. 1979 องค์กรก็ประสบความสำเร็จในการมีมาตรา 11 จากการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้คนหูหนวกมีส่วนร่วมในฐานะบุคคลผู้สามารถปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ในทางกฎหมาย[10]
ในปี ค.ศ. 2006 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เริ่มกระบวนการของการแก้ไขกฎหมายญี่ปุ่นเกี่ยวกับการออกใบขับขี่ให้กับผู้ที่มีอาการหูหนวก[11]
ม้าน้ำ ตราสัญลักษณ์และตัวนำโชค
[แก้]ม้าน้ำเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับของประชาคมคนหูหนวกในประเทศญี่ปุ่น[12] โดยตามตำนานของญี่ปุ่น มังกรนั้นไม่มีหูและหูหนวก หูของมังกรตกลงไปในมหาสมุทร ซึ่งหูเหล่านั้นกลายเป็นม้าน้ำ อดีต"หูมังกร"เหล่านี้ จึงได้รับการนำเสนอกราฟิกเป็นม้าน้ำในฐานะตราสัญลักษณ์และตัวนำโชคของสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น[13] และกราฟิกเครื่องหมายนี้ยังพบในตราสัญลักษณ์อื่น ๆ ของประชาคมคนหูหนวก ตัวอย่างเช่น ภาพกราฟิกม้าน้ำของสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้รับการจดทะเบียนเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์กรคนหูหนวกอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลัง ดังเช่น สหพันธ์คนหูหนวกแห่งกรุงโตเกียว[14] และสมาคมเทเบิลเทนนิสคนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น[15]
เครือข่ายความสัมพันธ์
[แก้]ทางสหพันธ์มีสมาคมที่เป็นสมาชิกในทุก 47 จังหวัดของญี่ปุ่น ซึ่งมีการประสานงานในระดับชาติโดยสภานิติบัญญัติและคณะกรรมการของสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับสมาคมวิจัยเพื่อล่ามภาษามือแห่งชาติ, สมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศญี่ปุ่น (JASI) และศูนย์การศึกษาภาษามือแห่งชาติ[8]
ทั้งนี้ สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นมีสำนักงานทั้งในโตเกียวและเกียวโต
บริบทระหว่างประเทศ
[แก้]ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์คนหูหนวกโลก ซึ่งมีสถานะเป็นที่ปรึกษาแก่สหประชาชาติ ทางสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินงานสำหรับมุมมองของคนหูหนวกในประเทศญี่ปุ่นสู่ระดับนานาชาติ[16]
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ
[แก้]เครือข่ายความสัมพันธ์ของสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นได้รับการท้าทายและเกิดความเข้มแข็งขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ ค.ศ. 2011[17] โดยทางสหพันธ์ได้เป็นหนึ่งในผู้จัดสิ่งของบรรเทาทุกข์สำหรับผู้รอดชีวิต[18]
ในช่วงวิกฤต รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้สหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นทำหน้าที่เป็นล่ามในการแถลงข่าวที่เกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิ[19] โดยรายการโทรทัศน์ได้ออกอากาศการแถลงข่าวของนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง และหัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรียูกิโอะ เอดาโนะ รวมถึงล่ามของสหพันธ์คนหูหนวกแห่งประเทศญี่ปุ่นพร้อมกัน โดยยืนอยู่ข้างธงชาติญี่ปุ่นบนพื้นเวทีเดียวกัน[20]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ The literal translation of Zaidan hōjin zen-nihon rōa renmei is "Incorporated Foundation, Japanese Deaf-Mute Foundation"
- ↑ "World Federation of the Deaf member organizations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-05. สืบค้นเมื่อ 7 September 2010.
- ↑ Nakamura, Karen. "Resistance and Co-optation: the Japanese Federation of the Deaf and its Relations with State Power," Social Science Japan Journal, Vol. 5, No. 1 (April 2002), pp 17-35.
- ↑ Nakamura, "Resistance ...," p. 18.
- ↑ Nakamura, "Resistance ...," p. 17 (abstract).
- ↑ 6.0 6.1 Nakamura, "Resistance ...," p. 20.
- ↑ Wilhelm Röhl (2005). History of law in Japan since 1868, Part 5, Volume 12. ISBN 978-90-04-13164-4. สืบค้นเมื่อ 6 September 2010.
- ↑ 8.0 8.1 Japanese Association of Sign Language Interpreters, Introduction เก็บถาวร 2010-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Hiroshi Oda (1997). Basic Japanese laws. ISBN 978-0-19-825686-1. สืบค้นเมื่อ 6 September 2010.
- ↑ Nakamura, Deaf ..., p. 109.
- ↑ "Hearing-impaired may drive soon," เก็บถาวร 2006-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Japan Times. April 16, 2006.
- ↑ City of Yokohama, Health and Welfare Bureau: seahorse among disability icons
- ↑ Nakamura, Karen. (2006). Deaf in Japan: Signing and the Politics of Identity, p. 38.
- ↑ Tokyo Federation of the Deaf, logo เก็บถาวร 2010-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน — see bottom of webpage, text excerpt: その中にあるタツノオトシゴは聴覚障害者を象徴 (translation: "Seahorses are a symbol ...."
- ↑ Japanese Deaf Table Tennis Association, logo เก็บถาวร 2011-07-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "World federation of the Deaf's entry on the website of the United Nations". สืบค้นเมื่อ 9 September 2010.
- ↑ "JFD: Report meeting related to Deaf relief at headquarters," เก็บถาวร 2011-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Deaf News Japan. March 30, 2011, retrieved 2011-04-14; "Japanese Federation of the Deaf starts the earthquake rescue operation," เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Deaf News Japan. March 20, 2011, retrieved 2011-04-14.
- ↑ "JFD: Report on the relief supply project," เก็บถาวร 2016-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Deaf News Japan. March 29, 2011, retrieved 2011-04-14
- ↑ "First interpreting at government press conference on disaster," เก็บถาวร 2011-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Deaf News Japan. March 20, 2011, retrieved 2011-04-14.
- ↑ "Japan Relief Headquarters for Persons with Disabilities Petition for Support and Accommodation Following Earthquake," เก็บถาวร 2011-04-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน United States International Council on Disabilities (USICD), March 17, 2011, retrieved 2011-04-14; "Japan's PM set to visit crippled nuclear plant," CTV (Canada). 1 April 2011; see photo, retrieved 2011-04-14.
อ้างอิง
[แก้]- Nakamura, Karen. (2006). Deaf in Japan: Signing and the Politics of Identity. Ithaca: Cornell University Press. ISBN 9780801443503; ISBN 9780801473562; OCLC 238810838
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Japanese Federation of the Deaf. (1996). Renmei no Genzai (The Current State of the Federation). Tokyo:
- __________. (1997). 50-nen no Ayumi Shoshite Mirai e (Our 50 Year History and Future). Tokyo:
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- JFD released this 14-minute video message, in JSL with Japanese subtitles
- 日本聴力障害新聞(日聴紙)/季刊誌みみ(MIMI)
- 全日本ろうあ連盟スポーツ委員会 ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- 全日本ろうあ連盟スポーツ委員会 ที่เฟซบุ๊ก
- 日聴紙(全日本ろうあ連盟) ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- 全日本ろうあ連盟