ศาสนาในประเทศอาเซอร์ไบจาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสนาในประเทศอาเซอร์ไบจาน (ประมาณการ)
หมายเหตุ: การนับถือศาสนาของชาวอาเซอร์ไบจานส่วนใหญ่เป็นเพียงในนาม จำนวนร้อยละของผู้ที่นับถือจริงอาจต่ำกว่ามาก[1][2][3][4]

  ซุนนี (39%)
  อื่น ๆ (0%)
  ไม่มี (0%)
มัสยิดบีบี-เฮย์แบตที่บากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศอาเซอร์ไบจาน แต่ประเทศนี้ถือเป็นประเทศที่ฆราวาสที่สุดในโลกมุสลิม[5] โดยมีจำนวนผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 96.9% (CIA, 2010)[1] และ 99.2% (Pew Research Center, 2006)[6] ส่วนใหญ่นับถือนิกายชีอะฮ์ (55-65%) ในขณะที่ส่วนน้อยนับถือนิกายซุนนี (35-45%) ความแตกต่างตามแบบดั้งเดิมไม่ได้รับการกำหนดไว้อย่างชัดเจน[a][1]

มุสลิมนิกายชีอะฮ์ส่วนใหญ่นับถือตามสำนักญะอ์ฟะรี ส่วนมุสลิมนิกายซุนนีมักตามสำนักฮะนะฟีหรือชาฟิอี[7] เนื่องจากนโยบายอเทวนิยมโซเวียตที่ดำรงมาหลายทศวรรษ ทำให้การนับถือศาสนาในประเทศอาเซอรืไบจานมักเป็นเพียงในนาม และอัตลักษณ์มุสลิมมีแนวโน้มที่จะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและชาติพันธุ์มากกว่าศาสนา ชีอะฮ์เป็นนิกายที่แพร่หลายในภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศ เดิมทีหมู่บ้านรอบบากูและภูมิภาคแลนแกรานถือเป็นฐานที่มั่นของชีอะฮ์ ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายซุนนีเป็นนิกายแพร่หลายในภาคเหนือ[7]

ประชากรส่วนที่เหลือนับถือศาสนาอื่นหรือไม่นับถือศาสนา แม้ว่าจะไม่ได้มีตัวแทนอย่างเป็นทางการก็ตาม[1] ศาสนาหรือความเชื่อดั้งเดิมอื่น ๆ ที่มีผู้นับถือในประเทศหลายคนคือ คริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนีย (ที่นากอร์โน-คาราบัค) คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ และศาสนาคริสต์นิกายอื่น ๆ

อาเซอร์ไบจานเป็นรัฐฆราวาสเหมือนกับรัฐหลังสหภาพโซเวียตอื่นที่เคยอยู่ภายใต้สหภาพโซเวียต; รัฐธรรมนูญมาตราที่ 48 รับรองเสรีภาพทางศาสนา กฎหมายฉบับ ค.ศ. 1996 ระบุว่าชาวต่างชาติมีเสรีภาพทางความคิด แต่ปฏิเสธสิทธิต่อ "การดำเนินการโฆษณาชวนเชื่อทางศาสนา" เช่น การให้เทศน์ โดยมีความเสี่ยงต่อการจ่ายค่าปรับหรือเนรเทศออกนอกประเทศ[8]

หมายเหตุ[แก้]

  1. * "2021 Report on International Religious Freedom: Azerbaijan". U.S Department of State. 2 June 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2022.

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Middle East :: Azerbaijan — The World Factbook". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
  2. S. Nielsem, Jorgen; Balciz Goyushov, Bayram, Altay (2013). "Azerbaijan". Yearbook of Muslims in Europe: Volume 5. Leiden, The Netherlands: Brill. p. 65. ISBN 978-90-04-25456-5.
  3. Balci, Bayram (18 March 2013). "The Syrian Crisis: A View from Azerbaijan". Carnegie Endowment for International Peace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2022.
  4. Greenger, Nurit (8 May 2017). "Azerbaijan a Destination Worthwhile. My week travel log in Azerbaijan - Day two". The Jerusalem Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2023.
  5. "Islam and Secularism: the Azerbaijani experience and its reflection in France". PR Web. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  6. "Interactive Data Table: World Muslim Population by Country". Pew Research Center. 7 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2020-08-09.
  7. 7.0 7.1 Mammadli, Nijat. "Islam and Youth in Azerbaijan". Baku Research Institute. สืบค้นเมื่อ 20 April 2023.
  8. Corley, Felix (November 1, 2005). "AZERBAIJAN: Selective obstruction of foreign religious workers". Forum 18. สืบค้นเมื่อ 2006-06-18.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]