ข้ามไปเนื้อหา

วาเลรี เลกาซอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วาเลรี เลกาซอฟ
Photograph
เกิดวาเลรี อะเลคเซเยวิช เลกาซอฟ
1 กันยายน พ.ศ. 2479
ตูลา, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต
เสียชีวิต27 เมษายน พ.ศ. 2531
มอสโก, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
สาเหตุเสียชีวิตฆ่าตัวตาย ด้วยการ แขวนคอ
ศิษย์เก่าเคมีฟิสิกส์ที่สถาบันเคมีและเทคโนโลยี เมนเดลีฟ มอสโก
มีชื่อเสียงจากหัวหน้าคณะกรรมาธิการสอบสวนภัยพิบัติเชอร์โนบิล
รางวัลวีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์
สถาบันที่ทำงานสถาบันพลังงานปรมาณู ครูชาตอฟ

วาเลรี อะเลคเซเยวิช เลกาซอฟ (รัสเซีย: Валерий Алексеевич Легасов; 1 กันยายน พ.ศ. 2479 - 27 เมษายน พ.ศ. 2531) เป็น นักเคมีอนินทรีย์ของสหภาพโซเวียตที่มีชื่อเสียงและเป็นสมาชิกของ สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหภาพโซเวียต โดยเป็นที่รู้จักมากที่สุดในฐานะหัวหน้าคณะกรรมาธิการสอบสวน ภัยพิบัติเชอร์โนบิล [1]

ประวัติ

[แก้]

เลกาซอฟเกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2479 เมืองตูลา ในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย โดยเข้าสู่ครอบครัวแรงงานโยธา[2][3][4] เข้าโรงเรียนมัธยมใน เคิร์สต์[2] ปี พ.ศ. 2492 – 2497 ที่โรงเรียนหมายเลข 56 ในมอสโกและจบการศึกษาพร้อมรางวัลเหรียญทอง โดยโรงเรียนได้ตั้งแสดงชื่อของเลกาซอฟพร้อมกับสร้างรูปปั้นทองแดง ณ บริเวณทางเข้า ชีวิตสมรสได้แต่งงานกับ มาการิต้า มิกฮาลอฟนา มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ อิงกาเลกาซอฟ

ในปี พ.ศ. 2504 สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรม เคมีฟิสิกส์ที่สถาบันเคมีและเทคโนโลยี เมนเดลีฟ มอสโก [5]

เขาทำงานในฐานะเลขานุการคณะกรรมการ คอมโซมอล (กลุ่มคอมมิวนิสต์เลนินนิสต์) ของสถาบันเทคโนโลยีเคมีแห่งมอสโก

ในปีพ. ศ. 2505 ได้เข้าร่วมระดับบัณฑิตศึกษาในภาควิชาฟิสิกส์โมเลกุลของ สถาบันพลังงานปรมาณู ครูชาตอฟ : 261 [6]: 261  เริ่มต้นด้วย ในฐานะนักวิจัยและชั้นปีสุดท้ายในฐานะหัวหน้าห้องปฏิบัติการ ในปี พ.ศ. 2510 เขาปกป้องวิทยานิพนธ์ของเขาที่สถาบันครูซาตอฟ ภายใต้ที่อาจารย์ที่ปรึกษาอย่าง ไอแซก กิโกอิน ในการสังเคราะห์สารประกอบของ แก๊สมีสกุล และการศึกษาคุณสมบัติของพวกมัน : 261  เขาได้รับปริญญาของ คานดิเดต (ปริญญาด็อกเตอร์ขั้นแรก) ในปี พ.ศ. 2510 และ ปริญญาเอกวิชาเคมี ในปี พ.ศ. 2515

ในปี พ.ศ. 2519 เขาได้รับการเสนอให้เป็นสมาชิกของ สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหภาพโซเวียต

ปี พ.ศ. 2521 - 2526 เป็นอาจารย์ที่ สถาบันฟิสิกส์และเทคโนโลยีของมอสโก

ในปี 1981 เขาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเต็มตัวของ สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหภาพโซเวียตในภาควิชาเคมีเชิงฟิสิกส์และเทคโนโลยีวัสดุอนินทรีย์

