วันนักบุญแพทริก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันนักบุญแพทริก
A stained glass window depicts Saint Patrick dressed in a green robe with a halo about his head, holding a sham rock in his right hand and a staff in his left.
ภาพนักบุญแพทริกบนกระจกของหน้าต่างในโบสถ์นักบุญเบนินในไอร์แลนด์
ชื่อทางการวันนักบุญแพทริก
ชื่ออื่น
  • วันฉลองนักบุญแพทริก
  • Lá Fhéile Pádraig
  • วันแพทริก
  • วันแพดดี
  • วันแพตตี (เรียกในอเมริกาเหนือ แต่ไม่ถูกต้องสำหรับชาวไอริช)[1][2][3][4]
จัดขึ้นโดย
ประเภทเกี่ยวกับเชื้อชาติ ชาติ และชาวคริสต์
ความสำคัญวันเฉลิมฉลองนักบุญแพทริก
โดยเป็นการระลึกถึงการเข้ามาของศาสนาคริสต์ในประเทศไอร์แลนด์[5]
การเฉลิมฉลอง
  • เข้าร่วมขบวนแห่หรือ cèilidh
  • สวมชุดสีเขียวหรือตกแต่งด้วยดอกแชมร็อก
  • ดื่มเบียร์และวิสกี้ไอริช
การถือปฏิบัติเข้าร่วมพิธีสวดมนต์หรือบริการคริสตจักร
วันที่17 มีนาคม
ความถี่หนึ่งครั้งต่อปี

วันนักบุญแพทริก (ไอริช: Lá Fhéile Pádraig, แปลตรงตัว'the Day of the Festival of Patrick') เป็นการเฉลิมฉลองทางศาสนาที่จัดขึ้นในวันที่ 17 มีนาคม ซึ่งเป็นวันถึงแก่กรรมของนักบุญแพทริก (ป. 385 –  461) นักบุญองค์อุปถัมภ์ที่สำคัญที่สุดของไอร์แลนด์

วันนักบุญแพทริกถูกกำหนดให้เป็นวันเฉลิมฉลองของศาสนาคริสต์อย่างเป็นทางการในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมีการเฉลิมฉลองโดยโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน (โดยเฉพาะเชิร์ชออฟไอร์แลนด์)[6] อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และลูเทอแรน วันนี้เป็นการระลึกถึงนักบุญแพทริกและการเข้ามาของศาสนาคริสต์ในประเทศไอร์แลนด์[5] และเป็นเฉลิมฉลองทางมรดกและวัฒนธรรมของชาวไอริชกันโดยทั่วไป[7] การฉลองจัดขึ้นในรูปแบบของขบวนแห่ งานเทศกาล การชุมนุมแบบ céilí และการสวมชุดสีเขียวหรือชุดที่ตกแต่งด้วยดอกแชมร็อก[8] ชาวคริสต์บางส่วนก็จะเข้าโบสถ์[7][9] ข้อจำกัดสำหรับมหาพรตอย่างการอดอาหารและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ถูกงดสำหรับวันนี้ ทำให้เกิดธรรมเนียมที่จะบริโภคแอลกอฮอลล์ในวันหยุด[7][8][10][11]

วันนักบุญแพทริกเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ในไอร์แลนด์[12] นอร์เทิร์นไอร์แลนด์[13] รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ของแคนาดา (สำหรับข้าราชการ) และดินแดนโพ้นทะเลของบริติชอย่างมอนต์เซอร์รัต วันนี้ยังมีการฉลองอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักร[14] แคนาดา สหรัฐ บราซิล อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มชาวไอริชพลัดถิ่น ซึ่งวันนักบุญแพทริกมีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศมากกว่าวันชาติเสียอีก[15] การเฉลิมฉลองแบบยุคใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวไอริชพลัดถิ่นพัฒนาขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ อย่างไรก็ตาม การเฉลิมฉลองนักบุญแพทริกในปัจจุบันถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเชิงพาณิชย์มากเกินไปและทำลายแบบแผนเดิมของชาวไอริช[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. Doug Bolton (16 March 2016). "One Irish creative agency is leading the charge against 'St. Patty's Day'". The Independent. That's the thinking behind the No More Patty Google Chrome extension, created by Dublin-based creative agency in the Company of Huskies. The extension can be installed in a few clicks, and automatically replaces every online mention of the "very wrong" 'Patty' with the "absolutely right" 'Paddy'.
  2. Aric Jenkins (15 March 2017). "Why Some Irish People Don't Want You to Call It St. Patty's Day". Time.
  3. "Is It "St. Patrick's Day" Or "St. Patricks Day"?". dictionary.com.
  4. Jordan Valinsky (17 March 2014). "Dublin Airport would like to remind you it's St. Paddy's Day, not St. Patty's Day". The Week.
  5. 5.0 5.1 Kevin Meethan; Alison Anderson; Steven Miles, บ.ก. (2006). Tourism, Consumption & Representation. CAB International. ISBN 978-0-851-99678-3.[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
  6. "St Patrick's Day celebrations". Church of Ireland. The Irish Times. 12 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2011. สืบค้นเมื่อ 17 March 2013 – โดยทาง ireland.anglican.org.
  7. 7.0 7.1 7.2 Willard Burgess Moore (1989). Circles of Tradition: Folk Arts in Minnesota. Minnesota Historical Society Press. p. 52. สืบค้นเมื่อ 13 November 2010. In nineteenth-century America it became a celebration of Irishness more than a religious occasion, though attending Mass continues as an essential part of the day.
  8. 8.0 8.1 Willard Burgess Moore (1989). Circles of Tradition: Folk Arts in Minnesota. Minnesota Historical Society Press. p. 52. สืบค้นเมื่อ 13 November 2010. The religious occasion did involve the wearing of shamrocks, an Irish symbol of the Holy Trinity, and the lifting of Lenten restrictions on drinking.
  9. Edna Barth (2001). Shamrocks, Harps, and Shillelaghs: The Story of the St. Patrick's Day Symbols. Sandpiper. p. 7. ISBN 0618096515. สืบค้นเมื่อ 13 November 2010. For most Irish-Americans, this holiday is partially religious but overwhelmingly festive. For most Irish people in Ireland the day has little to do with religion at all. St. Patrick's Day church services are followed by parades and parties, the latter being the best attended. The festivities are marked by Irish music, songs, and dances.
  10. John Nagle (2009). Multiculturalism's Double-Bind. Ashgate Publishing. ISBN 978-0-754-67607-2. สืบค้นเมื่อ 13 November 2010. Like many other forms of carnival, St. Patrick's Day is a feast day, a break from Lent in which adherents are allowed to temporarily abandon rigorous fasting by indulging in the forbidden. Since alcohol is often proscribed during Lent the copious consumption of alcohol is seen as an integral part of St. Patrick's day.
  11. James Terence Fisher (30 November 2007). Communion of Immigrants: A History of Catholics in America. Oxford University Press. ISBN 9780199842254. สืบค้นเมื่อ 13 November 2010. The 40-day period (not counting Sundays) prior to Easter is known as Lent, a time of prayer and fasting. Pastors of Irish- American parishes often supplied "dispensations" for St. Patrick s Day, enabling parishioners to forego Lenten sacrifices in order to celebrate the feast of their patron saint.
  12. "Public holidays in Ireland". Citizens Information Board. สืบค้นเมื่อ 13 November 2010.
  13. "Bank holidays". NI Direct. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2010. สืบค้นเมื่อ 13 November 2010.
  14. Ritschel, Chelsea (17 March 2019). "St Patrick's Day 2019: When is it and where can I celebrate?". The Independent. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
  15. Cronin & Adair (2002), p. 242[1]
  16. Varin, Andra. "The Americanization of St. Patrick's Day". ABC News. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]