ศาสนาฮินดูในประเทศเวียดนาม
หญิงชาวจามร่ายรำที่ปราสาทโปนาการ์ | |
ศาสนิกชนรวม | |
---|---|
64,547 คน (พ.ศ. 2562)[1] | |
ภูมิภาคที่มีศาสนิกชนจำนวนมาก | |
นิญถ่วน, บิ่ญถ่วน, นครโฮจิมินห์ | |
ศาสนา | |
ฮินดู | |
ภาษา | |
ภาษาศักดิ์สิทธิ์ สันสกฤต ภาษาส่วนใหญ่ เวียดนาม, จาม, ทมิฬ, เขมร |
ศาสนาฮินดูในประเทศเวียดนาม เป็นศาสนาที่ชาติพันธุ์จามในประเทศเวียดนามให้การนับถือ[2] เรียกว่าจามบาลามอน ถือเป็นชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่อินเดียหนึ่งในสองกลุ่มที่ยังนับถือศาสนาฮินดู[3] ทั้งนี้ศาสนาฮินดูไม่ได้เป็นหนึ่งในสิบห้าศาสนาที่ทางการเวียดนามยอมรับ[4]
ประชากรศาสตร์
[แก้]การสำรวจสำมะโนครัวประชากร พ.ศ. 2552 มีเพียงชาวจามบาลามอนที่อยู่ในการจัดอันดับ มีอยู่ 56,427 คน ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในจังหวัดนิญถ่วน 40,695 คน และอาศัยอยู่ในจังหวัดบิ่ญถ่วน 15,094 คน[5] อย่างไรก็ตามสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประมาณการว่ามีชาวฮินดู 1,500 คนในเวียดนาม คาดว่าน่าจะเป็นชาวทมิฬฮินดู[6]
การแบ่งกลุ่ม
[แก้]ชาวจาม
[แก้]ชาวจามในประเทศเวียดนาม (หรือที่เรียกว่าชาวจามตะวันออก) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ผิดกับชาวจามในประเทศกัมพูชา (หรือเรียกว่าชาวจามตะวันตก) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม[7] ชาวจามที่นับถือศาสนาฮินดูจะถูกเรียกว่าจามบาลามอน[8] นับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวะ[9] จามบาลามอนส่วนใหญ่อยู่ในวรรณะนาควังศีกษัตริยะ[10] มีวรรณะพราหมณ์เป็นส่วนน้อย[11] จังหวัดนิญถ่วนเป็นแหล่งที่มีชาวจามตั้งถิ่นฐานมากที่สุด โดยหมู่บ้านทั้ง 22 หมู่บ้าน มี 15 หมู่บ้านนับถือศาสนาฮินดู มีชาวจามบาลามอนราว 32,000 คน[12] ปัจจุบันมีเทวสถานของชาวจามฮินดูที่ยังเปิดให้ปฏิบัติศาสนกิจอยู่สี่แห่งในนิญถ่วน ได้แก่ โปอีนูนูการ์ (Po Inu Nugar), โปโรเม (Po Rome), โปกลองกีไร (Po Klaung Girai) และโปดัม (Po Dam)[3]
ชามจามฮินดูมีความเชื่อว่าเมื่อตาย โคนนทิจะพาดวงวิญญาณไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์[13] มีเทศกาลกาเต (Kate) เป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญ[14] มีการเฉลิมฉลองสามวัน ช่วงต้นเดือนตุลาคม[15]
การสำรวจสำมะโนครัวประชากร พ.ศ. 2552 พบว่ามีชาวจามฮินดูในเวียดนาม 56,427 คน ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในจังหวัดนิญถ่วน 40,695 คน และอาศัยอยู่ในจังหวัดบิ่ญถ่วน 15,094 คน[5] คิดเป็นประชากรร้อยละ 22 ของจังหวัดนิญถ่วน และร้อยละ 4.8 ของจังหวัดบิ่ญถ่วน[5] สำนักงานประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน และแรงงานแห่งสหรัฐ (Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor) ได้ประมาณการจำนวนชาวจามฮินดูในเวียดนามไว้ราว 70,000 คน[4]
ชาวอินเดีย
[แก้]มีชาวฮินดูเชื้อสายทมิฬอาศัยอยู่ในนครโฮจิมินห์ราว 4,000 คน[16] มีวัดศรีมาริอัมมันโกยิลเป็นศูนย์กลาง ทั้งยังเป็นที่เคารพสักการะของชาวญวนและชาวจีนเพราะเชื่อว่าพระแม่มริอัมมันมีความศักดิ์สิทธิ์[17] ทั้งนี้มีวัดฮินดูอินเดียในโฮจิมินห์สามแห่ง ได้แก่ วัดศรีเท็นตยุปาณี วัดสุพรหมัณยันสวามี และวัดศรีมาริอัมมัน[18]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
วัดศรีมาริอัมมัน นครโฮจิมินห์ เป็นศาสนสถานของชาวอินเดียในเวียดนาม
-
วัดสุพรหมันยัม นครโฮจิมินห์ เป็นศาสนาสถานของชาวอินเดียในเวียดนาม
-
ผู้แสวงบุญชาวจามในปราสาทโปซะฮ์อีนู
-
ศาสนิกชนกำลังบูชาเทพเจ้าภายในปราสาทโปนาการ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bieu so lieu va phu luc (duyet gui in)
- ↑ "Hindus of Vietnam - Hindu Human Rights Online News Magazine". www.hinduhumanrights.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
- ↑ 3.0 3.1 Parker, Vrndavan Brannon (April–June 2014). "Cultures: Vietnam's Champa Kingdom Marches on". Hinduism Today.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ 4.0 4.1 "International Religious Freedom Report for 2017: Vietnam". US State Department. สืบค้นเมื่อ 2018-12-16.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 http://www.gso.gov.vn/Modules/Doc_Download.aspx?DocID=12724
- ↑ "Vietnam: country policy and information notes". GOV.UK.
- ↑ "Cham - Introduction, Location, Language, Folklore, Religion, Major holidays, Rites of passage". www.everyculture.com.
- ↑ "The Cham: Descendants of Ancient Rulers of South China Sea Watch Maritime Dispute From Sidelines". National Geographic News. 18 June 2014.
- ↑ "Religion and expressive culture - Cham". www.everyculture.com.
- ↑ India's interaction with Southeast Asia, Volume 1, Part 3 By Govind Chandra Pande, Project of History of Indian Science, Philosophy, and Culture, Centre for Studies in Civilizations (Delhi, India) p.231,252
- ↑ "Vietnam". International Religious Freedom Report 2004. U.S. Department of State: Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. 2002-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-05-19.
- ↑ Other place where they are found in hgher numbers is Bình Thuận Province. Champa and the archaeology of Mỹ Sơn (Vietnam) by Andrew Hardy, Mauro Cucarzi, Patrizia Zolese p.105
- ↑ Roy, Sandip. "Leaps of faith". @businessline.
- ↑ Reporter, W. H. N. (13 October 2018). "Exhibition on Vietnam Hindu Cham Brahman Community Opens".[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Kate Festival". www.vietnamonline.com.
- ↑ "Hindus of Vietnam - Hindu Human Rights Online News Magazine". Hindu Human Rights Online News Magazine. 19 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
- ↑ Arachika Kapoor (2017-03-01). "Ho Chi Minh City Tourism holds roadshow in New Delhi | Media India Group". Mediaindia.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-15. สืบค้นเมื่อ 2018-12-16.
- ↑ Powell, Michael (26 May 2017). "Three Hindu Temples in Saigon".