จากปี พ.ศ. 2526 จนกระทั่งเขาเสียชีวิต เขาทำงานเป็นหัวหน้าภาควิชากัมมันตภาพรังสีและเทคโนโลยีเคมีที่คณะเคมีที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอสโกในปี พ.ศ. 2526 เขากลายเป็นรองผู้อำนวยการคนแรกสำหรับการทำงานทางวิทยาศาสตร์ของสถาบันพลังงานปรมาณู ครูซาตอฟ

เลกาซอฟศึกษาวิธีการสังเคราะห์และคุณสมบัติของสารประกอบใหม่ที่มีองค์ประกอบในสถานะออกซิเดชันสูง ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์และพลาสมา และในเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและพลังงานไฮโดรเจน โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภายใต้การนำของเขา มีการตั้งสาขาใหม่ในหมวดเคมีอนินทรีย์ - เคมีของแก๊สมีสกุลขึ้น แม้กระทั่งก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติเชอร์โนบิล เลกาซอฟเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ที่มีความต้องการหาวิธีรักษาความปลอดภัยรูปแบบใหม่เพื่อป้องกันภัยพิบัติครั้งใหญ่

ภัยพิบัติเชอร์โนบิล

[แก้]

เมื่อหายนะเชอร์โนบิลได้เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 เลกาซอฟในขณะนั้นเป็นรองผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันพลังงานปรมาณูคิชคอตอฟ เขากลายเป็นสมาชิกคนสำคัญของคณะกรรมาธิการของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนสาเหตุของภัยพิบัติเพื่อวางแผนการบรรเทาผลกระทบ เขามีส่วนตัดสินใจสำคัญในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุซ้ำรอยอีกและแจ้งให้รัฐบาลทราบถึงสถานการณ์ในพื้นที่ภัยพิบัติ เขาสื่อสารอย่างตรงประเด็นกับเหล่าเพื่อนนักวิทยาศาสตร์และสื่อมวลชนเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของโรงงานไฟฟ้าที่ระเบิด และยืนยันในการอพยพของประชากรทั้งหมดของเมือง Pripyat อยู่ใกล้เคียงในทันที ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2529 เขาได้นำเสนอรายงานของคณะผู้แทนสหภาพโซเวียตในการประชุมพิเศษของ International Atomic Energy Agency (IAEA) ใน กรุงเวียนนา รายงานของเขาแสดงถึงการวิเคราะห์ปัญหาของการระเบิดและความซื่อสัตย์พูดความจริงผลที่ตามมาของโศกนาฏกรรมครั้งนี้ เลกาซอฟได้อัดเทปเสียง 5 เทป ที่เขาแสดงมุมมองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเชอร์โนบิล เทปลำดับที่ 5 ถูกอัดพร้อมกับ เอเลส อดาโมวิช ในรูปแบบการสัมภาษณ์

การเสียชีวิต

[แก้]

วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2531, หนึ่งวันหลังจากวันครบรอบ 2 ปีของ อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล และหนึ่งวันก่อนที่เขาจะประกาศผลการสอบสวนสาเหตุการระเบิด เลกาซอฟได้ฆ่าตัวตายด้วยการ แขวนคอ (บางแหล่งข่าวว่ากระทำในอพาร์ตเมนต์ หรือบันได อีกส่วนนึงบอกว่าที่ห้องทำงาน ) ปืนพกส่วนตัวยังคงอยู่ในลิ้นชัก แต่เลกาซอฟเลือกที่จะแขวนคอตัวเอง เขาถูกฝังที่สุสานโนโวเดวิชีในมอสโก

