วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย | |
---|---|
ประเภท | เครื่องอิสริยาภรณ์ |
วันสถาปนา | 20 มีนาคม 1992[1] |
ประเทศ | รัสเซีย |
ผู้สมควรได้รับ | พลเมืองรัสเซียและต่างประเทศ |
มอบเพื่อ | สำหรับราชการโดดเด่นแก่รัฐ |
สถานะ | ยังคงมอบ |
ประธาน | ประธานาธิบดีรัสเซีย |
สถิติการมอบ | |
ทั้งหมด | 970 คน (2011)[2] |
ได้รับหลังถึงแก่กรรม | 440 คน (2011)[3] |
ลำดับเกียรติ | |
รองมา | เครื่องอิสริยาภรณ์เซนต์แอนดรูว์ |
วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย: Герой Российской Федерации; อังกฤษ: Hero of the Russian Federation) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์สูงสุดในสหพันธรัฐรัสเซีย มอบแก่บุคคลสำหรับ "ราชการแก่รัฐและชาติรัสเซีย ปกติเชื่อมโยงกับการกระทำกล้าหาญเยี่ยงวีรชน" ตำแหน่งนี้มอบให้แก่บุคคลตามกฤษฎีกาของประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ผู้รับไม่จำเป็นต้องเป็นพลเมืองรัสเซียหรือรับราชการรัฐรัสเซียก็ได้
บุคคลที่ได้รับมอบตำแหน่งยังได้รับ "เหรียญดาวทอง" เพื่อเป็นเครื่องหมายเกียรติยศระบุตัวผู้รับ
มีการสถาปนาตำแหน่งวีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี 1992 โดยมีผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้กว่า 970 ครั้ง รวมกว่า 440 ครั้งที่มอบให้บุคคลหลังถึงแก่กรรม[4]
ประวัติ
[แก้]เครื่องอิสริยาภรณ์ "วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย" เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์สืบเนื่องจากวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งสถาปนาตามมติของคณะกรรมการบริหารกลางของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 1934[5] ดาวทองที่มาพร้อมกันนั้นมาจากการออกแบบสมัยโซเวียต ที่สถาปนิกมิรอน เมียร์จานอฟเป็นผู้สร้าง และได้รับการอนุมัติจากคณะผู้บริหารสูงสุดของสภาโซเวียตสูงสุดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1939[6]
หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 รัสเซียภายใต้ประธานาธิบดีบอริส เยลซิน ยังคงรางวัลที่ดัดแปลงตามกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซียเลขที่ 2553-1, 20 มีนาคม 1992[1] มาตรา 71 ของรัฐธรรมนูญรัสเซียอนุญาตให้รัฐบาลเสนอตำแหน่ง เครื่องอิสริยาภรณ์และเหรียญที่และมาตรา 89 ให้อำนาจประธานาธิบดีรัสเซียสร้างรางวัลของรัฐ[7] นี่เป็นเกียรติสูงสุดที่ประธานาธิบดีรัสเซียจะเสนอให้แก่พลเมือง
ระเบียบ
[แก้]ผู้ที่จะได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ "วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย" จะต้องเป็นผู้มีการกระทำกล้าหาญในราชการแก่รัฐ สามารถได้รับทั้งบุคคลพลเรือนและทหาร ทั้งยังสามารถมอบรางวัลหลังเสียชีวิตได้หากการกระทำกล้าหาญนั้นทำให้บุคคลดังกล่าวเสียชีวิต ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียจะเป็นผู้มีอำนาจมอบรางวัลสูงสุด[1][8]
ลักษณะ
[แก้]เครื่องอิสริยาภรณ์ของตำแหน่ง "วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย" เรียกเหรียญ "ดาวทอง" (รัสเซีย: Медаль "Золотая Звезда") มีการออกแบบคล้ายกับเหรียญในสมัยสหภาพโซเวียต
เหรียญ "ดาวทอง" เป็นดาวห้าแฉกสีทองที่มีรังสีสองหน้าเรียบ 15 มม. บนฝั่งหนึ่ง อีกฝั่งหนึ่งสลักรูปนูนเด่นสูง 2 มม. เขียนว่า "วีรชนแห่งรัสเซีย" (รัสเซีย: "ГЕРОЙ РОССИИ") ตรงกลาง ในส่วนบน มีเลขเรียงรางวัลเป็นเลขสูง 1 มม.[9]
เครื่องอิสริยาภรณ์ยึดติดกับแหวนผ่านห่วงแขวนที่ติดด้วยผ้าไหมลายมัวเรสีขาว, สีฟ้า และ สีแดง[9]
ให้ติดเครื่องอิสริยาภรณ์ "วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย" บนอกซ้ายเหนือเหรียญและเครื่องอิสริยาภรณ์อื่น ๆ ให้สวมเหรียญขนาดเต็มเสมอ โดยไม่มีแพรแถบและดอกกุหลาบที่สามารถสวมใส่แทนเหรียญได้ เมื่อใส่ร่วมกับตำแหน่งวีรชนสมัยโซเวียต (วีรชนแห่งสหภาพโซเวียตหรือวีรชนแรงงานสังคมนิยม) ให้ถือว่าตำแหน่งของรัสเซียมาก่อน[8][10]
ผู้รับ
