ข้ามไปเนื้อหา

สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน

พิกัด: 6°13′6.88″S 106°48′9.04″E / 6.2185778°S 106.8025111°E / -6.2185778; 106.8025111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

6°13′6.88″S 106°48′9.04″E / 6.2185778°S 106.8025111°E / -6.2185778; 106.8025111

สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน
GBK, SUGBK, Stadion Utama, Stadion Senayan
สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โนในเวลากลางคืน ค.ศ. 2020
แผนที่
ชื่อเดิมสนามกีฬาหลักเซอนายัน
(จนถึง 24 กันยายน ค.ศ. 1962)
สนามกีฬาหลักเกอโลราเซอนายัน (ค.ศ. 1969 – 17 มกราคม ค.ศ. 2001)
ที่ตั้งเกอโลรา ตานะฮ์อาบัง จาการ์ตาตอนกลาง ประเทศอินโดนีเซีย
ขนส่งมวลชน
เจ้าของรัฐบาลอินโดนีเซีย
(ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)
ผู้ดำเนินการศูนย์จัดการศูนย์เกอโลราบุงการ์โน
ที่นั่งพิเศษ4[7]
ความจุ77,193 ที่นั่ง[5]
ประวัติที่นั่ง
  • 110,000 (1962–2007)
    88,306 (2007–2016)
    77,193 (2018–ปัจจุบัน)
สถิติผู้ชม150,000
เปอร์ซิบบันดุง ปะทะ พีเอสเอ็มเอส เมดัน
(23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985)[6][ไม่แน่ใจ ]
ขนาดสนาม105 โดย 68 เมตร (344 โดย 223 ฟุต)
พื้นผิวZeon Zoysia[1]
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็ม8 กุมภาพันธ์ 1960; 64 ปีก่อน (1960-02-08) (ทั้งอาคาร)
เปิดใช้สนาม21 กรกฎาคม 1962; 62 ปีก่อน (1962-07-21)
ปรับปรุง2016–2018
ปิด2016–2018
เปิดใหม่14 มกราคม 2018; 6 ปีก่อน (2018-01-14)
งบประมาณในการก่อสร้าง12,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 1958, ทั้งอาคาร)
769.69 พันล้านรูปียะฮ์ (ค.ศ. 2016–2018)[2]
สถาปนิกเฟรเดริค ซีลาบัน
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติอินโดนีเซีย
(บางนัด)
เปอร์ซีจาจาการ์ตา
(2008–2016, 2018–2020, 2021–ปัจจุบัน)[3][4]
เว็บไซต์
GBK.id/stadion-utama/

สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน (อินโดนีเซีย: Stadion Utama Gelora Bung Karno) เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในศูนย์กีฬาเกอโลราบุงการ์โนในเขตหมู่บ้านเกอโลรา ตำบลตานะฮ์อาบัง ใจกลางกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สนามกีฬาแห่งนี้ตั้งชื่อตามซูการ์โนหรือ "บุงการ์โน" ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย[8] ส่วนมากใช้ในการแข่งขันฟุตบอล โดยมีความจุอยู่ที่ประมาณ 77,193 ที่นั่ง

ชื่อ

[แก้]

แม้ว่าสนามกีฬาแห่งนี้จะเป็นที่รู้จักในชื่อ สนามกีฬาเกอโลราบุงการ์โน (Stadion Gelora Bung Karno) หรือ สนามกีฬาเกเบกา (Stadion GBK) แต่ก็มีชื่อทางการว่า สนามกีฬาหลักเกอโลราบุงการ์โน เนื่องจากในศูนย์กีฬาเกอโลราบุงการ์โนยังมีสนามกีฬาอื่น ๆ อีก เช่น สนามกีฬาเทนนิส เป็นต้น ในยุคระเบียบใหม่ของอินโดนีเซีย ศูนย์กีฬาเกอโลราบุงการ์โนถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์กีฬาเกอโลราเซอนายัน" (Gelanggang Olahraga Gelora Senayan) ส่วนสนามกีฬาหลักของศูนย์ฯ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สนามกีฬาหลักเกอโลราเซอนายัน (Stadion Utama Gelora Senayan) เมื่อ ค.ศ. 1969 ตามนโยบายเลิกทำให้เป็นซูการ์โน (de-Soekarnoisasi) ของประธานาธิบดีซูฮาร์โตในขณะนั้น หลังจากซูฮาร์โตหมดอำนาจ ศูนย์กีฬาและสนามกีฬาหลักก็ถูกเปลี่ยนชื่อกลับตามเดิมโดยประธานาธิบดีอับดูร์ระฮ์มัน วาฮิด ตามกฤษฎีกาประธานาธิบดีฉบับหนึ่งซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2001

ประวัติ

[แก้]

การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 และเสร็จในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1962[9] โดยการก่อสร้างได้รับเงินสนันบสนุนจากการกู้เงินมาจากสหภาพโซเวียตในบางส่วน โดยเมื่อสนามสร้างเสร็จ สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 108,000 คน แต่ในปัจจุบันก็เหลือเพียง 88,083 คน จากการปรับปรุงเพื่อการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007[10] โดยสนามจะแบ่งเป็น 24 ส่วน กับ 12 ทางเข้า เพื่อเข้าไปในพื้นที่ส่วนบนและส่วนล่าง โดยคุณสมบัติพิเศษของสนามนี้คือการก่อสร้างหลังคาเหล็กขนาดใหญ่เป็นวงแหวนรอบสนาม โดยเรียกว่า "เตอมูเกอลัง" (แปลว่า แหวนที่บรรจบติดกัน) นอกจากการที่ไม่ให้ผู้ชมต้องนั่งชมตากแดดที่ร้อนแล้ว วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทำให้สนามนี้ดูยิ่งใหญ่อีกด้วย[11]

แกลลอรี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rindi Nuris Velarosdela (4 September 2018). "Mengenal Rumput Zeon Zoysia, Jenis Rumput Terbaik yang Dipasang di Stadion GBK". Kompas.com. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
  2. Ahmad Fawwaz Usman (8 August 2017). "Menuju Asian Games 2018, Renovasi GBK Nyaris Rampung". Liputan6.com. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
  3. "Persija Hanya Bermarkas di Senayan Hingga Jelang Bulan Ramadhan". bola.com. April 13, 2016.
  4. Putra, Gerry. "Hadapi Persela, Persija Kembali ke Senayan". Bolalob - Situsnya Anak Futsal!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
  5. "E-Booking Stadion Utama Gelora Bung Karno". gbk.id. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  6. "Jelang PSMS vs Persib, Kenangan Rekor 150.000 Penonton di Senayan". Kompas.com (ภาษาอินโดนีเซีย). Kompas Gramedia Group. 25 March 2017. สืบค้นเมื่อ 10 December 2017.
  7. Zafna, Grandyos (12 January 2018). "Stadion Utama GBK juga Dilengkapi Empat Sky Box". Detik.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 21 January 2018.
  8. Schwarzer gives kind assessment of Kawaguchi | The Japan Times Online
  9. "Bung Karno Stadium in Jakarta, Bung Karno Stadium, Bung Karno Stadium in Jakarta, Indonesia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-28.
  10. "Indonesia v Bahrain (Group D) in Jakarta". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-17. สืบค้นเมื่อ 2012-12-28.
  11. M.F. Siregar, Matahari Olahraga Indonesia, page 82-83

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Pour, Julius (2004), Dari Gelora Bung Karno ke Gelora Bung Karno (ภาษาอินโดนีเซีย), Jakarta: Grasindo, ISBN 978-979-732-444-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]