นี่ไม่ใช่ความพยายามฆ่าตัวตายครั้งแรกของเลกาซอฟ [7] เดวิด อาร์ มาร์เพิลส์ ได้คาดว่าภัยพิบัติเชอร์โนบิลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อจิตใจของเลกาซอฟจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ก่อนที่เขาจะฆ่าตัวตาย[5] เลกาซอฟเขียนเอกสารที่เปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภัยพิบัติที่ยังไม่เปิดเผยก่อนหน้านี้ อ้างอิงจากการวิเคราะห์การบันทึกสำหรับภาพยนตร์โทรทัศน์ของ บีบีซี เชอร์โนปิลแห่งนิวเคลียร์หายนะ [8] เลกาซอฟอ้างว่ามีแรงกดดันทางการเมืองให้ปกปิดรายงานบางส่วนของรายงานที่จะส่งให้ IAEA ซึ่งเป็นความลับที่ปกปิดกับแม้แต่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า จากทั้งอุบัติเหตุครั้งก่อนหน้าและปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ [9] แถลงการณ์ของนักวิทยาศาสตร์ปรมาณู ยังระบุด้วยว่า เลกาซอฟกลายเป็นคนที่ไม่สนใจภาพลักษณ์ของรัฐบาล แต่พร้อมจะเผชิญหน้ากับปัญหาของโรงไฟฟ้าหรือข้อบกพร่องในการออกแบบเท่านั้น [10]

ภายหลัง

[แก้]

เลกาซอฟได้ทำการการฆ่าตัวตาย ทำให้เกิดการตื่นตัวของในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบ แท่งควบคุม ใน เครื่องปฏิกรณ์แบบ RBMK ตัวอื่น ๆ ที่ใช้แบบเดียวกับเชอร์โนบิล ให้ได้รับการยอมรับและแก้ไขอย่างรวดเร็ว[8][11]

เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2539 บอริส เยลต์ซิน ประธานาธิบดีรัสเซียในขณะนั้น ได้ลงนามยกย่องให้เลกาซอฟเป็น ฮีโร่แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย สำหรับ "ความกล้าหาญและวีรบุรุษ" จากการสืบสวนหายนะที่เกิดขึ้น [12]

ในสื่อบันเทิง

[แก้]

เลกาซอฟ เป็นตัวละครใน Sky / HBO มินิซีรีส์ Chernobyl (2019)[13] แสดงโดย จาเรด ฮาร์ริส และในภาพยนตร์สารคดี BBC รอดชีวิตจากภัยพิบัติ (2006) นำแสดงโดย เอด เอดมันด์สัน [14]

ดูสิ่งนี้ด้วย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Associated Press (April 30, 1988). "Chemist, investigator of Chernobyl nuclear accident dies at 51". AP News Archive. สืบค้นเมื่อ 26 April 2014. [the official Soviet news agency] Tass said Legasov made a "significant contribution in the working out and realization of immediate measures aimed at liquidating the consequences of the accident."
  2. 2.0 2.1 New Times. New Times Publishing House. 1996. p. 58.
  3. Schmid, Sonja D. (2015). Producing Power: The Pre-Chernobyl History of the Soviet Nuclear Industry. ISBN 9780262028271.
  4. "The Current Digest of the Soviet Press". American Association for the Advancement of Slavic Studies: 24. 1988.
  5. 5.0 5.1 Marples, David (1991). Ukraine under Perestroika: Ecology, Economics and the Workers' Revolt. p. 21. ISBN 9781349108800.
  6. Josephson, Paul R. (2005). Red Atom: Russia's Nuclear Power Program from Stalin to Today. ISBN 9780822978473.
  7. Tripathi, Namrata (May 2, 2019). "Scientist who exposed true extent of Chernobyl disaster killed himself a day after second anniversary (As the Deputy Director of Kurchatov Institute of Atomic Energy in Moscow, Valery Legasov received a distress call on April 26, 1986, asking him to head to Chernobyl. His life was never the same.)". Media Entertainment Arts WorldWide.
  8. 8.0 8.1 Surviving Disaster: Chernobyl Nuclear Disaster. BBC.
  9. "Chernobyl | Chernobyl Accident | Chernobyl Disaster - World Nuclear Association".
  10. Marples, David (September 1993). "Chernobyl's Lengthening Shadow". The Bulletin of the Atomic Scientists. 49 (7): 40. Bibcode:1993BuAtS..49g..38M. doi:10.1080/00963402.1993.11456385.
  11. "Chernobyl | Chernobyl Accident | Chernobyl Disaster - World Nuclear Association".
  12. de Miranda, Paulo Emilio V. (2018-11-12). Science and Engineering of Hydrogen-Based Energy Technologies. ISBN 9780128142523.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. "Chernobyl (2019) Full Cast & Crew". IMDB.
  14. Surviving Disaster. BBC.