[แก้]ผู้ได้รับช่วงแรกส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ ผู้เข้าร่วมความขัดแย้งเชชเนียหรือนักบินอวกาศ ในบางโอกาสมีการมอบตำแหน่งแก่ผู้เสียชีวิตในหน้าที่เช่น พันตรีเดนิส เวตชีนอฟซึ่งถูกฆ่าในช่วงต้นของสงครามออสซีเชียใต้ปี 2008 ซึ่งรวมถึงผู้ที่ถูกสังหารในสนามรบและเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ลอบสังหาร ตัวอย่างของผู้รับคือ อะฮ์มัด คาดืยรอฟ อดีตผู้ว่าราชการเชชเนียที่ถูกฆ่าในการโจมตีด้วยระเบิดระหว่างขบวนวันชัยในปี 2004 ที่นครกรอซนืย เมืองหลวงของเชชเนีย หลังจากที่อะฮ์มัดถูกลอบฆ่าประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินให้เขา หลังจากนั้นระยะหนึ่งเขามอบรางวัลเดียวกันให้กับรัมซัน บุตรชายของคาดืยรอฟ สำหรับงานในเชชเนีย[12]
นักบินอวกาศชาวรัสเซียทุกคนได้รับรางวัลนี้หลังเดินทางไปอวกาศ บางรายอาจเคยได้รับแล้วจากการทำงานเป็นนักบินทดสอบเวลานาน นักบินอวกาศยังได้รับรางวัลนักบิน-นักบินอวกาศแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ผู้รับบางรายเช่น เซียร์เกย์ ครีคาเลฟ ได้รับทั้งเครื่องอิสริยาภรณ์ "วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย", "วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต" ร่วมกับเครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน[13] นักบินอวกาศส่วนใหญ่ได้รับทั้ง "วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต" และ "วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย" "สำหรับความเข้าใจที่สำเร็จของการบินและการแสดงความกล้าหาญและความเป็นวีรชน"[14]
นอกจากสองกลุ่มนี้ นักกีฬาและเจ้าหน้าที่พลเรือนและทหารคนอื่น ๆ ก็ได้รับตำแหน่งด้วยเช่นกัน ตัวอย่างที่โดดเด่น ได้แก่
- กัปตันเรือดำน้ำ เค-141 คูสค์ ชั้นออสการ์ เกนนาดืย เลียชินซึ่งจมลงหลังจากการระเบิดในปี 2000 เนื่องจากความกล้าหาญของเขาในความพยายามรักษาชีวิตของลูกเรือ เลียชินได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้หลังถึงแก่กรรม ส่วนลูกเรือได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ความกล้าหาญ[15]
- นักกีฬาลารีสา ลูซาตีนา ได้รับรางวัล "วีรชนแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย" จากการสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 1998 ที่เมืองนะงะโนะ ประเทศญี่ปุ่น[16]
- อะเลคซันดร์ คาเรลิน ได้รับรางวัลสำหรับฐานะนักมวยปล้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล (จากสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน)[17][18][19]เขาเป็นนักมวยปล้ำสไตล์กรีก - โรมันในกีฬาโอลิมปิกและในช่วงที่เขาเป็นนักกีฬา เขาชนะ 887 ครั้งและแพ้เพียงแค่ 2 ครั้ง[20]
- ในภารกิจ Arktika 2007 ของสมาชิก อะนาโตลืย ซากาเลวิช, เยฟเกนืย เชียร์นยาเอฟ และอาร์ตูร์ ชีลินการอฟ ใช้เรือดำน้ำลงไปสำรวจซึ่งเป็นครั้งแรกที่พวกเขาดำลงไปที่ด้านล่างสุดของมหาสมุทรอาร์กติกที่ขั้วโลกเหนือเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2008 พวกเขาได้รับรางวัลจาก "ความกล้าหาญในการสำรวจสภาพแวดล้อมที่รุนแรงและประสบความสำเร็จในการสำรวจใต้ทะเลลึกในอาร์กติก"[21]
- นักออกแบบปืน มิคาอิล คาลาชนิคอฟ ผู้ออกแบบปืนไรเฟิลจู่โจมเอเค-47และปืนกล พีเค เขาได้รับเกียรตินี้ในวันเกิดปีที่ 90 ของเขาในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2009[22]
ในการให้รางวัลได้รับหลังถึงแก่กรรมทั้งหมด มี 340 รางวัล ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสงครามเชชเนียครั้งที่หนึ่ง และ ครั้งที่สอง หนึ่งในรางวัลได้รับหลังถึงแก่กรรมล่าสุดงประธานาธิบดี ดมีตรี เมดเวเดฟ ถูกเสนอให้แก่ เอฟเกนืย เชียร์นืยชอฟ หัวหน้าแผนกดับเพลิงมอสโกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2010 ที่เสียชีวิตในวันที่ 20 มีนาคม 2010 ขณะช่วยชีวิตผู้อื่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Law of the Russian Federation of March 20, 1992 No 2553-1" (ภาษารัสเซีย). Commission under the President of the Russian Federation on state awards. ธันวาคม 15, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 20, 2012. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 20, 2012.
