สงครามคองโกครั้งที่สอง
สงครามคองโกครั้งที่สอง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองคองโกและหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา | |||||||
เหยื่อสงครามที่ถูกข่มขืนที่กลับคืนสู่ชุมชนได้สำเร็จรวมตัวกัน (ซ้ายบน) ทหารกบฏคองโกในปี 2001 (บนขวา) ทหารกบฏคองโกในเมืองทางตอนเหนือของ กาบาโดลีเต ในปี 2000 (ล่าง) | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
หมายเหตุ: รวันดารบกับยูกันดาในสงครามสั้นเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 ในเมืองคีแซงกานีของคองโก | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
กำลัง | |||||||
มาอี-มาอี: 20–30,000 กองกำลังอาสาสมัคร อินเตราฮัมเว: 20,000+ |
RCD: 45,000 รวันดา: 8,000+[1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ชาวยูกันดา 2,000 คน (เฉพาะที่คีแซงกานี)[2] | |||||||
สงครามคองโกครั้งที่สอง หรือบางครั้งรู้จักในชื่อ มหาสงครามแห่งแอฟริกา หรือ สงครามโลกของแอฟริกา เป็นความขัดแย้งในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1998 ไม่นานหลังสงครามคองโกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุด และยุติในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 เมื่อรัฐบาลเปลี่ยนผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกปกครองประเทศ สงครามคองโกครั้งที่สองเป็นสงครามที่มีชาติแอฟริกา 9 ชาติและกลุ่มติดอาวุธกว่า 25 กลุ่มเข้าร่วม[7] นับถึงค.ศ. 2008 มีผู้เสียชีวิต 5.4 ล้านคนจากสงครามโดยสาเหตุหลักมาจากโรคภัยและความอดอยาก[8] ทำให้สงครามคองโกครั้งที่สองเป็นหนึ่งในสงครามที่นองเลือดที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[9] นอกจากนี้ประชาชนอีก 2 ล้านคนต้องลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน[10][11]
เหตุการณ์
[แก้]สงครามคองโกครั้งที่หนึ่งเป็นสงครามกลางเมืองเพื่อล้มล้างโมบูตู เซเซ เซโก ประธานาธิบดีประเทศซาอีร์ สงครามเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 เมื่อรวันดารุกรานซาอีร์เพื่อปราบกลุ่มผู้ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาที่ลี้ภัย การรุกรานของรวันดาได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายรวมถึงกบฏต่อต้านโมบูตูนาม พันธมิตรกองทัพประชาธิปไตยเพื่อปลดปล่อยคองโก (AFDL) นำโดยโลร็อง-เดซีเร กาบีลา พันธมิตรรวันดา–AFDL สามารถขับไล่รัฐบาลโมบูตูภายในเวลา 6 เดือน และจัดตั้งรัฐบาลใหม่พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อประเทศกลับมาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โดยมีกาบีลาเป็นประธานาธิบดี อย่างไรก็ตามเกิดความตึงเครียดจนกาบีลาตัดสัมพันธ์กับรวันดาและหันไปผูกมิตรกับประเทศแองโกลาและซิมบับเว
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1998 เกิดกบฏบันยามูเลนกีและกลุ่มการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยของคองโก (RCD) ที่สนับสนุนโดยรวันดาทางภาคตะวันออกของคองโก ในช่วงไล่เลี่ยกันรวันดาดำเนินปฏิบัติการคีโตนาเพื่อยึดภาคตะวันตกที่สำคัญของคองโก ด้านกาบีลาได้รับความช่วยเหลือจากซิมบับเวเป็นชาติแรก ตามด้วยแองโกลาและนามิเบีย[12] รวมถึงชาด ซูดานและลิเบีย เดือนกันยายน ทัพพันธมิตรของกาบีลาสามารถผลักดันฝ่ายกบฏออกจากเมืองหลวงกินชาซาแต่ไม่สามารถเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด เดือนมกราคม ค.ศ. 1999 มีความพยายามในการเจรจาหยุดยิงที่เมืองวินด์ฮุก ประเทศนามิเบียแต่ล้มเหลว หลังจากนั้นสงครามคองโกครั้งที่สองกลายเป็นสงครามยืดเยื้อที่มีหลายฝ่ายเข้าร่วม
ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1999 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แองโกลา นามิเบีย ซิมบับเว รวันดาและยูกันดา รวมถึงกลุ่ม RCD และขบวนการเพื่อการปลดปล่อยคองโก (MLC) ร่วมลงนามในความตกลงหยุดยิงลูซากา[13][14] แต่ยังมีการสู้รบประปราย เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 สหประชาชาติส่งเจ้าหน้าที่ 5,537 นายมาที่คองโกเพื่อสังเกตการณ์ในภารกิจ MONUSCO[15] อย่างไรก็ตามยังมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง เดือนมกราคม ค.ศ. 2001 กาบีลาถูกลอบสังหารที่ทำเนียบประธานาธิบดีในเมืองกินชาซา[16] เขาถูกส่งไปรักษาที่ซิมบับเวและเสียชีวิตในอีกสองวันต่อมา[17] โฌแซ็ฟ กาบีลา บุตรชายของเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อมา โฌแซ็ฟหารือกับพอล คากาเม ประธานาธิบดีรวันดาที่ประเทศสหรัฐ[18] ก่อนที่รวันดาและยูกันดาจะตอบรับแผนการถอนกำลัง[19]
ในค.ศ. 2002 สถานการณ์ของรวันดาในสงครามย่ำแย่ลง เมื่อสมาชิก RCD จำนวนมากเริ่มวางอาวุธและเปลี่ยนฝ่าย ยิ่งไปกว่านั้นกบฏบันยามูเลนกีทางตะวันออกของคองโกที่ถือเป็นกำลังหลักของรวันดาอ่อนล้ากับสงครามที่ยืดเยื้อ บางส่วนก่อการกำเริบจนนำไปสู่การปะทะกับกองทัพรวันดาเอง[20] ในช่วงเวลาเดียวกัน รัฐบาลโฌแซ็ฟควบคุมภาคตะวันตกของคองโกได้มากขึ้น เดือนเมษายน ค.ศ. 2002 การเจรจาสันติภาพนำโดยแอฟริกาใต้นำไปสู่ความตกลงซันซิตี[21] ซึ่งเสนอให้คองโกมีรัฐบาลผสมและกำหนดการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย เดือนกรกฎาคม รวันดากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกร่วมลงนามในข้อตกลงพริทอเรีย ซึ่งข้อตกลงนี้มุ่งเน้นปัญหาสองข้อ หนึ่งคือการถอนทหารรวันดาประมาณ 20,000 นายออกจากคองโก สองคือการรวบรวมอดีตทหารรวันดาและการปลดอาวุธอินเตราฮัมเว กำลังกึ่งทหารชาวฮูตูที่ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุรวันดาในค.ศ. 1994 และยังคงปฏิบัติการอยู่ในภาคตะวันออกของคองโก[22] ต่อมาในเดือนกันยายน คองโกกับยูกันดาลงนามในความตกลงลูอันดาเพื่อยุติการสู้รบและปรับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศให้เป็นปกติ[23] ด้านรวันดาถอนกำลังเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม[24]
เดือนธันวาคม ค.ศ. 2002 รัฐบาลโฌแซ็ฟ กลุ่ม RCD MLC และอื่น ๆ ร่วมลงนามในความตกลงครอบคลุมและเบ็ดเสร็จ (Global and All-Inclusive Agreement) ที่เสนอแผนการเปลี่ยนผ่านอำนาจที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งภายในสองปี ความตกลงนี้ยุติสงครามคองโกครั้งที่สอง รัฐบาลเปลี่ยนผ่านถูกจัดตั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 โดยมีโฌแซ็ฟเป็นประธานาธิบดี[25] แม้จะมีการลงนามสันติภาพอย่างเป็นทางการ แต่คองโกยังคงประสบความขัดแย้งในหลายพื้นที่ ทั้งความขัดแย้งอีตูรีและความขัดแย้งคีวูทางตะวันออก[26][27] การก่อการกำเริบกาต็องกาทางตอนใต้[28] และการก่อการกำเริบกองทัพต่อต้านของพระเจ้าซึ่งแพร่มาจากยูกันดา[29]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Africa's great war". The Economist. 4 กรกฎาคม 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2007.
- ↑ "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Coghlan B; Brennan RJ; Ngoy P; และคณะ (มกราคม 2006). "Mortality in the Democratic Republic of Congo: a nationwide survey" (PDF). Lancet. 367 (9504): 44–51. doi:10.1016/S0140-6736(06)67923-3. PMID 16399152. S2CID 2400082. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2011.
