ข้ามไปเนื้อหา

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด
ประเภทสวนสาธารณะ
ที่ตั้งหน้าศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
พื้นที่123 ไร่
เปิดตัว21 มกราคม พ.ศ. 2529
ผู้ดำเนินการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
สถานะทุกวัน

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด คือ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 80 พรรษา ลำดับที่ 3 ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด นับได้ว่าอยู่ใจกลางเมือง มีเนื้อที่ 123 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวาสมเด็จพระศรีนครินทาบรมราชชนนีพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาเป็นประธานเปิดสวนเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2529

หน่วยงานรับผิดชอบในการดูแลรักษา คือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ต้นไม้ประจำสวน คือ กันเกรา

ลักษณะของสวน

[แก้]

เป็นสวนระดับย่านของเมืองที่ประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่โดยรองสามารถมาใช้พักผ่อนได้สะดวก มีประชาชนมาใช้ค่อนข้างหนาแน่น ใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีในเทศกาลสำคัญของจังหวัด ภายในสวนมีต้นไม่ใหญ่เพื่อความร่มรื่นและต้นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม มีภูผลาญชัยที่มีสวนสัตว์จำลองและน้ำตกจำลอง สวนสุขภาพ มีสนามเด็กเล่นรวมทั้งมีเรือและจักรยานน้ำให้เช่าพายและถีบเล่นในบึง พื้นที่ของสวนแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

  1. บริเวณตรงข้ามศาลากลาง เป็นสวนเดิมที่มีอยู่แล้วและมีต้นทองกวาวขนาดใหญ่เก่าแก่หลายสิบต้นปลูกอยู่แล้ว ในช่วงฤดูร้อนทองกวาวเหล่านี้จะออกดอกสีส้มสะพรั่งพร้อม ๆ กันแลดูสวยงาม บริเวณนี้ได้รับการปรับปรุง เพิ่มศาลาและลานเอนกประสงค์สำหรับใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของจังหวัดและของประชาชนทั่วไป
  2. บริเวณที่อยู่ตรงข้ามกับบริเวณที่ 1 และอยู่ติดบึงผลาญชัยซึ่งเป็นบึงใหญ่ที่มีมาแต่เดิมและเป็นสัญลักษณะของจังหวัดร้อยเอ็ด ในบึงมีปลาหลายชนิดเป็นจำนวนมาก เช่น ตะเพียนแดง ปลานิลและปลาน้ำจืดอื่น ๆ รอบบึงมีทางเดินกว้างสำหรับเดินออกกำลังกายหรือวิ่งเหยาะ บึงมีสะพาน 3 แห่งเชื่อมกับด้านนอก
  3. บริเวณบึงน้อย มีพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ กลางบึงมีน้ำพุสูง มีบัวปลูกสวยงาม

ทางเข้าใหญ่ด้านหน้าของสวนมีสะพานใหญ่และเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อีกด้านหนึ่งของสวนเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ที่เป็นเคารพสักการะของชาวร้อยเอ็ดและชาวจังหวัดโดยรอบ ที่ขอบบึงด้านตะวันตกเฉียงใต้มีอนุสาวรีย์ พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวง หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อดเอ็ดระหว่าง พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2471 ซึ่งเป็นผู้นำในการขุดลอกบึงเก่าที่รกร้างและตื้นเขินจนเป็นบึงกลางเมืองที่สวยงามให้ประโยชน์ทั้งด้านนันทนาการและระบบระบายน้ำฝนของเมือง ทำหน้าที่เป็นบึงหน่วงน้ำหรือแก้มลิง

พระราชานุสาวรีย์

[แก้]

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ประดิษฐานในสวนแห่งนี้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]