- ↑ "Учреждено звание Героя Российс". Prlib.ru. สืบค้นเมื่อ 2015-05-20.
- ↑ "Учреждено звание Героя Российс". Prlib.ru. สืบค้นเมื่อ 2015-05-20.
- ↑ "Учреждено звание Героя Российс". Prlib.ru. สืบค้นเมื่อ 2015-05-20.
- ↑ "Resolution of the Central Executive Committee of the Soviet Union of May 5, 1934" (ภาษารัสเซีย). Wikisource. September 4, 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
- ↑ "Decree of the Presidium of the Supreme Soviet of the USSR of August 1, 1939" (ภาษารัสเซีย). Wikisource. September 28, 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
- ↑ Государственные награды России: Из Конституции Российской Федерации (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2011. สืบค้นเมื่อ 2005-09-30.
- ↑ 8.0 8.1 "Decree of the President of the Russian Federation of September 7, 2010 No 1099" (ภาษารัสเซีย). Russian Gazette. September 7, 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
- ↑ 9.0 9.1 "Statute and description of the Gold Star medal of Hero of the Russian Federation" (ภาษารัสเซีย). Commission under the President of the Russian Federation on state awards. September 7, 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
- ↑ "Decree of the President of the Russian Federation of December 16, 2011 No 1631" (ภาษารัสเซีย). Russian Gazette. December 16, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 31, 2013. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
- ↑ "Звание Героя Российской Федерации. Справка | РИА Новости". Ria.ru. March 20, 2012. สืบค้นเมื่อ 2015-05-20.
- ↑ "Kadyrov Named Hero of Russia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2005. สืบค้นเมื่อ 2005-10-01.
- ↑ "Cosmonaut Bio: Sergei K. Krikalev (10/2005)". สืบค้นเมื่อ 2005-10-05.
- ↑ Герой Советского Союза, Герой России Поляков Валерий Владимирович (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2005-10-05.
- ↑ Felgenhauer, Pavel. "Drowning Reality of Kursk" (ภาษารัสเซีย). Moscow Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 8, 2005. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 5, 2005.
- ↑ "The Voice of Russia ( Olympic Games 2002 )". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2005. สืบค้นเมื่อ 2005-10-06.
- ↑ Encyclopedia – Britannica Online Encyclopedia. Original.britannica.com. Retrieved on 2011-02-09.
- ↑ Summer Olympics 2000 Karelin loses first-ever international match. Static.espn.go.com (September 27, 2000). Retrieved on 2011-02-09.
- ↑ "Summer Olympics 2000 Champion turned politician seeks fourth gold". ESPN. สืบค้นเมื่อ 2009-03-14.
- ↑ "Siberian Heavyweight Gives Other Wrestlers The Chills His Monster Image Also Interests Hollywood". Articles.philly.com. August 2, 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 2015-05-20.
- ↑ "Президент России Указ "О награждении государственными наградами Российской Федерации"" (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-01-10.
- ↑ Tkachenko, Maxim (November 11, 2009). "Kalashnikov gun designer turns 90". CNN World. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.
On Tuesday the legendary weapons designer turned 90. It was a day celebrated in Russia on a scale akin to a national holiday.