- ↑ [Staff] (20100120) "DR Congo war deaths 'exaggerated'" เก็บถาวร 21 มกราคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน BBC News
- ↑ International Rescue Committee ([undated]) Congo Crisis เก็บถาวร 29 สิงหาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน International Rescue Committee
- ↑ Les Roberts & others (2001) Mortality in eastern Democratic Republic of Congo: Results from Eleven Mortality Surveys (PDF) เก็บถาวร 27 เมษายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Report) International Rescue Committee
- ↑ Bowers, Chris (24 July 2006). "World War Three". My Direct Democracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2008.
- ↑ "Congo war-driven crisis kills 45,000 a month-study". Reuters. 22 January 2008.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Bavier, Joe (22 มกราคม 2007). "Congo war-driven crisis kills 45,000 a month: study". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2007.
- ↑ Soderlund, Walter C.; DonaldBriggs, E.; PierreNajem, Tom; Roberts, Blake C. (1 มกราคม 2013). Africa's Deadliest Conflict: Media Coverage of the Humanitarian Disaster in the Congo and the United Nations Response, 1997–2008. Waterloo: Wilfrid Laurier University Press. ISBN 9781554588787. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Congo Civil War". GlobalSecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2004.
- ↑ "DISARMAMENT: SADC Moves Into Unknown Territory | Inter Press Service". www.ipsnews.net. 19 August 1998. สืบค้นเมื่อ 2020-03-11.
- ↑ Kasanda, Peter L. (23 July 1999). "Letter Dated 23 July 1999 From The Permanent Representative of Zambia to the United Nations Addressed to the President of the Security Council" (PDF). United Nations.
- ↑ "SECRETARY-GENERAL WELCOMES RCD SIGNING OF LUSAKA CEASEFIRE AGREEMENT ON DEMOCRATIC REPUBLIC OF CONGO | Meetings Coverage and Press Releases". www.un.org. 31 August 1999. สืบค้นเมื่อ 2020-03-12.
- ↑ "MONUC Mandate – United Nations Organization Mission in the Democratic Republic of the Congo". peacekeeping.un.org. สืบค้นเมื่อ 2020-03-12.
- ↑ Onishi, Norimitsu (2001-01-17). "Congo Leader Reportedly Dead After Being Shot by Bodyguard". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-10-25.
- ↑ "CNN.com – Congo's President Kabila is dead – January 18, 2001". www.cnn.com. 18 January 2001. สืบค้นเมื่อ 2020-03-12.
- ↑ "Kabila praises Kagame talks". BBC News. 7 กุมภาพันธ์ 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2013.
- ↑ "Rwanda and Uganda Begin Pulling Troops From Congo". Ian Fisher. March 2001. สืบค้นเมื่อ 29 October 2019.
- ↑ "War Crimes in Kisangani | The Response of Rwandan-backed Rebels to the May 2002 Mutiny". Human Rights Watch (ภาษาอังกฤษ). 2002-08-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-13.
- ↑ "Inter-Congolese Political Negotiations: The Final Act" (PDF). United Nations. 2 April 2002.
- ↑ "SECRETARY-GENERAL HAILS PRETORIA AGREEMENT AS POLITICAL MILESTONE FOR PEACE IN CONGOLESE CONFLICT | Meetings Coverage and Press Releases". www.un.org. 8 August 2002. สืบค้นเมื่อ 2020-03-13.
- ↑ "Agreement between the Governments of the Democratic Republic of the Congo and the Republic of Uganda on Withdrawal of Ugandan troops from the Democratic Republic of the Congo, Cooperation and Normalisation of Relations between the two countries" (PDF). United Nations.
- ↑ "Rwandan Patriotic Army completes troops withdrawal from DR of Congo – UN". UN News (ภาษาอังกฤษ). 2002-10-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-13.
- ↑ Global and Inclusive Agreement on Transition in the Democratic Republic of the Congo, signed in Pretoria, South Africa on 16 December 2002
- ↑ "DR Congo: Ending the Cycle of Violence in Ituri". Crisis Group. July 15, 2020. สืบค้นเมื่อ January 30, 2022.
- ↑ "Kivu: The forgotten war". The Mail & Guardian. September 26, 2018. สืบค้นเมื่อ January 30, 2022.
- ↑ "Katanga: The Congo's Forgotten Crisis". Crisis Group. January 9, 2006.
- ↑ Rice, Xan (October 20, 2007). "Background: the Lord's Resistance Army". The Guardian. สืบค้นเมื่อ January 30, 2022.