สงวน เล็กสกุล
สงวน เล็กสกุล | |
---|---|
ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2505 (ถึงแก่กรรม) | |
ก่อนหน้า | นายสนั่น สุมิตร |
ถัดไป | นายสนั่น สุมิตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2452 อำเภอบางคนที สมุทรสงคราม |
เสียชีวิต | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 (52 ปี) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
สงวน เล็กสกุล (8 มกราคม พ.ศ. 2452 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) หัวหน้าหมวดวิชาภาษาไทย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คนแรก และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาคนที่ 3
ประวัติ
[แก้]นายสงวน เล็กสกุล เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2452 (หากนับตามสากล คือ พ.ศ. 2453) เป็นบุตรคนที่ 7 จาก 12 คน ของนายกรรณ และนางอิน เล็กสกุล ณ ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
การศึกษา
[แก้]- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งใกล้บ้าน
- โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- พ.ศ. 2474 อนุปริญญาบัตรประโยคครูมัธยม (ป.ม) (ได้รับทุนของกระทรวงศึกษาธิการ)
- พ.ศ. 2478 อักษรศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2484 ธรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2494 รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- Certificate in Teaching Training, Office of Education; Department of Health, Education and Welfare, USA
- Certificate of Merit จาก รัฐบาลสหรัฐอเมริกา
รับราชการ
[แก้]- 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 รับราชการตำแหน่งครูตรี โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย อายุได้ 24 ปี
- 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าราชการชั้นโท
- พ.ศ. 2482 เป็นอาจารย์โท โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สอนวิชาภาษาไทยและหน้าที่พลเมืองศีลธรรม ในด้านการปกครองเป็นอาจารย์หัวหน้าตึก
- ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาได้อพยพนักเรียนเตรียมอุดมศึกษาเพื่อหลบภัยสงครามไปยังจังหวัดต่าง ๆ โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากสงครามสงบก็ย้ายกลับมากรุงเทพมหานคร ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการอีกครังหนึ่ง
- 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าราชการชั้นเอก
- พ.ศ. 2492 เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- พ.ศ. 2494 เป็นผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- คณะกรรมการก่อตั้งโรงเรียนมัธยมสาธิตของโรงเรียนฝึกหัดครูมัธยมเตรียมอุดมศึกษา(ฝค.ต.อ.) (โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ในปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2500 เป็นผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสมุทรปราการ อีกตำแหน่งหนึ่ง โดยเป็นคณะกรรมการจัดตั้งโรงเรียน
- พ.ศ. 2500 เป็นผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสามพราน ซึ่งย้ายมาจากสมุทรปราการ (ปัจจุบัน คือ โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย) และควบคุมฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาอรชร
- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ได้เลื่อนเป็นข้าราชการชั้นพิเศษ
ความดีความชอบ
[แก้]- เป็น อ.ก.พ. กรมวิสามัญศึกษา
- เป็นกรรมการจัดการต้อนรับผู้แทนชาติต่าง ๆ ที่มาประชุมใหญ่ UNESCO ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2494
- เป็นผู้แทนไปร่วมประชุม International Bureau of Education (IBE) ที่ กรุงเจนีวา ตั้งแต่วันที่ 4-14 กรกฎาคม พ.ศ. 2497
ครอบครัว
[แก้]สมรสกับนางอารี เล็กสกุล มีบุตรธิดา 9 คน ชาย 5 คน หญิง 4 คน ได้แก่
- นางสุลี ยมาภัย อดีตรองหัวหน้าหมวดวิชาภาษาไทย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นางสุดใจ ใสสุก ต.อ.18 หัวหน้าหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คนที่ 11 (พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2543)
- น.ส.สุพร เล็กสกุล
- นายสิทธิ์ เล็กสกุล
- นายศักดิ์ เล็กสกุล
- นายรักษ์ เล็กสกุล
- นายวุธ เล็กสกุล
- นายวิทย์ เล็กสกุล
- พ.อ.หญิงสุดจิต เล็กสกุล
วาระสุดท้ายของชีวิต
[แก้]ในวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 หลังจากที่ท่านได้ไปตรวจดูแลความเรียบร้อยของสถานที่และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งเตรียมไว้สำหรับงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียนประจำปี พ.ศ. 2505 ภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาด้วยความเหน็ดเหนื่อย และประกอบกับสุขภาพที่ไม่ค่อยจะสมบูรณ์อันเนื่องมาจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคหืดซึ่งเป็นอยู่แล้ว จึงทำให้ท่านล้มเจ็บลงอย่างกะทันหัน ท่านได้กลับไปบ้านประมาณเที่ยงเศษ เพื่อหาแพทย์ประจำตัวซึ่งมีสำนักงานอยู่ใกล้บ้าน แต่ไม่พบแพทย์ จึงพักผ่อนคอยอยู่ แต่ขณะที่นอนพักนั้น คงจะเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตกขณะที่นอนอยู่จึงทำให้หมดความรู้สึก ในเวลา 13.30 น. ทางบ้านจึงได้รีบนำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แพทย์ได้พยายามช่วยเหลือ แต่สุดความสามารถ ท่านได้ถึงแก่กรรมในเวลา 17.15 น. ณ ตึกธนาคารกรุงเทพ หลังจากท่านกลับจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพียง 4 ชั่วโมง 15 นาที
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[1]
- พ.ศ. 2484 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[2]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๓, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๑๒, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๖, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- หนังสือ 60 ปี เตรียมอุดมศึกษา (2480-2540)
- อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสงวน เล็กสกุล ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506
ดูเพิ่ม
[แก้]ก่อนหน้า | สงวน เล็กสกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สนั่น สุมิตร | ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2505) |
สนั่น สุมิตร |